
ทำไม บางคนกินเผ็ด ถึงท้องเสีย แต่บางคนไม่เป็นอะไร
ร่างกายของคนเราไวต่อรสเผ็ดต่างกันได้อย่างไร และเราสามารถกินเผ็ดโดยไม่ปวดท้องได้หรือไม่
บางคนอาจเคยสงสัยว่า กินอาหารเมนูเดียวกันกับคนอื่น แต่อีกคนท้องเสีย ปวดแสบท้องจากอาหารรสเผ็ด แต่อีกคนกลับไม่เป็นอะไรเลย เป็นเพราะอะไร ร่างกายคนเรามีความไวต่อรสเผ็ดแตกต่างกันจริงหรือไม่
ผศ. (พิเศษ) พญ. ฐนิสา พัชรตระกูล แพทย์ประจำหน่วยโรคทางเดินอาหาร ฝ่ายอายุรศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ระบุว่า การกินอาหารรสเผ็ด อาจทำให้ปวดแสบร้อนในช่องปาก และทางเดินอาหาร และถ่ายอุจจาระบ่อยขึ้น โดยเฉพาะผู้ที่ไม่ได้รับประทานอาหารรสเผ็ดเป็นประจำ นอกจากนี้ในผู้ป่วยโรคทางเดินอาหาร เช่น มีแผลในกระเพาะอาหาร กรดไหลย้อน และอื่นๆ ควรงดกินเผ็ด เพราะอาจทำให้ระคายเคืองผนังกระเพาะอาหารและทางเดินอาหารได้
ฝึกร่างกายให้ทนต่อรสเผ็ดได้มากขึ้น
ข่าวดีของคนที่อยากหัดกินเผ็ดให้ทรมานน้อยลง เมื่อเรารับประทานอาหารรสเผ็ดเป็นประจำ ช่วยลดอาการแสบร้อนในทางเดินอาหารได้ เนื่องจากตัวรับสารแคปไซซินที่อยู่ในเยื่อบุทางเดินอาหารมีคุณสมบัติพิเศษ คือ เมื่อถูกกระตุ้นซ้ำบ่อยๆ จะเกิดความชิน และทนได้มากขึ้น ซึ่งตัวรับนั้นนอกจากจะรับความรู้สึกเผ็ดแล้ว ยังรับความรู้สึกปวด และแสบร้อนอีกด้วย จึงทำให้ผู้ที่ได้รับประทานอาหารรสเผ็ดต่อเนื่องมีความรู้สึกปวด และแสบร้อนในทางเดินอาหารลดลง
ข้อดีของการกินเผ็ด