
ยาต้านเศร้า คืออะไร ทำไมไปหาหมอรักษาไมเกรน แต่กลับได้ยาต้านเศร้ากลับมา
เมื่อคุณไปหาหมอเพื่อรักษาไมเกรน แต่กลับได้ยาต้านเศร้า กลับมาแทน หลายคนอาจรู้สึกสงสัยและงงว่าทำไมหมอถึงจ่ายยาประเภทนี้ให้ มาทำความเข้าใจเกี่ยวกับความเชื่อมโยงระหว่างอาการไมเกรน และการใช้ยาต้านเศร้ากันดีกว่า
ยาต้านเศร้า (Antidepressant) คืออะไร?
ยาต้านเศร้า คือ ยาที่แพทย์ใช้เพื่อรักษาโรคซึมเศร้าและอาการทางจิตเวชอื่น ๆ เช่น โรควิตกกังวล โรคย้ำคิดย้ำทำ (OCD) และโรคเครียดหลังผ่านเหตุการณ์สะเทือนใจ (PTSD) ยากลุ่มนี้จะออกฤทธิ์โดยการปรับสมดุลสารเคมีในสมอง เช่น เซโรโทนินและนอร์อะดรีนาลีน ซึ่งสารเคมีเหล่านี้มีผลต่ออารมณ์ การนอน และความรู้สึกเจ็บปวด จึงมีบางกรณีที่แพทย์สั่งยาต้านเศร้าเพื่อบรรเทาอาการปวดเรื้อรังร่วมด้วย เช่น อาการปวดประจำเดือนหรือไมเกรน
ทำไมหมอถึงให้ยาต้านเศร้าเพื่อรักษาไมเกรน
ในบางกรณียาต้านเศร้า อาจถูกใช้ในการรักษาไมเกรนเพราะผลของยาเหล่านี้ไม่ได้จำกัดแค่การรักษาภาวะซึมเศร้าเท่านั้น แต่ยังมีผลดีต่อการบรรเทาอาการปวดหัวจากไมเกรนด้ว
การเชื่อมโยงระหว่างไมเกรนและสารเคมีในสมอง ไมเกรนและภาวะซึมเศร้ามีความสัมพันธ์กันในแง่ของสารเคมีในสมอง ทั้งเซโรโทนิน (serotonin) และ นอร์อิพิเนฟริน (norepinephrine) ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการควบคุมทั้งอารมณ์และการรับรู้ความเจ็บปวด หากสารเคมีในสมองเหล่านี้มีความไม่สมดุล อาจทำให้เกิดไมเกรนหรือภาวะซึมเศร้าได้
ยาต้านเศร้าสามารถช่วยควบคุมการตอบสนองต่อความเจ็บปวดได้ ยาต้านเศร้า เช่น TCA (เช่น Amitriptyline) สามารถปรับสมดุลสารเคมีในสมองและช่วยลดอาการปวดหัวจากไมเกรนได้ เพราะยานี้จะช่วยลดความไวของเส้นประสาทและทำให้การตอบสนองต่อการปวดลดลง
ป้องกันและลดความถี่การเกิดไมเกรน ยาต้านเศร้ามักถูกใช้ในการรักษาไมเกรนที่เกิดขึ้นบ่อย (Chronic Migraine) หรือผู้ที่มีอาการไมเกรนเรื้อรัง การใช้ยาต้านเศร้าช่วยป้องกันการเกิดไมเกรนในอนาคต และช่วยลดความถี่และความรุนแรงของอาการ
ความเสี่ยงและผลข้างเคียงจากการใช้ยาต้านเศร้า
แม้ว่าการใช้ยาต้านเศร้าจะมีประโยชน์ในการรักษาไมเกรน แต่ก็อาจมีผลข้างเคียงได้ เช่น
- ง่วงนอนหรืออ่อนเพลีย
- น้ำหนักเพิ่มขึ้น
- ปากแห้ง
- เวียนศีรษะ
การใช้ยาต้านเศร้ารักษาไมเกรน ต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์
การใช้ยาต้านเศร้ารักษาไมเกรน ต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์เพื่อลดความเสี่ยงจากผลข้างเคียง หากคุณมีอาการไมเกรนบ่อยๆ หรืออาการไม่ดีขึ้น ควรปรึกษาแพทย์เพื่อเลือกวิธีการรักษาที่เหมาะสมกับตัวเอง
อ่านเพิ่มเติม