เนื้อหาในหมวด การเงิน

“เงินบาท” แข็งสุดในรอบ 5 ปี แนะผู้ส่งออกไม่ควรเก็งกำไรค่าเงิน

“เงินบาท” แข็งสุดในรอบ 5 ปี แนะผู้ส่งออกไม่ควรเก็งกำไรค่าเงิน

ฝ่ายวิจัยธุรกิจ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) ระบุว่า เงินบาทล่าสุดแข็งค่าอย่างรวดเร็วอยู่ที่ 31 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ หรือแข็งค่าที่สุดในรอบ 5 ปี และยังเป็นสกุลเงินที่แข็งค่าที่สุดในโลกนับตั้งแต่ปี 2561 เป็นต้นมา

โดยปัจจัยเสี่ยงจากภายนอกมาจากสงครามการค้าและการลงทุนโลก การชะลอการปรับขึ้น อัตราดอกเบี้ยของเฟด หลังเศรษฐกิจของสหรัฐฯ มีแนวโน้มชะลดลง ความไม่แน่นอนทางการเมืองในหลายประเทศ อาทิ BREXIT การประกาศภาวะฉุกเฉินแห่งชาติในสหรัฐฯ จากผลพวงความขัดแย้งเรื่องงบประมาณสร้างกำแพงกั้นสหรัฐฯ กับเม็กซิโก เหตุการณ์ประท้วงในฝรั่งเศสและเวเนซุเอลา เป็นต้น ทำให้ล่าสุด IMF ปรับลดคาดการณ์เศรษฐกิจโลกปี 2562 เหลือขยายตัว 3.5% ต่ำสุดในรอบ 3 ปี 

ส่วนในประเทศนั้นมาจาก ความต้องการเงินบาทที่เกิดจากกิจกรรมที่ทำให้เกิดประโยชน์ต่อภาคเศรษฐกิจจริง เช่น การแลกเงินตราต่างประเทศของผู้ส่งออกไทย เงินที่นักลงทุนและนักท่องเที่ยวต่างชาตินำมาแลกเป็นเงินบาทเพื่อนำมาลงทุนและใช้จ่ายในไทย รวมถึงปัจจัยที่เกิดจากเงินทุนที่เข้ามาเก็งกำไรในตลาดการเงิน ซึ่งเงินทุนเหล่านี้ไม่ได้ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อภาคเศรษฐกิจจริงนัก แต่เข้ามาหากำไรระยะสั้นหรือพักเงิน เพราะเศรษฐกิจไทยมีเสถียรภาพด้านต่างประเทศที่แข็งแกร่ง สะท้อนได้จากเงินทุนสำรองระหว่างประเทศที่มีกว่า 2 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ สูงเป็นอันดับ 12 ของโลก หนี้ต่างประเทศต่อ GDP ต่ำไม่ถึง 30% และอัตราเงินเฟ้อต่ำราว 1% ทำให้นักลงทุนในตลาดการเงินเชื่อมั่นและทำให้เงินบาทกลายเป็นแหล่งพักเงินสำคัญของภูมิภาค แม้อัตราผลตอบแทนหรืออัตราดอกเบี้ยของไทยอยู่ต่ำกว่าหลายประเทศ แต่เงินทุนเคลื่อนย้ายที่ไหลเข้ามาในลักษณะนี้อาจหวังผลในแง่การรักษามูลค่าของเงินลงทุนมากกว่าจะหาผลตอบแทนในระยะสั้น

นอกจากนี้ ฝ่ายวิจัยธุรกิจ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) แนะให้ผู้ส่งออกไม่ควรเก็งกำไรค่าเงินในทุกกรณี ควรหันมาใช้เครื่องมือป้องกันความเสี่ยงให้มากขึ้น ขณะเดียวกันก็ควรใช้ประโยชน์จากเงินบาทแข็งค่าในการนำเข้า หรือพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ของตน รวมถึงการออกไปลงทุนในต่างประเทศ ซึ่งจะช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันอย่างยั่งยืนในอนาคต

SCB FM มองบาทผันผวนสูง คาดค่าเงินบาทไทยสิ้นปี 68 ที่ 31.50-32.50 บาทต่อดอลลาร์

SCB FM มองบาทผันผวนสูง คาดค่าเงินบาทไทยสิ้นปี 68 ที่ 31.50-32.50 บาทต่อดอลลาร์

SCB FM ชี้มาตรการภาษีนำเข้าสหรัฐฯ และแนวโน้มเงินทุนเคลื่อนย้ายส่งผลให้เงินบาทผันผวนสูง มองกรอบค่าเงินสิ้นปี 31.50-32.50 บาทต่อดอลลาร์

SCB FM มองเงินบาทอาจอ่อนค่าได้ในระยะสั้น จับตาปัจจัยเสี่ยงยังกดดัน

SCB FM มองเงินบาทอาจอ่อนค่าได้ในระยะสั้น จับตาปัจจัยเสี่ยงยังกดดัน

SCB FM มองเงินบาทอาจอ่อนค่าได้ในระยะสั้น แต่ในระยะยาวเงินบาทอาจแข็งค่าจากความเชื่อมั่นต่อสินทรัพย์สหรัฐฯ ที่ลดลง ทำให้ดอลลาร์อ่อน

SCB FM มอง ค่าเงินบาทไทย อาจอ่อนค่าในระยะสั้น จากสหรัฐฯ ประกาศ Reciprocal tariffs

SCB FM มอง ค่าเงินบาทไทย อาจอ่อนค่าในระยะสั้น จากสหรัฐฯ ประกาศ Reciprocal tariffs

SCB FM มองเงินบาทอาจอ่อนค่าต่อได้อีกไม่มากในระยะสั้น แม้สหรัฐฯ จะประกาศ Reciprocal tariffs แต่ปลายปียังไม่แน่นอนสูง บาทอาจอ่อนต่อ

SCB FM มองเงินบาทอาจอ่อนค่าต่อได้อีก หากทรัมป์ขึ้นภาษีนำเข้าตามที่ประกาศไว้

SCB FM มองเงินบาทอาจอ่อนค่าต่อได้อีก หากทรัมป์ขึ้นภาษีนำเข้าตามที่ประกาศไว้

SCB FM มองเงินบาทอาจอ่อนค่าต่อได้อีก หากทรัมป์ขึ้นภาษีนำเข้าตามที่ประกาศไว้ แต่เลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ชะลอลงอาจทำให้บาทแข็งกว่าคาด