เนื้อหาในหมวด สุขภาพ

5 วิธีสังเกตอาหารบูด เน่าเสีย แม้ว่าจะอยู่ในตู้เย็น

5 วิธีสังเกตอาหารบูด เน่าเสีย แม้ว่าจะอยู่ในตู้เย็น

เชื่อว่าคุณจะต้องเคยรู้จัก หรือมีเพื่อนที่มีนิสัยแบบนี้อย่างน้อยๆ หนึ่งคน คือพวกที่ชอบเก็บอาหารเอาไว้ในตู้เย็นนานจนไม่คิดว่าจะยังกินได้อยู่ แต่คนๆ นั้นก็ยังหยิบออกมากินได้อย่างหน้าตาเฉย พร้อมกับบอกว่า “มันยังไม่เสีย ยังกินได้อยู่” ทั้งๆ ที่อาหารเหล่านั้นเก่าเก็บมาหลายสัปดาห์ หรือเผลอๆ อาจจะเป็นเดือน

อาหารที่แช่ในตู้เย็น ไม่ได้แปลว่าจะไม่บูดไม่เน่าเสมอไป หลายคนประสบปัญหา แยกไม่ออกว่าอันนี้บูดหรือยัง เน่าหรือยัง ยังทานได้อยู่หรือเปล่า Sanook! Health มีเคล็ดลับง่ายๆ มาให้ช่วยสังเกตอาหารเหล่านั้นกันค่ะ

 

  • กลิ่นเปลี่ยนไป
  • วิธีสังเกตง่ายๆ ที่หลายคนมักจะใช้บ่อยๆ คือการดมกลิ่น วิธีนี้ง่าย และให้ผลที่ชัดเจนในระดับหนึ่ง โดยเฉพาะกับอาหารที่เปียกๆ มีน้ำ ไม่ใช่อาหารแห้ง เช่น นม โยเกิร์ต แกงต่างๆ กลิ่นที่เปลี่ยนไปก็อาจจะเหม็นเปรี้ยว เหม็นหืน เรียกง่ายๆ ว่ากลิ่นเปลี่ยนไปไม่เหมือนเดิมนั่นแหละ ถ้ากลิ่นไม่ผ่านก็อย่าทานเลย

    ปล. แกงที่แช่เย็นจัดๆ ในตู้เย็น ดมกลิ่นตอนที่เย็นๆ อาจจะไม่ค่อยชัดเจน ลองเอาออกมาอุ่น หรือทิ้งไว้ให้หายเย็นแล้วค่อยลองดมใหม่ คราวนี้จะได้กลิ่นชัดขึ้น

     

  • เนื้อสัมผัสเปลี่ยนไป
  • จากโยเกิร์ตที่เด้งดึ๋ง เนียนนุ่ม ตักง่าย กลายเป็นเนื้อแข็งๆ เป็นก้อนๆ ไม่เนียนละเอียดเหมือนเดิม ก็ให้สันนิษฐานได้เลยว่ามันเสียแล้ว นอกจากโยเกิร์ตก็อาจเป็นอาหารประเภทแกง อย่างแกงกะทิต่างๆ ที่อาจจะเนื้อข้น ติดช้อน มีฟอง รวมไปถึงข้าวที่จากเนื้อร่วนๆ เป็นเม็ดๆ อาจจะกลายเป็นข้าวแฉะๆ เหนียวๆ ไม่น่าทานเหมือนเดิม เป็นต้น

     

  • พบสิ่งแปลกปลอมในถุง
  • ขออนุญาตเรียกรวมๆ ว่าสิ่งแปลกปลอม เพราะอันที่จริงแล้วเราหมายถึง “รา” แต่ราที่คุณเห็นในอาหารก็มีหลายชนิด หลายรูปร่าง ขนาด และสี ดังนั้นไม่ว่าสิ่งที่คุณเห็นจะลักษณะเป็นอย่างไร เป็นเยื่อๆ ใยๆ บางๆ เป็นก้อนๆ หรือเป็นสีเขียว สีดำ สีส้ม มีเหลือง ฯลฯ ตราบใดที่เป็นสิ่งแปลกปลอมที่มันไม่เคยอยู่ในหีบห่อนั่นๆ มาก่อน สันนิษฐานได้เลยว่าอาจเป็นเชื้อรา ทิ้งโลด

     

  • รสชาติเปลี่ยนไป
  • คราวนี้หากไม่เห็นความผิดปกติของอาหารในมือเราเลย คงต้องถึงขั้นลองชิมแล้วล่ะค่ะ ชิมช้อนเล็กๆ ล่ะ อย่าชิมเยอะ หากสัมผัสได้ถึงรสชาติที่เปลี่ยนไป เนื้อสัมผัสที่ได้จากลิ้นเปลี่ยนไป ไม่ว่าจะเปรี้ยวๆ เหม็นๆ แหยะๆ ลื่นๆ ถ้าไม่ปกติเหมือนเดิมก็ทิ้งโลดเช่นกัน

     

  • นับวันหมดอายุคร่าวๆ
  • มาถึงวิธีสุดท้ายสำหรับคนที่ประสาทสัมผัสไม่ได้เรื่องจริงๆ แยกไม่ออกทั้งจากตา จมูก ปาก ลองนึกถึงวันที่ซื้อมาทานวันแรก นับวันดูว่าวันนี้ผ่านไปกี่วันแล้ว อาหารแต่ละอย่างเวลาหมดอายุไม่เท่ากัน แต่หากเป็นอาหารที่มีส่วนผสมของนม เช่น นม โยเกิร์ต รวมถึงแกงกะทิ และอาหารที่มีส่วนผสมของแป้ง และน้ำตาลมากๆ เช่น ข้าวสวย ขนมจีน เค้ก เบเกอรี่ต่างๆ พวกนี้เก็บได้ไม่นาน หากนับวันแล้วเกิน 7 วัน เราแนะนำให้โยนทิ้งไปได้เลย รวมถึงผักผลไม้ที่เหี่ยวๆ ไม่เหมือนเดิม ก็ควรทิ้งเช่นกัน

    สำหรับไข่ไก่ที่แช่ในตู้เย็น อาจจะต้องลองกะเทาะออกมาดูข้างใน ดมกลิ่ม และสังเกตสี และเนื้อสัมผัส ไข่สังเกตได้ง่าย หากไข่เน่าเสียกลิ่นจะแรงมาก ทนทานไม่ได้แน่นอน

     

    เมืองไทยเป็นประเทศที่มีอากาศร้อนตลอดทั้งปี โดยเฉพาะช่วงหน้าร้อนก็จะยิ่งร้องเป็นพิเศษ สิ่งที่ตามมาช่วงหน้าร้อนมักจะเป็นเรื่องอาหารเน่าเสีย ทานแล้วจะทำให้ท้องเสีย ท้องร่วง หากทานเข้าไปสะสมมากๆ ก็อาจเป็นสาเหตุของมะเร็งกระเพาะอาหารได้เช่นกัน เพราะฉะนั้นระมักระวังกันให้ดีนะคะ

    กินเจอย่างไร ไม่ให้อ้วน และไม่ขาดสารอาหาร

    กินเจอย่างไร ไม่ให้อ้วน และไม่ขาดสารอาหาร

    กินเจอย่างไรไม่ให้อ้วน แนะนำเคล็ดลับการเลือกอาหารที่ดีต่อสุขภาพ พร้อมวิธีควบคุมน้ำหนักระหว่างเทศกาลกินเจ เพื่อให้คุณกินอร่อยและเฮลตี้ได้ทุกวัน

    เทศกาลกินเจ 2567 เริ่มวันไหน ควรเตรียมตัวอย่างไร พร้อมประวัติความเป็นมา

    เทศกาลกินเจ 2567 เริ่มวันไหน ควรเตรียมตัวอย่างไร พร้อมประวัติความเป็นมา

    เทศกาลกินเจ 2567 ตรงกับวันที่ 3-11 ตุลาคม 2567 รวมเป็นเวลา 9 วัน ทำไมเราต้องกินเจ กินเจแล้วได้อะไร แล้วเทศกาลกินเจถือกำเนิดขึ้นมาได้อย่างไร Sanook Health จะเล่าให้ฟังค่ะ

    6 อาหารต้านการ “อักเสบ” ลดเสี่ยงมะเร็ง-โรคหัวใจ-ซึมเศร้า-อัลไซเมอร์

    6 อาหารต้านการ “อักเสบ” ลดเสี่ยงมะเร็ง-โรคหัวใจ-ซึมเศร้า-อัลไซเมอร์

    มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดแนะนำสุดยอดอาหาร 6 ชนิดที่จะช่วยลดเสี่ยงโรคร้ายต่างๆ มีประโยชน์ แถมยังหารับประทานง่ายด้วย