ชายวัย 60 ดื่มสิ่งที่คิดว่าดีต่อสุขภาพ สุดท้ายต้องผ่าตัด 7 ครั้ง และเอาตับออกครึ่งหนึ่ง
ชายวัย 60 ต้องเข้ารับการผ่าตัด 7 ครั้ง และถูกตัดเนื้อเยื่อของตับครึ่งหนึ่ง เพราะดื่มสิ่งที่คิดว่าช่วยลดไขมันในเลือด ป้องกันโรคหัวใจ และต้านมะเร็ง
อาหารที่ดีแต่หากใช้ไม่ถูกวิธีอาจกลับกลายเป็นผลเสียและทำให้เกิดโรคได้ เช่นเดียวกับกรณีของ คุณหวัง จากประเทศจีน ที่ต้องเข้ารับการผ่าตัดถึง 7 ครั้ง เพราะดื่มชาผิดวิธี
คุณหวังมีอายุ 60 ปี และอาศัยอยู่กับครอบครัวที่มณฑลเจ้อเจียง ประเทศจีน ตั้งแต่ยังหนุ่มเขามีความเคยชินในการดื่มชา เมื่อเกษียณอายุ เขาได้รับคำเตือนจากหมอว่าค่าไขมันในเลือดของเขาสูงเล็กน้อย แม้ยังไม่ถึงขั้นเป็นโรค แต่ก็ควรระมัดระวัง เขาจึงยิ่งดื่มชามากขึ้นเพราะเชื่อว่าชามีประโยชน์ในการลดไขมันในเลือด ป้องกันโรคหัวใจ และต้านมะเร็ง
แต่เขาไม่คาดคิดว่าสิ่งที่คิดว่าดีต่อสุขภาพนี้จะกลายเป็นสาเหตุทำให้เขาป่วยหลายโรค จนต้องเข้ารับการผ่าตัดถึง 7 ครั้ง โดยเฉพาะการตัดเนื้อเยื่อของตับครึ่งหนึ่ง
ตามที่คุณหวังเล่า เขามักรู้สึกปวดท้องแบบเรื้อรังและเหนื่อยล้า เบื่ออาหารเป็นเวลาหลายเดือน จนกระทั่งอาการปวดท้องทวีความรุนแรงขึ้นในคืนหนึ่ง พร้อมกับมีไข้สูงเกิน 39 องศาเซลเซียส ในคืนวันนั้น เวลาประมาณ 22.00 น. ครอบครัวของเขาเรียกรถพยาบาลเพื่อพาเขาไปยังโรงพยาบาลใกล้เคียง
4 ความผิดพลาดในการดื่มชาที่ทำให้เกิดโรค แต่หลายคนยังคงทำกันอยู่
ชาเป็นเครื่องดื่มที่ดีต่อสุขภาพ แต่จะต้องดื่มอย่างมีสติและถูกวิธี ในกรณีของคุณหวัง เขาได้ทำผิด 3 จาก 4 ข้อผิดพลาดที่พบบ่อยที่สุดในการดื่มชา ซึ่งอาจนำไปสู่โรคต่าง ๆ ได้ โดยมีข้อผิดพลาดเหล่านี้ ได้แก่
-
ดื่มชาผิดเวลา เช่น ขณะท้องว่าง หลังรับประทานอาหารอิ่ม หรือก่อนนอน
-
ดื่มชามากเกินไป โดยเฉพาะการดื่มชาแทนน้ำ
-
ดื่มชาที่เข้มข้นเกินไป
-
ดื่มชาที่ร้อนเกินไป โดยเฉพาะที่อุณหภูมิสูงกว่า 60 องศาเซลเซียส
คุณหวังทำผิด 3 ข้อแรกพร้อมกันติดต่อกันหลายปี ซึ่งนำไปสู่การเกิดนิ่วในถุงน้ำดีและปัญหาตับ โดยเฉพาะเขาเชื่อว่าชาเป็นสิ่งที่ดีต่อสุขภาพ จึงดื่มชาเข้มข้นและปริมาณมากขึ้นเพื่อให้ได้ผลดีในการลดไขมันในเลือด และมักดื่มชาทันทีหลังจากมื้อค่ำ
ขณะที่คุณหมอเซิน กงเชอ ได้อธิบายว่า ชาเข้มข้นมีปริมาณคาเฟอีนและธีโอโฟลีนสูง การดื่มมากเกินไปในระยะยาวจะกระตุ้นการขับน้ำดีและเพิ่มภาระให้กับระบบน้ำดี ซึ่งอาจนำไปสู่การเกิดนิ่วในถุงน้ำดี หรือทำให้ปัญหานี้แย่ลง นอกจากนี้ ยังเพิ่มการขับออกของแคลเซียมออกซาเลต ทำให้มีความเสี่ยงต่อการเกิดนิ่วในถุงน้ำดี นิ่วในไต และนิ่วในกระเพาะอาหารมากขึ้น
การดื่มชาที่เข้มข้นและมากเกินไปอาจทำให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพตับในหลาย ๆ ด้าน เช่น อาจเพิ่มภาระให้กับตับเพราะต้องเผาผลาญคาเฟอีนในปริมาณสูง ซึ่งหากทำเป็นเวลานานอาจทำให้เกิดการบาดเจ็บได้ การบริโภคโพลีฟีนอลมากเกินไปอาจทำให้เกิดการอักเสบหรือตับเป็นพิษ
นอกจากนี้ พฤติกรรมนี้ยังขัดขวางการดูดซึมเหล็กจากแทนนินที่มีในชา ซึ่งหากเป็นเวลานานอาจทำให้เกิดการเสื่อมสภาพของตับได้ อีกทั้งฟลูออรีนในชาที่เข้มข้นอาจทำให้เกิดความเสียหายต่อเนื้อตับหากสะสมมากเกินไป
นอกจากนี้ คุณหมอเซิน ยังเตือนว่า ไม่ควรดื่มชาทันทีหลังรับประทานอาหาร ไม่ว่าจะเป็นชาเข้มหรือชาอ่อน เพราะอาจทำให้เกิดอาการท้องอืด ขัดขวางการดูดซึมสารอาหาร โดยเฉพาะเหล็กและโปรตีน และเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดกรดไหลย้อน
ควรดื่มชาที่ชงพอเหมาะประมาณ 30-60 นาทีหลังมื้ออาหาร และไม่ควรดื่มชาที่ร้อนเกินกว่า 60 องศาเซลเซียส เพราะจะทำให้เกิดแผลไหม้และเพิ่มความเสี่ยงต่อมะเร็งหลอดอาหารและกระเพาะอาหารได้