ชอบกินผักใบเขียว! หญิงวัย 58 จอประสาทตาเสื่อม "เกือบบอด" หมอฟังวิธีกินแล้วส่ายหัว
หญิงวัย 58 ปี ชอบกินผักใบเขียว แต่จอประสาทตาเสื่อม "เกือบตาบอด" หมอพบสาเหตุ ที่แท้จากวิธีการกิน
โดยทั่วไปแล้ว ผักใบเขียวมักอุดมไปด้วยลูทีน แต่หากทานไม่ถูกวิธี ร่างกายอาจไม่สามารถดูดซึมได้
เว็บไซต์ ETtoday รายงานว่า นายแพทย์เจียง โช่วซาน แพทย์เฉพาะทางไต ได้แบ่งปันข้อมูลในรายการสุขภาพที่ดีคือชีวิตที่ดีว่า โดยทั่วไปแล้ว อาการจอประสาทตาเสื่อมมักพบในผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป แต่ผู้ป่วยหญิงรายนี้อายุเพียง 58-59 ปี กลับมีอาการจอประสาทตาเสื่อมขั้นรุนแรง เมื่อทำการตรวจวัดความหนาแน่นของสีที่จอประสาทตา พบว่าระดับสีต่ำมากอย่างน่ากังวล
เมื่อผู้ป่วยหญิงมาพบแพทย์ เธอรู้สึกน้อยใจที่แม้จะทานผักใบเขียวมากมายและทราบดีว่ามีลูทีนสูง แต่ทำไมระดับสีที่จอประสาทตาจึงยังเสื่อม จนถึงขั้นที่สายตาเกือบจะบอด
นายแพทย์เจียง โช่วซาน ได้สอบถามเพิ่มเติม จึงทราบว่าผู้ป่วยหญิงรายนี้ใส่ใจสุขภาพมาก โดยปกติจะทานผักในรูปแบบสลัดผักสด หรือถ้าเป็นผักใบเขียวก็เพียงลวกแล้วทานทันที ซึ่งนายแพทย์เจียงอธิบายว่า “เป็นวิธีทานที่ผิดโดยสิ้นเชิง” เพราะวิธีนี้ไม่ช่วยให้ร่างกายดูดซึมลูทีนได้
พร้อมเล่าต่อว่า เคยมีทีมวิจัยเคยทำการตรวจเชิงลึก โดยให้กลุ่มทดลองทานผักโดยไม่มีน้ำมันก่อน จากนั้นจึงค่อยๆ เพิ่มปริมาณน้ำมันทีละน้อย สุดท้ายใช้กล้องส่องตรวจภายในลำไส้เล็กและดูดน้ำเหลืองออกมาตรวจ เพื่อวิเคราะห์ว่าสารอาหารใดถูกดูดซึมจากมื้อนั้น
ผลการทดสอบพบว่า หากทานผักโดยไม่มีน้ำมัน วิตามิน A, D, K1, K2, ไลโคปีน และลูทีน ซึ่งเป็นสารอาหารละลายในไขมัน จะไม่ถูกดูดซึมเลย นายแพทย์เจียง กล่าวว่า การทดลองนี้ยืนยันว่าแม้จะลวกผักก่อนทาน แต่ถ้าไม่มีน้ำมัน วิตามินเหล่านี้ก็ยังไม่ถูกดูดซึมอยู่ดี "เท่ากับว่าทานไปก็เปล่าประโยชน์"