เนื้อหาในหมวด ข่าว

กรมชลประทาน เปิดเวทีเสวนาสรุปผลการบริหารจัดการน้ำช่วงฤดูฝนปี 67 พร้อมก้าวสู่ฤดูแล้งปี 67/68

กรมชลประทาน เปิดเวทีเสวนาสรุปผลการบริหารจัดการน้ำช่วงฤดูฝนปี 67 พร้อมก้าวสู่ฤดูแล้งปี 67/68

กรมชลประทาน ถอดบทเรียนสถานการณ์น้ำ จัดเสวนา "สรุปการบริหารจัดการน้ำฤดูฝนปี 2567 และเตรียมความพร้อมสู่ฤดูแล้งปี 2567/2568" แลกเปลี่ยนแนวคิดในการบริหารจัดการน้ำรับมือสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง โดยมี ดร.ธเนศร์ สมบูรณ์ ผู้อำนวยการสำนักบริหารจัดการน้ำและอุทกวิทยา กรมชลประทาน, นายนพดล น้อยไพโรจน์ ผู้อำนวยการสำนักงานชลประทานที่ 2, นายสมควร ต้นจาน ผู้อำนวยการกองพยากรณ์อากาศ กรมอุตุนิยมวิทยา และ ผศ.ดร.ไชยาพงษ์ เทพประสิทธิ์ หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมชลประทาน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ร่วมเสวนา ทั้งนี้ ได้รับเกียรติจาก นายยงยศ เนียมทรัพย์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านวิศวกรรมโยธา (ด้านวางแผนและโครงการ) เป็นประธานเปิดการเสวนา ณ ห้องโถงอเนกประสงค์ ชั้น 1 อาคาร 99 ปี ม.ล.ชูชาติ กำภู กรมชลประทาน ถนนสามเสน กรุงเทพมหานคร

นายสมควร ต้นจาน ผู้อำนวยการกองพยากรณ์อากาศ กรมอุตุนิยมวิทยา กล่าวว่า ฤดูฝนที่ผ่านมา ประเทศไทยมีปริมาณฝนสูงกว่าค่าเฉลี่ยเล็กน้อย โดยฝนที่ตกส่วนใหญ่เกิดขึ้นในบางพื้นที่ อย่างเช่นภาคเหนือตอนบน ส่งผลให้มีปริมาณน้ำไหลหลากน้ำล้นตลิ่งเข้าท่วมหลายพื้นที่ ในขณะที่พื้นที่อื่นๆ โดยเฉพาะภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ที่มีปริมาณฝนตกน้อยจึงเสี่ยงที่จะเกิดภัยแล้ง ในส่วนของพื้นที่ภาคใต้ คาดการณ์ว่าพายุที่ก่อตัวบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิคและทะเลจีนใต้ อาจส่งผลให้เกิดหย่อมความกดอากาศต่ำที่จะทำให้เกิดฝนตกหนักในช่วง 1-2 เดือนข้างหน้านั้นยังคงต้องเฝ้าระวังสถานการณ์อย่างใกล้ชิด ทั้งนี้เนื่องจากสภาพอากาศภายในประเทศที่แตกต่างกัน จึงต้องมีการติดตามอย่างใกล้ชิด เพื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์คาดการณ์เชิงลึก ให้ได้ข้อมูลที่แม่นยำ เพื่อให้สามารถแจ้งเตือนประชาชนได้อย่างทันท่วงที
734570_0ด้าน ผศ.ดร.ไชยาพงษ์ เทพประสิทธิ์ หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมชลประทาน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน กล่าวเพิ่มเติมว่า สภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงไปเป็นปัจจัยหนึ่ง ที่ส่งผลให้ปริมาณน้ำท่าและการเพาะปลูกเปลี่ยนแปลงไป การบริหารจัดการน้ำจึงทำได้ยากขึ้น จึงจำเป็นต้องปรับปรุงระบบชลประทาน เพิ่มพื้นที่เก็บกักน้ำให้มากขึ้น เพื่อเป็นแหล่งน้ำต้นทุน รวมทั้งนำเทคโนโลยีมาช่วยในการติดตามสถานการณ์น้ำฝนน้ำท่า เพื่อให้บริหารจัดการน้ำและการแจ้งเตือนเกิดประสิทธิภาพ ตลอดจนส่งเสริมให้เกษตรกรปรับเปลี่ยนรูปแบบการเพาะปลูกให้สอดคล้องกับสถานการณ์ เห็นคุณค่าการใช้น้ำให้เกิดประโยชน์ที่สุด  โดยหน่วยงานรัฐและเกษตรกรต้องร่วมมือกัน เพื่อรับมือกับสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงไปได้อย่างเป็นรูปธรรม

ดร.ธเนศร์ สมบูรณ์ ผู้อำนวยการสำนักบริหารจัดการน้ำและอุทกวิทยา กรมชลประทาน เปิดเผยว่า ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา กรมชลประทาน ได้ใช้ระบบชลประทานบริหารจัดการน้ำอย่างเต็มศักยภาพ ภายใต้ข้อจำกัดของสภาพอากาศที่แตกต่างกันของแต่ละพื้นที่ การบริหารจัดการน้ำจึงต้องครอบคลุมจากฤดูฝนถึงฤดูแล้ง ตอนบนเก็บกัก ตอนกลางหน่วง ตอนปลายเร่งระบาย โดยต้องคำนึงถึงปริมาณน้ำฝนน้ำท่า เวลา ผลกระทบที่จะเกิดกับประชาชน ความมั่นคงของอาคารชลประทาน  รวมไปถึงกฎหมายที่เกี่ยวข้องที่ต้องมีการบูรณาการกับหลายหน่วยงานในการช่วยเหลือและบรรเทาพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ ซึ่งการบริหารจัดการน้ำในสภาวะอากาศที่เป็นอยู่ขณะนี้ จะไม่เกิดประสิทธิภาพหากขาดการร่วมกันระหว่างภาครัฐและประชาชน  ที่ต้องร่วมกันติดตาม ร่วมกันบริหารจัดการน้ำ สร้างการรับรู้ตระหนักถึงภัยพิบัติที่ผ่านมา นำมาเป็นบทเรียนในการบริหารจัดการน้ำร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถรับมือกับปัญหาด้านน้ำในทุกสถานการณ์ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนต่อไป
734571_0ด้าน นายนพดล น้อยไพโรจน์ ผู้อำนวยการสำนักงานชลประทานที่ 2 กล่าวเพิ่มเติมว่า ช่วงหน้าฝนที่ผ่านมา พื้นที่จังหวัดเชียงรายประสบปัญหาน้ำป่าไหลหลาก น้ำล้นตลิ่งจากฝนที่ตกหนักติดต่อกันในพื้นที่ กรมชลประทานได้ดำเนินการตาม 10 มาตรการรับมือฤดูฝนปี 67 สู่ 6 แนวทางปฏิบัติ ด้วยการเก็บกักน้ำในอ่างเก็บน้ำอย่างเต็มศักยภาพ คาดการณ์พื้นที่เสี่ยง หลีกเลี่ยงสิ่งกีดขวาง ใช้ระบบชลประทานเร่งระบาย จัดเตรียมเครื่องจักรเครื่องมือ ตลอดจนแจ้งเตือนถึงสถานการณ์น้ำอย่างต่อเนื่องเพื่อรับมือสถานการณ์ที่เกิดขึ้น แต่เนื่องจากระบบเตือนภัยที่ไม่ครอบคลุม การแจ้งเตือนจึงเป็นไปได้ยาก ประกอบกับพื้นที่มีความลาดชันสูงจึงเกิดน้ำท่วมฉับพลัน อีกทั้งการวิเคราะห์ข้อมูลของแต่ละหน่วยงานมีความแตกต่างกัน เนื่องจากสถานีวัดน้ำฝนและน้ำท่า ยังไม่ครอบคลุมทุกพื้นที่โดยเฉพาะในพื้นที่ต้นน้ำของลำน้ำสาขาต่างๆ ทำให้การคาดการณ์ปริมาณน้ำคลาดเคลื่อน ส่งผลให้เกิดการแจ้งเตือนที่ล่าช้า จึงจำเป็นต้องมีการบูรณาการกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พัฒนาปรับปรุงการพยากรณ์สภาพอากาศ และระบบติดตามปริมาณน้ำท่า ให้ครอบคลุม ทันต่อสถานการณ์ และแม่นยำมากขึ้น มีการจัดทำ Flood mark เพื่อแสดงระดับเตือนภัยในพื้นที่เสี่ยง ช่วยให้ทุกภาคส่วนและประชาชน ได้ทราบถึงระดับความรุนแรงของอุทกภัยในพื้นที่ พร้อมสำรวจและแบ่งเขตพื้นที่เสี่ยง เพื่อแจ้งเตือนภัยตามระดับความสูงของน้ำท่วม ให้ประชาชนสามารถอพยบออกจากพื้นที่ได้อย่างทันท่วงที ช่วยลดความเสียหายที่จะเกิดขึ้นให้ได้มากที่สุด

สภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง ถือเป็นอีกหนึ่งความท้าทายที่ทุกคนต้องตระหนักรู้และปรับตัวให้เท่าทัน โดยเฉพาะเรื่องของภัยพิบัติทางธรรมชาติ ที่จะส่งผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน จึงจำเป็นต้องมีการบูรณาการในทุกภาคส่วน ร่วมกันวางแผนป้องกันและรับมือสถานการณ์ให้สอดคล้องแต่ละพื้นที่ สามารถลดและบรรเทาผลกระทบที่จะเกิดขึ้นให้ได้มากที่สุด

ย้อนฟัง เดือน ปทิตตา ภรรยาทนายตั้ม เล่าเส้นทางรัก 20 กว่าปี รู้เลยว่าเขารักกันแค่ไหน

ย้อนฟัง เดือน ปทิตตา ภรรยาทนายตั้ม เล่าเส้นทางรัก 20 กว่าปี รู้เลยว่าเขารักกันแค่ไหน

ย้อนฟัง ภรรยาทนายตั้ม "เดือน ปทิตตา เบี้ยบังเกิด" เปิดใจถึงเส้นทางรัก 25 ปี ไม่ง่ายจริงๆ กว่ามีวันนี้

สรยุทธ น้องไบรท์ ต้องมุดหลบใต้โต๊ะ ระหว่างถ่ายทอดสดรายการ เพราะเกิดเหตุไม่คาดคิด

สรยุทธ น้องไบรท์ ต้องมุดหลบใต้โต๊ะ ระหว่างถ่ายทอดสดรายการ เพราะเกิดเหตุไม่คาดคิด

ระทึกกลางรายการ! สรยุทธ-น้องไบรท์ ต้องลงไปอ่านข่าวใต้โต๊ะ หลังเกิดเหุไม่คาดฝันกลางรายการ "กรรมกรข่าว"

อากงป่วยอัลไซเมอร์ หลานหยิบรูปอาม่าสมัยสาวๆ ให้ดู จำคู่ชีวิตไม่ได้ แต่คำตอบพีก (มีคลิป)

อากงป่วยอัลไซเมอร์ หลานหยิบรูปอาม่าสมัยสาวๆ ให้ดู จำคู่ชีวิตไม่ได้ แต่คำตอบพีก (มีคลิป)

อากงป่วยอัลไซเมอร์ หลานสาวหยิบรูปอาม่าสมัยสาวๆ ให้ดู จกคู่ชีวิตไม่ได้ แต่ชมไม่ขาดปากว่า "สวย"

ไรเดอร์มีหลอน มาส่งพัสดุเจอบอกให้ไปวางหน้าโลง ญาติออกมาเล่าเบื้องลึก (มีคลิป)

ไรเดอร์มีหลอน มาส่งพัสดุเจอบอกให้ไปวางหน้าโลง ญาติออกมาเล่าเบื้องลึก (มีคลิป)

คลิปไวรัล TikTok ไรเดอร์มาส่งของ เจอญาติบอกให้ไปวางหน้าโลง ชาวเน็ตถกเสียงแตก ก่อนญาติออกมาชี้แจง สาเหตุที่ต้องทำเช่นนี้