เนื้อหาในหมวด ข่าว

ไม่ใช่สารกันบูด! 3 สาเหตุที่ทำให้ \

ไม่ใช่สารกันบูด! 3 สาเหตุที่ทำให้ "บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป" กลายเป็น "ระเบิดสุขภาพ"

คนชอบกิน "บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป" ต้องรู้ เปิด 3 สาเหตุหลักที่ทำให้บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป กลายเป็น "ระเบิดสุขภาพ" ไม่ใช่สารกันบูดอย่างที่หลายคนคิด

เว็บไซต์ ETtoday รายงานว่า "บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป" ถือเป็นอาหารที่มีเกือบทุกบ้าน เพราะเก็บไว้ได้นาน ไม่ต้องแช่เย็น และปรุงง่ายรวดเร็ว เวลาคิดไม่ออกว่าจะกินอะไรในมื้อหลัก หรืออยากเปลี่ยนรสชาติบ้าง บางครั้งก็เลือกบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป หรือแม้แต่ตอนหิวตอนดึก หลายคนก็หยิบมาทำเป็นมื้อดึก เพราะทั้งสะดวกและอร่อย แต่จะกินอย่างไรให้ดีต่อสุขภาพและลดภาระต่อร่างกาย?

บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปใส่สารกันบูดจริงหรือ? 

หลายคนเคยเข้าใจผิดว่า “บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปใส่สารกันบูดเยอะ” แต่ความจริงแล้ว ในกระบวนการผลิตเส้นบะหมี่นั้น ไม่จำเป็นต้องใส่สารกันบูด

ตามมาตรฐานของกระทรวงสาธารณสุขของไต้หวัน ได้กำหนดว่า ห้ามใส่สารกันบูดในบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป การเก็บรักษาให้ได้นานนั้นเกิดจากเทคนิคการแปรรูป และบรรจุภัณฑ์ที่ช่วยยืดอายุอาหารโดยไม่ต้องพึ่งพาสารเคมีดังกล่าว

3 สาเหตุที่ทำให้บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปไม่ดีต่อสุขภาพ

ความไม่ดีต่อสุขภาพของบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปไม่ได้มาจากการใส่สารกันบูด แต่เกิดจาก ไขมันอิ่มตัวสูง, โซเดียมสูง และ สารอาหารไม่สมดุล หากกินเป็นมื้อหลักบ่อยครั้งอาจเสี่ยงต่อสุขภาพได้

  • ไขมันอิ่มตัวสูง
    เส้นบะหมี่ส่วนใหญ่ผ่านการทอดและซองเครื่องปรุงมักมีปริมาณน้ำมันสูง ทำให้จัดเป็นอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวสูง

  • โซเดียมสูงเกินมาตรฐาน
    รสชาติของบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปมักจัดและเค็มจัด โดยมีโซเดียมมากกว่า 500 มิลลิกรัมต่อ 100 กรัม ซึ่งจัดเป็นอาหารโซเดียมสูง

  • สารอาหารไม่ครบถ้วน
    การกินบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปเพียงอย่างเดียวโดยไม่เสริมโปรตีน เช่น เนื้อสัตว์ ไข่ หรือผักสด ทำให้ขาดความสมดุลด้านโภชนาการและอาจส่งผลเสียในระยะยาว

  • 4 วิธีง่าย ๆ เปลี่ยนบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปให้สุขภาพดีและอร่อยขึ้น

  • เลือกเส้นที่ไม่ผ่านการทอด
    บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปส่วนใหญ่มีน้ำมันสูง เพราะเส้นผ่านกระบวนการทอดหลังนึ่ง แต่ปัจจุบันมีตัวเลือกเส้นอบลมร้อนหรือเส้นนึ่งที่ลดปริมาณน้ำมันลง แนะนำให้เลือกบะหมี่ที่ไม่ผ่านการทอดเพื่อสุขภาพที่ดียิ่งขึ้น

  • ลวกเส้นก่อนปรุง
    หากเลือกเส้นแบบทอด ควรลวกเส้นด้วยน้ำร้อนก่อนแล้วเทน้ำทิ้ง จากนั้นจึงเติมน้ำใหม่และต้มให้สุก วิธีนี้ช่วยลดปริมาณน้ำมันที่ติดอยู่กับเส้นได้

  • ลดปริมาณเครื่องปรุง
    ใช้ผงปรุงรสเพียง 1/3 ถึง 1/2 ซองเพื่อลดโซเดียม หากรสชาติไม่จัดพอ อาจเพิ่มสมุนไพรหรือเครื่องเทศ เช่น พริกไทยดำหรือเครื่องเทศอิตาเลียน เพื่อเพิ่มความหอมแทน

  • อย่าดื่มน้ำซุปทั้งหมด
    หลายคนคิดว่าการเติมน้ำเยอะจะช่วยให้รสชาติไม่เค็ม แต่หากดื่มน้ำซุปจนหมด โซเดียมทั้งหมดในชามก็เข้าสู่ร่างกายเช่นกัน ทางที่ดีควรลดการดื่มน้ำซุปลง

  • เพิ่มส่วนผสมเพื่อความสมดุลและอร่อยยิ่งขึ้น

    แนะนำให้ ต้มบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปแทนการเติมน้ำร้อน เพื่อให้สะดวกต่อการใส่ส่วนผสมอื่น ๆ เพิ่มคุณค่าทางโภชนาการ เช่น

    • โปรตีน: ไข่ เต้าหู้ เนื้อไม่ติดมัน
    • ผักและเห็ด: ผักใบเขียวหรือเห็ดชนิดต่าง ๆ เพิ่มใยอาหาร
    • น้ำซุปพิเศษ: ลองเติมนมถั่วเหลืองหรือผสมนมสดลงในน้ำซุปเพื่อเพิ่มรสชาติและคุณค่าทางอาหาร

    วิธีนี้ช่วยให้บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปมีสารอาหารที่หลากหลายและสมดุลมากยิ่งขึ้น

    นศ.หนุ่มอายุแค่ 22 เป็น \

    นศ.หนุ่มอายุแค่ 22 เป็น "มะเร็งระยะสุดท้าย" เพราะ 3 เมนูโปรดของวัยรุ่นหลายๆ คน

    นศ.หนุ่มวัย 22 ปี ถึงกับช็อก หมอบอกเป็นมะเร็งกระเพาะอาหารระยะสุดท้าย จาก 3 เมนูโรดของใครหลายคน มาเสียใจ ก็สายเกินไปแล้ว

    กินบ่อยแต่เพิ่งรู้! เทียบบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ใส่และไม่ใส่ \

    กินบ่อยแต่เพิ่งรู้! เทียบบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ใส่และไม่ใส่ "เครื่องปรุง" โซเดียมต่างกันจนน่าตกใจ

    เปรียบเทียบชัดๆ บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ใส่เครื่องปรุง vs ไม่ใส่เครื่องปรุง แบบไหนโซเดียมมากกว่า?

    ไขข้อสงสัย \

    ไขข้อสงสัย "บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป" ควรกินไม่เกินกี่ครั้งต่อสัปดาห์? หมอมาเฉลยให้แล้ว

    สงสัยมานาน.. ควรกินบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปไม่เกินกี่ครั้งต่อสัปดาห์? ผู้เชี่ยวชาญมาตอบข้อสงสัยให้แล้ว

    จบภารกิจผ่าตัดมาราธอนท่ามกลาง \

    จบภารกิจผ่าตัดมาราธอนท่ามกลาง "พายุปาบึก" ทีมหมอ รพ.สิชล ล้อมวงกินบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป

    ชาวเน็ตแห่ชื่นชม ทีมแพทย์รพ.สิชล นครศรีธรรมราช ผ่าตัดมาราธอนตั้งแต่เช้ายันค่ำ ท่ามกลางไฟดับและพายุปาบึกถล่ม สุดท้ายนั่งล้อมวงกินบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป