เนื้อหาในหมวด ข่าว

เอาแล้ว! เด็กประถมตอบ 5+2=7 ครูตรวจว่า \

เอาแล้ว! เด็กประถมตอบ 5+2=7 ครูตรวจว่า "ผิด" เฉลยคำตอบคือ 5 รู้วิธีคิดอึ้งทั้งโซเชียลฯ

โจทย์เลขเจ้าปัญหา เด็กประถมตอบ 5+2=7 ครูตรวจว่า "ผิด" ถูกหักคะแนน คำอธิบายยิ่งทำให้ผู้ปกครองไม่พอใจ

ในระดับประถมศึกษา วิชาต่างๆ ส่วนใหญ่จะให้ความรู้พื้นฐานกับเด็ก เนื่องจากวัยนี้เป็นจุดเริ่มต้นของการเดินทางเพื่อเรียนรู้และเข้าใจตัวอักษรและตัวเลข ดังนั้นในวิชาคณิตศาสตร์ที่เกี่ยวกับการบวก ลบ คูณ หาร ถ้าเด็กๆ เข้าใจขั้นตอนการทำโจทย์และสามารถใช้สูตรที่เหมาะสม ก็จะทำการบ้านได้สำเร็จด้วยคะแนนเต็มอย่างง่ายดาย แต่ในทางกลับกันก็ไม่ควรประมาท เพราะการขาดสมาธิในการทำโจทย์คณิตศาสตร์ แม้จะเป็นโจทย์ง่ายๆ ก็อาจทำให้เด็กๆ พลาดคะแนนได้เช่นเดียวกัน

ตัวอย่างเช่นกรณีของเด็กประถมคนหนึ่งในประเทศเวียดนาม ที่ถูกคุณครูหักคะแนนจากการทำการบ้านวิชาคณิตศาสตร์ เนื่องจากตามโจทย์ที่กำหนดให้สังเกตภาพแล้วเขียนการบวกที่เหมาะสมลงในช่องว่าง ดังนั้น คำตอบที่เด็กประถมคนนี้เขียนคือ 5+2=7 ซึ่งควรจะเป็นคำตอบที่ถูกต้องในการบวก อย่างไรก็ตาม ท้ายที่สุดแล้วคำตอบนี้กลับถูกคุณครูหักคะแนน โดยการแก้ไขคำตอบเป็นการคำนวณแบบลบ 7-2=5

ในเรื่องนี้คุณครูอธิบายว่า หากพิจารณาแค่การคำนวนโดยใช้วิธีการบวก คำตอบที่เด็กทำก็ถูกต้อง แต่ในโจทย์ตั้งแต่แรกได้ระบุให้สังเกตภาพเพื่อหา "คำตอบที่เหมาะสม" หากเด็กๆ สังเกตภาพให้ดีจะเห็นว่าภาพในโจทย์มีกระต่าย 7 ตัว และมีลูกศรชี้ออกไปข้างนอก ซึ่งหมายถึงว่ามีกระต่าย 2 ตัวที่ออกไปจากกลุ่ม ดังนั้นในกรณีนี้ เด็กควรทำการลบไม่ใช่การบวก

อย่างไรก็ตาม เมื่อโจทย์นี้ถูกแชร์ในโซเชียลมีเดีย ผู้ปกครองหลายท่านได้พบข้อผิดพลาดในโจทย์ และเชื่อว่าอาจจะเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เด็กให้คำตอบผิด โดยเฉพาะเมื่อโจทย์กำหนดมาอย่างชัดเจนว่า "การบวก" แต่ภาพกลับบ่งบอกการลบ ข้อความที่ขัดแย้งนี้ทำให้คุณภาพของการบ้านไม่ตรงกับมาตรฐาน ดังนั้นในกรณีเช่นนี้คุณครูควรปรับแก้ไขเพื่อให้ถูกต้อง ในบทบาทของความแม่นยำในคณิตศาสตร์ เพราะความผิดไม่ได้อยู่ที่ตัวเด็กทั้งหมด

ความแม่นยำในคณิตศาสตร์ไม่เพียงแต่มีผลต่อการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์เท่านั้น แต่ยังส่งผลกระทบต่อหลายๆ ด้านในชีวิต ตั้งแต่ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การเงิน ไปจนถึงการแพทย์ ในหลายๆ ด้าน หากมีการคำนวณผิดพลาดหรือมีข้อมูลที่ไม่แม่นยำ อาจนำไปสู่การตัดสินใจที่ผิดพลาดอย่างร้ายแรง ตัวอย่างเช่นในทางการแพทย์ การให้ยาผิดขนาดอาจทำให้เกิดผลกระทบที่ร้ายแรงต่อผู้ป่วยได้

มีมในตำนานของจีน แม่นั่งคุมลูกชายทำการบ้าน ผ่านไป 34 ปี ตอนนี้เป็นอย่างไรบ้าง?

มีมในตำนานของจีน แม่นั่งคุมลูกชายทำการบ้าน ผ่านไป 34 ปี ตอนนี้เป็นอย่างไรบ้าง?

ภาพแม่นั่งคุมลูกชายขณะทำการบ้าน กลายเป็นไวรัลทั่วโซเชียล ผ่านไป 34 ปี สองแม่ลูกกลับมาร่วมทำสิ่งพิเศษด้วยกันอีกครั้ง

ครูอ่านไปลุ้นไป ป.3 เรียงความเรื่อง \

ครูอ่านไปลุ้นไป ป.3 เรียงความเรื่อง "คนรักของพ่อ" ไม่ใช่แม่แล้วคือใคร เฉลยบรรทัดสุดท้าย!

เรียงความเด็ก ป.3 ที่ชวนหัวเราะและสะท้อนสังคม "คนรักของพ่อ" ไม่ใช่แม่แล้วคือใคร เฉลยในบรรทัดสุดท้าย หัวเราะกันทั้งห้อง

เด็กเขียนเรียงความ เล่าซื่อๆ ต้นเหตุที่ “แม่กลิ่นเหมือนสึนามิ” ใครอ่านก็อาย แต่หยุดขำไม่ได้!

เด็กเขียนเรียงความ เล่าซื่อๆ ต้นเหตุที่ “แม่กลิ่นเหมือนสึนามิ” ใครอ่านก็อาย แต่หยุดขำไม่ได้!

เด็กประถมเขียนเรียงความ เล่าซื่อๆ ต้นเหตุที่ทำให้ “แม่มีกลิ่นเหมือนสึนามิ” ชาวเน็ตอ่านแล้วอายแทน แต่หยุดหัวเราะไม่ได้!

การบ้านนับถั่ว 10,000 เม็ด ทั้งบ้านช่วยนับจนเช้า ครูเฉลยวิธีคิด ผปค.พูดไม่ออก

การบ้านนับถั่ว 10,000 เม็ด ทั้งบ้านช่วยนับจนเช้า ครูเฉลยวิธีคิด ผปค.พูดไม่ออก

การบ้านนักเรียน "นับถั่ว 10,000 เม็ด" ทั้งครอบครัวช่วยกันนับจนถึงเช้า คุณครูมาเฉลยวิธีคิด ผปค.ถึงกับเงิบ พูดไม่ออก

เด็กประถมตอบ 2+4=6 แต่ครูตรวจว่า \

เด็กประถมตอบ 2+4=6 แต่ครูตรวจว่า "ผิด" แม่เห็นรูปโจทย์ยังมึน สรุปข้อนี้ผิดตรงไหน?!

นักเรียนชั้นประถมศึกษา ดูรูปในโจทย์แล้วคำนวณ "2+4=6" แต่ครูขีดฆ่าว่าผิด ผู้ปกครองโพสต์ลงโซเชียลฯ ช่วยเฉลยหน่อย ผิดจริงหรือไม่?