เนื้อหาในหมวด ข่าว

\

"กรมชลประทาน" กางแผน 7 นโยบาย 23 แนวทาง ยกระดับการบริหารจัดการน้ำทั่วประเทศ

การบริหารจัดการน้ำเป็นภารกิจสำคัญของกรมชลประทานที่ต้องเผชิญกับความท้าทายที่ซับซ้อนมากขึ้น ทั้งจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ความต้องการใช้น้ำที่เพิ่มขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการใช้น้ำเพื่ออุปโภคบริโภค การเกษตร อุตสาหกรรม และรักษาสมดุลของระบบนิเวศ รวมไปถึงปัญหาการบริหารทรัพยากรน้ำให้สอดคล้องกับนโยบายการพัฒนาที่ยั่งยืน

นายเดช เล็กวิชัย รองอธิบดีฝ่ายบำรุงรักษากรมชลประทาน เปิดเผยถึงทิศทางการพัฒนาและการบริหารจัดการน้ำอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน โดยยึดตาม 7 นโยบายหลักและ 23 แนวทาง ภายใต้นโยบาย RID UNITED "ร่วมกันสร้างความมั่นคงด้านน้ำอย่างยั่งยืน" ซึ่งเป็นแนวทางสำคัญในการรับมือกับความท้าทายด้านน้ำและการบริหารจัดการน้ำในปัจจุบัน ครอบคลุมการขยายพื้นที่ชลประทาน การป้องกันภัยพิบัติ การบริหารจัดการน้ำอย่างเป็นระบบ การพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ตลอดจนการส่งเสริมความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ได้แก่
807968_0การเร่งรัดเพิ่มพื้นที่ชลประทานให้สมดุลกับปริมาณน้ำต้นทุน กรมชลประทานตั้งเป้าขยายพื้นที่ชลประทานและพัฒนาแหล่งน้ำ เพื่อรองรับความต้องการใช้น้ำในภาคการเกษตร อุตสาหกรรม และชุมชน โดยให้ความสำคัญกับโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริของกรมชลประทานที่มีกว่า 3,000 โครงการ พร้อมปรับปรุงระบบส่งน้ำและการกระจายน้ำให้มีประสิทธิภาพ รวมไปถึงการพัฒนาโครงการเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุน เพื่อรองรับการเพิ่มพื้นที่ชลประทาน โดยเฉพาะโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริและในพื้นที่เศรษฐกิจสำคัญ เช่น เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ตลอดจนการส่งเสริมการปลูกพืชใช้น้ำน้อยที่ให้ผลผลิตที่มากขึ้น

การบริหารจัดการน้ำ ป้องกัน และบรรเทาภัยอันเกิดจากน้ำ บนพื้นฐานข้อมูลที่ชัดเจน เพื่อรับมือกับปัญหาภัยแล้งและน้ำท่วมที่มีแนวโน้มรุนแรงขึ้น มีการจัดทำแผนปฏิบัติการเชิงพื้นที่ในลุ่มน้ำสำคัญ การประเมินความต้องการใช้น้ำล่วงหน้า พัฒนาการตรวจวัด การจัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบ นำเอาเทคโนโลยีหรือแบบจำลองทางอุทกวิทยามาสนับสนุนการคาดการณ์ปริมาณน้ำฝน-น้ำท่า เพื่อวิเคราะห์และวางแผนป้องกันล่วงหน้าสำหรับใช้เตือนภัย เพื่อลดผลกระทบจากอุทกภัย การวางแผนจัดสรรน้ำทั้งฤดูฝนและฤดูแล้งให้มีความแม่นยำและทันต่อเหตุการณ์ โดยยึดหลักตามมาตรการรับมือฤดูฝนและมาตรการรับมือฤดูแล้งที่กองอำนวยการน้ำแห่งชาติกำหนดอย่างเคร่งครัด
807971_0การปฏิบัติการเชิงรุกเพื่อสร้างความเข้าใจที่ดีของทุกภาคส่วนต่องานชลประทาน ให้ความสำคัญกับการสื่อสาร เพื่อสร้างความตระหนักรู้ให้ประชาชนและเกษตรกรเข้าใจถึงเรื่องการบริหารจัดการน้ำและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน และจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นเพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างโปร่งใส

การปรับปรุงการเข้าถึงข้อมูลน้ำให้ประชาชนเข้าถึงได้ง่ายและรวดเร็ว พัฒนาแพลตฟอร์มออนไลน์ที่เข้าถึงข้อมูลสถานการณ์น้ำได้ง่ายและรวดเร็ว เน้นการนำเสนอข้อมูลที่เข้าใจง่ายและทันสมัย

การรวบรวมและจัดเก็บข้อมูลด้านน้ำอย่างเป็นระบบ จัดตั้งศูนย์ข้อมูลน้ำ (RID Data Library Center) และพัฒนาฐานข้อมูลกลาง เพื่อเชื่อมโยงข้อมูลจากทุกหน่วยงาน
807970_0การพัฒนานวัตกรรมการทำงาน ส่งเสริมและสนับสนุนความร่วมมือกับองค์กรทั้งในและต่างประเทศ เพื่อต่อยอดงานวิจัยหรือพัฒนางานตามภารกิจของกรมชลประทาน รวมไปถึงการนำเทคโนโลยีใหม่ๆ เช่น AI, IoT และโดรน มาช่วยบริหารจัดการ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้ดียิ่งขึ้น

การส่งเสริมให้บุคลากรพัฒนาและต่อยอดองค์ความรู้ของตนเอง ส่งเสริมกลุ่มกำลังคนคุณภาพให้นำความรู้มาสร้างนวัตกรรมให้กับกรมชลประทาน และสนับสนุนให้มีการฝึกอบรมทั้งในและต่างประเทศ เพื่อนำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาปรับปรุงใช้กับภารกิจของกรมชลประทาน

นายเดชฯ ย้ำว่า สายงานบำรุงรักษา มุ่งเน้นพัฒนาระบบชลประทานให้มีประสิทธิภาพสูงสุด ตามวิสัยทัศน์ "กรมชลประทานเป็นองค์กรอัจฉริยะ ที่มุ่งสร้างความมั่นคงด้านน้ำ (Water Security) เพื่อเพิ่มคุณค่าการบริการ ภายในปี 2580" ซึ่งแนวทางทั้งหมดนี้ เพื่อรองรับความต้องการใช้น้ำของทุกภาคส่วน ลดผลกระทบจากภัยธรรมชาติ และช่วยเสริมสร้างความมั่นคงด้านน้ำ สนับสนุนการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน

สูงวัยพร้อมลุย! ผลสำรวจล่าสุดชี้ ผู้สูงอายุเกินครึ่งหนุนเลื่อนเกษียณจาก 60 เป็น 65 ปี

สูงวัยพร้อมลุย! ผลสำรวจล่าสุดชี้ ผู้สูงอายุเกินครึ่งหนุนเลื่อนเกษียณจาก 60 เป็น 65 ปี

จากผลสำรวจความคิดเห็นของนิด้าโพล พบว่า ผู้สูงอายุส่วนใหญ่เห็นด้วยกับการขยายอายุเกษียณจาก 60 ปีเป็น 65 ปี

“น้ำมันมะกอก” ใช้ทำอาหารผิดวิธี แทนที่จะดีต่อสุขภาพ ดันก่อมะเร็งซะได้!

“น้ำมันมะกอก” ใช้ทำอาหารผิดวิธี แทนที่จะดีต่อสุขภาพ ดันก่อมะเร็งซะได้!

“น้ำมันมะกอก” ใช้ทำอาหารผิดวิธี แทนที่จะดีต่อสุขภาพ ดันก่อมะเร็งซะได้! ใช้ให้ถูกวิธีเพื่อสุขภาพที่ดี