เนื้อหาในหมวด ข่าว

\

"กรมชลประทาน" ชี้แจงการระบายน้ำปตร.คลองท่าแนะ

ตามประกาศศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคใต้ฝั่งตะวันออก ฉบับที่ 5 (42/2568) แจ้งเตือนฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณภาคใต้ฝั่งตะวันออก มีผลกระทบช่วงวันที่ 1-3 เมษายน 2568 ในพื้นที่จังหวัดเพชรบุรี, ประจวบคีรีขันธ์, ชุมพร, สุราษฎร์ธานี, นครศรีธรรมราช, พัทลุง, สงขลา, ปัตตานี, ยะลา และ นราธิวาส ให้ประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยเฝ้าระวังความเสียหายที่เกิดขึ้นจากฝนตกหนัก ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน นั้น

กรมชลประทาน โดยโครงการชลประทานพัทลุง ได้เตรียมพร้อมรับสถานการณ์ดังกล่าว โดยการระบายน้ำจากประตูระบายน้ำ (ปตร.) คลองท่าแนะ ซึ่งได้มีการประชาสัมพันธ์แจ้งเตือนไปยังผู้นำท้องถิ่นและผู้เกี่ยวข้อง เพื่อแจ้งให้ประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณพื้นที่หมู่ที่ 6 ตำบล ตำบลมะกอกเหนือ อำเภอควนขุน จังหวัดพัทลุง ให้รับทราบสถานการณ์ และการระบายน้ำดังกล่าวแล้วก่อนหน้านี้
828436_0ทั้งนี้ บริเวณพื้นที่ดังกล่าว แขวงทางหลวงชนบทพัทลุง ได้มีโครงการก่อสร้างสะพาน โดยถมดินเป็นทำนบและทางลำเลียงในคลองท่าแนะ ด้วยการใช้ท่อขนาด 1X1 เมตร จำนวน 2 แถว จากเดิมคลองดังกล่าวมีความกว้าง 20 เมตร ลดเหลือเพียง 2 เมตร จึงทำให้น้ำที่ระบายออกมาเอ่อล้นเข้าท่วมบ้านเรือนราษฎร หลังเกิดเหตุโครงการชลประทานพัทลุง ได้ปิดประตูระบายน้ำ ตั้งแต่เวลา 15.00 น. ของวันที่ 1 เมษายน 2568 ปัจจุบัน โครงการชลประทานพัทลุง ร่วมกับแขวงทางหลวงชนบทพัทลุง ได้ขุดเปิดทำนบที่กำลังทำการก่อสร้างอยู่ เพื่อเร่งระบายน้ำออกจากพื้นที่ ส่งผลให้สถานการณ์เข้าสู่สภาวะปกติแล้ว

828437_0

\

"ผู้ใหญ่เบียร์" เผยเบื้องหลัง ภาพ "ผู้ว่าฯ ชัชชาติ" หลับคอพับคาเก้าอี้ ยิ่งอ่านยิ่งซึ้งใจ

"ผู้ใหญ่เบียร์" กู้ภัยดัง เผยภาพ ผู้ว่าฯ ชัชชาติ หลับคอพับคาเก้าอี้ หลังจากที่นั่งเฝาไซต์งานกู้ภัย ช่วยผู้รอดชีวิต ทั้งวันทั้งคืน

\

"Taiwan in Design" ยกขบวนกว่า 10 แบรนด์ชั้นนำจากไต้หวันเข้าแสดงที่งาน STYLE Bangkok 2025

"Taiwan in Design" งานจัดแสดงสินค้าการออกแบบครั้งใหญ่จากไต้หวันเตรียมเปิดตัวอย่างยิ่งใหญ่ ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ (QSNCC) ในงาน STYLE Bangkok 2025

รู้หรือไม่? \

รู้หรือไม่? "สระว่ายน้ำ" บนตึกสูง มีประโยชน์กว่าที่คิด โดยเฉพาะเมื่อเกิด "แผ่นดินไหว"

รู้หรือไม่? สระว่ายน้ำบนตึกสูง มีหน้าที่มากกว่าความสวยงาม แต่ ในบางแห่ง ยังช่วยซับแรงสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหว

แผ่นดินไหว: \

แผ่นดินไหว: "ริกเตอร์" กับ "แมกนิจูด" ต่างกันอย่างไร?

เมื่อเกิดแผ่นดินไหว หลายคนมักจะได้ยินคำว่า "ริกเตอร์" และ "แมกนิจูด" ใช้เรียกขนาดของแผ่นดินไหวจนเกิดความสับสนว่าทั้งสองคำนี้หมายถึงสิ่งเดียวกันหรือไม่?