(1).jpg)
การบ้านนับถั่ว 10,000 เม็ด ทั้งบ้านช่วยนับจนเช้า ครูเฉลยวิธีคิด ผปค.พูดไม่ออก
การบ้านนักเรียน "นับถั่ว 10,000 เม็ด" ทั้งครอบครัวช่วยกันนับจนถึงเช้า คุณครูมาเฉลยวิธีคิด ผปค.ถึงกับเงิบ พูดไม่ออก
ผู้ปกครองในจีนพบว่า ครูมอบหมายงานให้นักเรียนนับถั่ว 10,000 เม็ด แล้วนำไปโรงเรียนเพื่อคุยกันในเช้าวันถัดไป ภารกิจนี้หนักหนาสำหรับเด็ก แถมไม่แน่ว่าบ้านจะมีถั่วมากขนาดนั้นหรือไม่ แม้ตั้งใจนับจริง ๆ ก็ต้องลากยาวถึงดึกดื่น
ทั้งครอบครัวจึงระดมกันช่วย ปู่ย่าตายายและพ่อแม่อดหลับอดนอนนับถั่วให้เด็ก ๆ กลัวว่าหากวันรุ่งขึ้นหากการบ้านไม่เสร็จ ลูกจะถูกครูให้อยู่ต่อหลังเลิกเรียน พอนับจนเช้าและพาลูกไปโรงเรียน แม่รู้สึกหงุดหงิด อยากถกเถียงกับครู ครูตั้งโจทย์ยาก ๆ แบบนี้เพื่อกลั่นแกล้งผู้ปกครองหรือมีจุดมุ่งหมายอื่นกันแน่?
ไม่คาดคิด คำชี้แจงของครูกลับทำให้ผู้ปกครองตะลึง ครูยอมรับว่าการบ้านนี้มีจริง แต่บทเรียนคือการฝึกประมาณค่า เด็ก ๆ ต้องนับถั่ว 10,000 เม็ดอย่างชาญฉลาด
เด็กบางคนฉลาดมาก กลับบ้านแล้วชวนพ่อแม่ชั่งน้ำหนักถั่ว 1 เม็ด คูณกับ 10,000 แล้วนำน้ำหนักที่ประมาณไปโรงเรียน ครูชื่นชมเด็กเหล่านี้ ส่วนคนที่นับถั่วถึงเช้ากลับได้ 0 คะแนน
หากพ่อแม่เอาแต่ช่วยลูกทำการบ้าน โดยไม่ฝึกทักษะการคิด ลูกก็ยังเสียเปรียบตั้งแต่จุดเริ่มต้น
ที่จริงแล้ว เรื่องนี้สะท้อนว่า ผู้ปกครองและนักเรียนหลายคนยังติดอยู่ในกรอบความคิดแคบ ๆ ที่ไม่เปลี่ยนแปลง ปัจจุบัน การสอบและหลักสูตรการเรียนได้ปรับปรุงใหม่ จุดมุ่งหมายชัดเจนขึ้น โจทย์ใหม่ ๆ เน้นการแก้ปัญหาจริง ต้องคิดอย่างยืดหยุ่น ไม่ใช่แค่ใช้สูตรสำเร็จ แต่ต้องมีมุมมองที่เชื่อมโยงกับชีวิตจริง
วิธีที่ดีที่สุดคือเริ่มตั้งแต่ชั้นประถมปีที่ 1 ฝึกทักษะการคิดหลากมุม ผ่านโจทย์แปลกใหม่ เช่น โจทย์ภาพที่ให้วัดความสูงเด็ก โดยมีเด็กคนหนึ่งยืนเขย่งปลายเท้า ผู้ปกครองสามารถชี้แนะให้ลูกพิจารณาว่า ในสถานการณ์จริง ใครสูงกว่ากัน และควรนับการเขย่งเท้าไหม
เมื่อเด็กเข้าใจว่าโจทย์ไม่ใช่แค่สูตรแห้ง ๆ แต่ต้องแก้ปัญหาจริง วิธีคิดของเด็กจะลึกซึ้งและไม่ตื้นเขินอีกต่อไป