.jpg)
ทดสอบความเสี่ยง "มะเร็ง" ที่ใครก็ทำได้ใน 30 วินาที แค่นับจำนวนครั้ง "การกลืน"
รู้หรือไม่? มีการทดสอบง่ายๆ เพียง 30 วินาที ที่สามารถทำเองได้ที่บ้าน เพื่อให้เข้าใจสุขภาพโดยรวมดีขึ้น รวมถึงเช็กความเสี่ยงมะเร็ง
มีการทดสอบหลายอย่างที่สามารถช่วยพิจารณาความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งได้ เช่น การคลำหาก้อนเนื้อ การมองหาการเปลี่ยนแปลงในไฝบนผิวหนัง และการทดสอบด้วยนิ้วมือแบบง่ายๆ แต่เชื่อว่าคนส่วนใหญ่คงไม่เคยได้ยินเรื่องการทดสอบด้วย “การกลืน”
ตามที่นักวิทยาศาสตร์กล่าวไว้ คนที่มีสุขภาพแข็งแรงสามารถกลืนอาหารภายในเวลา 30 วินาที ได้เป็นจำนวนครั้งตามกำหนดของแต่ละช่วงอายุที่แตกต่างกัน ผู้ที่ไม่สามารถบรรลุจำนวนดังกล่าวอาจแสดงอาการของภาวะอันตรายที่เรียกว่า “ภาวะกลืนลำบาก”
อาการกลืนลำบาก มักเกิดจากยาบางชนิดและกรดไหลย้อน แต่ยังอาจเป็นสัญญาณของโรคมะเร็ง โรคปอดร้ายแรง ภาวะสมองเสื่อม หรือโรคหลอดเลือดสมองได้ ตามที่รายงานจากหนังสือพิมพ์ The Sun ของอังกฤษ ระบุ
โดยเทคนิคหนึ่งที่แพทย์ผู้เชี่ยวชาญหลายคนใช้เพื่อตรวจสอบว่าบุคคลมีปัญหาในการกลืนหรือไม่ เรียกว่า “การทดสอบกลืนน้ำลายซ้ำ” การทดสอบง่ายๆ นี้สามารถทำได้ที่บ้าน โดยพยายามกลืนให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ภายในเวลาครึ่งนาทีโดยไม่กินหรือดื่มอาหารหรือเครื่องดื่มใดๆ
ในการศึกษาวิจัยที่ตีพิมพ์ในปี 2024 แพทย์ชาวอิสราเอลได้กำหนดจำนวนการกลืนที่คนที่มีสุขภาพแข็งแรงในกลุ่มอายุต่างๆ สามารถทำได้ภายใน 30 วินาที บุคคลที่ไม่สามารถบรรลุเป้าหมายการกลืนที่ดีต่อสุขภาพตามกลุ่มอายุของตน อาจถูกแจ้งให้ทำการตรวจสอบเพิ่มเติมเพื่อหาสาเหตุของอาการกลืนลำบาก
- ผู้ใหญ่ในช่วงอายุ 20-39 ปี สามารถกลืนได้เฉลี่ย 8.5 ครั้ง
- คนในวัย 40 ปี สามารถกลืนได้ 8 ครั้ง
- คนในวัย 50 ปี สามารถกลืนได้ 7 ครั้ง
- คนอายุมากกว่า 60 ปี สามารถกลืนได้เกือบ 7 ครั้ง (ค่าเฉลี่ยคือ 6.7)
- คนอายุมากกว่า 70 ปี สามารถกลืนได้ 6 ครั้ง
- คนอายุมากกว่า 80 ปี สามารถกลืนได้มากกว่า 4 ครั้ง (ค่าเฉลี่ยคือ 4.3)
นักวิจัยเขียนในวารสาร Dysphagia ระบุว่า การศึกษานี้มีความสำคัญเนื่องจากสามารถระบุจำนวนคนที่มีสุขภาพดีในแต่ละกลุ่มอายุได้ เนื่องจากมาตรฐานก่อนหน้านี้ที่กำหนดขึ้นสำหรับ "การทดสอบกลืนน้ำลายซ้ำ" คือการกลืนน้ำลาย 3 ครั้งสำหรับผู้ใหญ่ทุกคนเท่าๆ กัน
นักวิจัยสังเกตว่า ความแตกต่างของคะแนนการทดสอบในแต่ละช่วงวัย อาจเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาที่เกิดขึ้นกับกล้ามเนื้อคอเมื่อผู้คนอายุมากขึ้น นอกจากนี้ ยังสังเกตเห็นความแตกต่างระหว่างผู้ชายและผู้หญิง โดยผู้ชายสามารถกลืนได้มากกว่าผู้หญิง นักวิจัยกล่าวว่าปัจจัยนี้อาจส่งผลต่อผลการทดสอบด้วย แม้ว่าจะต้องมีการวิจัยเพิ่มเติมเพื่อดูความแตกต่างตามเพศก็ตาม
อาการกลืนลำบากอาจเป็นสัญญาณของโรคมะเร็งชนิดใด?
อาการกลืนลำบากอาจเป็นอาการของโรคมะเร็งหลายชนิด โดยเฉพาะโรคมะเร็งที่ส่งผลต่อศีรษะ คอ และทางเดินอาหารส่วนบน รวมถึงมะเร็งหลอดอาหาร ลำคอ ช่องปาก กล่องเสียง ต่อมไทรอยด์ ต่อมน้ำลาย และแม้กระทั่งมะเร็งกระเพาะอาหาร หรือมะเร็งตับอ่อนบางชนิด
ทั้งนี้ ระบบบริการสุขภาพแห่งชาติของสหราชอาณาจักร (NHS) ระบุว่าสาเหตุทั่วไปอื่นๆ ของภาวะกลืนลำบาก ได้แก่ การับประทานยาบางชนิด, ความบกพร่องทางการเรียนรู้, ปากแหว่งเพดานโหว่ในเด็กทารก, อาการเสียดท้องและกรดไหลย้อน, ปัญหาการหายใจอันเนื่องมาจากภาวะต่างๆ เช่น โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD) และอาการที่ส่งผลต่อระบบประสาทหรือสมอง เช่น สมองพิการ โรคหลอดเลือดสมอง สมองเสื่อม หรือโรคเส้นโลหิตแข็ง
- เห็นมาเยอะ! พยาบาลเตือน "เครื่องดื่ม" เสี่ยงหลอดเลือดสมอง เกิดขึ้นฉับพลัน ส่งผลเลวร้าย
- ฝ่ามือย่น-ยุบ สัญญาณ "ไตอ่อนแอ" ต่างชาติแนะกิน 3 อาหารขุมทรัพย์ ไทยมีครบราคาถูก!