
ถอดรหัส สีดำ-เทา-ฟ้าเข้ม สะท้อนอะไร หลังฮาร์วาร์ดเตือนเฝ้าระวัง ถ้าจู่ๆ ลูกชอบเป็นพิเศษ!
ฮาร์วาร์ดเตือน หากจู่ๆ ลูกชอบ 3 สีนี้เป็นพิเศษ สะท้อนสัญญาณจิตใจ พ่อแม่อย่ามองข้าม!
คุณเคยสังเกตไหมว่า ลูกของคุณชอบสีอะไร? นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด (Harvard) และเวอร์มอนต์ (Vermont) พบว่า “สีที่เด็กชอบ” สามารถสะท้อนสภาวะจิตใจได้อย่างแม่นยำ โดยเฉพาะหาก จู่ๆ เด็กเริ่มชอบ “สีเทา สีฟ้า และสีดำ” ขึ้นมาอย่างเฉียบพลัน พ่อแม่ควรสังเกตพฤติกรรมของลูกให้ใกล้ชิดมากขึ้น
สีบอกอะไรได้มากกว่าที่คิด การศึกษาที่ตีพิมพ์ในปี 2016 ใช้ข้อมูลจากผู้ใช้อินสตราแกรมจำนวน 166 คน รวมทั้งผู้ป่วยโรคซึมเศร้า และคนทั่วไป วิเคราะห์ภาพถ่ายกว่า 43,000 ภาพ ท้ายที่สุดสรุปแล้วพบว่า
-
ผู้ที่มีภาวะซึมเศร้ามักเลือกฟิลเตอร์สีเย็นหรือมืด เช่น สีเทา สีฟ้าเข้ม
-
คนทั่วไปมักเลือกใช้สีสว่าง อบอุ่น และมักถ่ายภาพที่สะท้อนกิจกรรมเชิงบวก
ด้วยข้อมูลนี้ นักวิจัยสามารถพัฒนาระบบวิเคราะห์ที่คาดการณ์ความเสี่ยงเป็นโรคซึมเศร้าได้แม่นยำถึง 70% แม้กระทั่งก่อนการวินิจฉัยทางการแพทย์ และเป็นที่มาของ 3 สี ที่พ่อแม่ควรใส่ใจ หากจู่ๆ พบว่าลูกเริ่มชอบสีเหล่านี้มากอย่างผิดปกติ
สีเทา — สื่อถึงความสับสน ความรู้สึกด้านลบ และความไม่มั่นใจ
แม้สีเทาจะดูเรียบหรูในแวดวงแฟชั่น แต่สำหรับเด็กเล็ก การชอบสีเทาอาจเป็นสัญญาณของความกังวล ความหดหู่ หรือแม้แต่การปิดกั้นอารมณ์ หากเด็กเริ่มจมอยู่กับสีนี้ และมีพฤติกรรมถอนตัวจากสังคมหรืออารมณ์แปรปรวน พ่อแม่ควรเริ่มสังเกตอย่างจริงจัง
สีฟ้าเข้ม — สะท้อนความเศร้า ความโดดเดี่ยว และความเครียด
สีฟ้าในเชิงจิตวิทยา เป็นสีที่กระตุ้นการครุ่นคิดและอารมณ์เงียบเหงา เด็กที่มีนิสัยเก็บตัวอาจชอบสีฟ้าโดยธรรมชาติ แต่หากลูกคุณเคยร่าเริง ชอบสีสดใส แล้วจู่ๆ เปลี่ยนมาชอบสีฟ้าเข้มอย่างเด่นชัด นี่อาจเป็นสัญญาณว่าพวกเขากำลังเผชิญกับแรงกดดันหรือปัญหาทางอารมณ์
สีดำ — สื่อถึงความโดดเดี่ยว และความต้องการการยอมรับ
แม้สีดำจะดูเท่และลึกลับในสายตาผู้ใหญ่ แต่ในมุมจิตวิทยา สีนี้สะท้อนถึงอารมณ์หม่นหมอง ความรู้สึกถูกปิดกั้น และความเครียด งานวิจัยพบว่า ผู้ที่อยู่ในห้องสีดำมีแนวโน้มรู้สึกซึมเศร้าและวิตกกังวลสูงกว่าเมื่ออยู่ในพื้นที่สว่าง หากลูกของคุณเริ่มหมกมุ่นกับสีดำมากเกินไป อาจแสดงถึงความรู้สึกโดดเดี่ยวและความต้องการให้พ่อแม่รับฟัง
แล้วถ้าลูกชอบสีเหล่านี้ จะต้องพาไปพบแพทย์ทันทีหรือไม่? คำตอบคือ ไม่จำเป็นต้องตื่นตระหนก เพราะความชอบสีไม่ใช่ข้อบ่งชี้โดยตรงว่าเด็กเป็นโรคซึมเศร้า แต่มันคือ "สัญญาณหนึ่ง" ที่บอกให้พ่อแม่ควรเปิดใจรับฟังและสังเกตพฤติกรรมลูกให้มากขึ้น
สิ่งที่ผลการศึกษานี้ต้องการเน้นย้ำก็คือ อย่ามองข้ามความชอบเล็กๆ ของลูก เพราะบางครั้งมันอาจสะท้อนสิ่งที่พวกเขาไม่สามารถพูดออกมาได้ ดังนั้น หากพ่อแม่พบว่า ลูกเปลี่ยนความชอบด้านสีอย่างฉับพลัน และมีพฤติกรรมเงียบลง ถอนตัวจากเพื่อน หรือเบื่อสิ่งที่เคยสนุก ควรพูดคุยอย่างเข้าใจ หรือปรึกษานักจิตวิทยาเด็กเพื่อรับคำแนะนำที่เหมาะสม
- นักจิตวิทยาชื่อดัง เตือนผัว-เมียทะเลาะกัน "อย่าพูดประโยคนี้" ถ้าไม่อยากทำลายชีวิตลูก!
- รวมวิจัยมหาลัยดัง พ่อแม่ที่ทำงาน 3 อาชีพนี้ มีโอกาสเลี้ยงลูกให้ประสบความสำเร็จ "มากกว่า"