เนื้อหาในหมวด ข่าว

มรดกมะเร็ง! สามีเสียชีวิตไม่นาน ภรรยาป่วยโรคเดียวกัน เพราะพฤติกรรม \

มรดกมะเร็ง! สามีเสียชีวิตไม่นาน ภรรยาป่วยโรคเดียวกัน เพราะพฤติกรรม "เคยตัว" ที่ทำในบ้าน

มรดกมะเร็ง! สามีเสียชีวิตไม่นาน ภรรยาป่วยโรคเดียวกัน พฤติกรรม "เคยตัว" ที่ทำในบ้าน ป่วยเหมือนกันได้แม้ไม่ใช่โรคติดต่อ

เมื่อไม่นานมานี้ เว็บไซต์ Sohu ของจีนรายงานข่าวที่สร้างความตกตะลึงในวงการแพทย์จีน เมื่อมีกรณีคู่สามีภรรยาคู่หนึ่งป่วยเป็นมะเร็งปอดติดต่อกัน ทำให้แพทย์ตั้งคำถามว่า “ครอบครัวนี้ผ่านอะไรมากันแน่?”

จากข้อมูลของโรงพยาบาล ภรรยาอายุประมาณ 60 ปี พบก้อนเนื้อขนาด 3 ซม. ที่ปอดระหว่างการตรวจสุขภาพประจำปี เธอกล่าวว่าตนเองรู้สึกช็อกมาก เพราะสามีของเธอเสียชีวิตไปแล้วเมื่อไม่กี่ปีก่อนจากมะเร็งปอดระยะสุดท้าย ซึ่งตอนนั้นของเหลวในปอดเต็มจนเหลือเวลาอยู่ได้เพียงไม่นาน

สาเหตุหลักที่ทำให้ทั้งสองคนป่วยเป็นมะเร็งปอด

แพทย์ตรวจสอบและพบว่าสาเหตุสำคัญของโศกนาฏกรรมนี้มาจาก สามีเป็นคนติดบุหรี่หนักและสูบบุหรี่ในบ้านตลอดเวลา ส่งผลให้สมาชิกในครอบครัวได้รับควันบุหรี่มือสองอย่างต่อเนื่อง และมีความเสี่ยงสูงในการเป็นมะเร็งปอด

เว็บไซต์ Healthline ระบุว่า ควันบุหรี่มีสารเคมีมากกว่า 7,000 ชนิด โดยอย่างน้อย 70 ชนิดเป็นสารก่อมะเร็ง เช่น เบนซีน, ฟอร์มัลดีไฮด์, สารหนู และแคดเมียม สารเหล่านี้จะทำลายเซลล์ในปอด เปลี่ยนแปลงดีเอ็นเอ และทำให้เกิดเซลล์มะเร็งในที่สุด

การสูบบุหรี่ทำให้เยื่อบุปอดระคายเคืองและอักเสบเรื้อรัง กระบวนการฟื้นฟูตามธรรมชาติถูกรบกวน จนเกิดการกลายพันธุ์ของเซลล์ การสูบบุหรี่จำนวนมากต่อเนื่องหลายปี ทำให้ปอดสัมผัสสารพิษอยู่ตลอดเวลา เพิ่มความเสี่ยงเป็นมะเร็งหลายเท่าตัว

แม้ไม่สูบเอง แต่หายใจเอาควันบุหรี่เข้าไปก็ได้รับสารก่อมะเร็งแทบจะเท่ากัน โดยเฉพาะผู้หญิง เด็ก และผู้สูงอายุที่อยู่บ้านเดียวกับคนสูบบุหรี่ จะได้รับผลกระทบรุนแรงที่สุด

ผู้หญิงและเด็ก กลุ่มเสี่ยงต่อควันบุหรี่

มีงานวิจัยทางการแพทย์หลายชิ้นพบว่า ผู้หญิงไวต่อควันบุหรี่มากกว่าผู้ชาย ภายใต้ระดับการสัมผัสเท่ากัน ผู้หญิงมีความเสี่ยงเป็นมะเร็งและโรคทางเดินหายใจ เช่น โรคหอบหืด มากกว่าผู้ชายอย่างมีนัยสำคัญ

ยิ่งน่ากังวลขึ้นไปอีกเมื่อแพทย์พบว่า ลูกชายของผู้ป่วยซึ่งมาด้วยกันในวันนั้น ก็เริ่มมีอาการไอเรื้อรัง ซึ่งคาดว่าเป็นผลมาจากการสัมผัสควันบุหรี่ตั้งแต่เด็ก

ผู้เชี่ยวชาญเตือนว่า "แค่คนเดียวในบ้านสูบบุหรี่ ก็เท่ากับทำร้ายทั้งครอบครัว!" โดยเฉพาะเด็กที่เติบโตในสภาพแวดล้อมที่มีคนสูบบุหรี่ จะมีโอกาสสูงเป็นโรคหอบหืด หลอดลมอักเสบ หรือเกิดความเสียหายถาวรที่ปอดแม้โตเป็นผู้ใหญ่แล้ว

วิธีป้องกันมะเร็งปอดในชีวิตประจำวัน

เพื่อปกป้องปอดให้แข็งแรง แพทย์แนะนำให้ทุกคนใส่ใจปัจจัยที่ก่อให้เกิดมลพิษภายในบ้าน ซึ่งเป็นที่ที่เราใช้ชีวิตมากที่สุด โดยมีปัจจัยสำคัญได้แก่:

  • ควันบุหรี่ รวมถึงควันที่สูดโดยตรง (บุหรี่มือหนึ่ง), ควันที่คนรอบข้างหายใจเข้าไป (บุหรี่มือสอง) และควันที่ติดตามผ้าม่าน โซฟา หรือเฟอร์นิเจอร์ (บุหรี่มือสาม)

  • ควันจากการทำอาหาร เช่น การทอดหรือผัดน้ำมัน มักถูกมองข้าม แต่ส่งผลเสียต่อปอดอย่างรุนแรง

  • สารเคมีจากการทาสีบ้าน เฟอร์นิเจอร์ใหม่ กาว หรือวัสดุก่อสร้าง ก็สามารถเพิ่มมลพิษในอากาศภายในบ้าน

  • การดูแลสุขภาพโดยรวม การมีสุขภาพจิตที่ดี กินอาหารที่มีประโยชน์ และออกกำลังกายสม่ำเสมอ จะช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน และลดความเสี่ยงต่อโรค โดยเฉพาะโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ

ทำร้ายกันเอง! แพทย์ส่ายหัวเอือม \

ทำร้ายกันเอง! แพทย์ส่ายหัวเอือม "ต้นเหตุ" ผัวเมียป่วยมะเร็งปอดคู่ ชี้ทั้งครอบครัวตกเป็นเหยื่อ

ผัวเมียป่วยมะเร็งปอดทั้งคู่ แพทย์ถึงกับสายหัวเมื่อรู้ “ต้นเหตุ” แถมชี้ให้รู้ตัวชัดๆ ตกเป็นเหยื่อทั้งครอบครัว!

รู้ไว้ดีกว่า 4 ความเปลี่ยนแปลงที่ \

รู้ไว้ดีกว่า 4 ความเปลี่ยนแปลงที่ "ปลายนิ้ว" อาจเป็นสัญญาณมะเร็งปอด ใครมีควรพบแพทย์!

สุขภาพดีเริ่มจากการสังเกตตัวเอง อย่ารอให้สายเกินไป เพราะสัญญาณเล็กๆ ที่ปลายนิ้ว... อาจเปลี่ยนชีวิตคุณได้!

ผู้เชี่ยวชาญเตือน \

ผู้เชี่ยวชาญเตือน "จุดธูป" สังเกต 2 ข้อ อาจผสมสารเคมีอันตราย เสี่ยงโรคปอด-มะเร็ง

แพทย์เตือน "จุดธูป" สังเกตถ้ามีลักษณะพิเศษ 2 ข้อนี้ อาจผสมสารเคมีอันตราย เสี่ยงโรคปอด-มะเร็ง