
หมอเตือน 1 นิสัยตอนเล่นมือถือ "ระเบิดเวลา" ทำลายสมองเงียบๆ วัยรุ่นเป็นไม่รู้ตัว
หมอเตือน 1 พฤติกรรมเคยชินเวลาเล่นมือถือ ทำลายสมองอย่างเงียบๆ ทำให้เนื้อสมองหดลง เสี่ยงซึมเศร้า วัยรุ่นเป็นไม่รู้ตัว
ในยุคที่สมาร์ตโฟนกลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน หลายคนคงเคย ตั้งใจแค่เปิดดูข้อความ แต่กลับเลื่อนไปเรื่อย ๆ จนผ่านไปเป็นชั่วโมงโดยไม่รู้ตัว นี่คืออาการของโรคย้ำคิดย้ำทำแบบดิจิทัล (Digital Compulsion) ซึ่งกำลังส่งผลเสียต่อสมองอย่างเงียบ ๆ
ดร.หวงเสวียน แพทย์เฉพาะทางด้านทรวงอกและผู้ป่วยวิกฤต เผยว่า การใช้มือถือมากเกินไปในระยะยาว ไม่ได้ทำแค่ให้ดวงตาล้า แต่โครงสร้างและการทำงานของสมองก็กำลังเปลี่ยนแปลง
งานวิจัยจาก Frontiers in Psychology ระบุว่า ผู้ที่ใช้มือถืออย่างหนัก สมองส่วน “เนื้อสีเทา” (gray matter) จะหดตัว โดยเฉพาะบริเวณ เปลือกสมองส่วนหน้าผาก (Prefrontal Cortex) ที่เกี่ยวข้องกับสมาธิและการควบคุมตัวเอง
แม้จะคิดว่าเลื่อนมือถือช่วยคลายเครียด แต่แท้จริงคือ "สูบพลังสมอง" เพราะสมองไม่ได้ถูกออกแบบมาให้ทำหลายอย่างพร้อมกัน การสลับโฟกัสไปมาจะทำให้สมองล้าแบบสะสม
งานวิจัยพบว่า วัยรุ่นที่ใช้มือถือเกิน 4 ชั่วโมงต่อวัน จะมีความจำเพื่อใช้งาน (Working Memory) และผลการเรียน ต่ำลงอย่างเห็นได้ชัด
ส่งผลถึงอารมณ์ เสี่ยงซึมเศร้า-วิตกกังวล
ดร.หวงเตือนว่า มือถือไม่ได้แค่ทำร้ายสมอง แต่ยังมีผลต่อจิตใจโดยตรง งานวิจัยใน Frontiers in Psychiatry ปี 2021 พบว่า วัยรุ่นที่เลื่อนมือถือเกิน 6 ชั่วโมงต่อวัน มีความเสี่ยงซึมเศร้าเพิ่มขึ้นเกือบ 2 เท่า
อาการเหล่านี้ไม่ใช่ “คิดมาก” แต่เป็นการตอบสนองจริงจากสมองที่กำลังรับพิษดิจิทัลอย่างต่อเนื่อง
วิธีฟื้นฟูสมองจาก “พิษหน้าจอ”
ดร.หวงแนะนำว่า การหยุดใช้มือถือไม่จำเป็นต้องหักดิบ แต่ควรมีเวลา “ดีท็อกซ์ดิจิทัล” เช่น
-
ปิดหน้าจอวันละอย่างน้อย 1 ชั่วโมง
-
เดินเล่น อ่านหนังสือ หรือแค่นั่งนิ่ง ๆ
-
งดเล่นโซเชียล 7 วัน จะช่วยลดความเครียดและเพิ่มความสุขได้
ผลการทดลองใน Cyberpsychology, Behavior, and Social Networking ปี 2022 ยังยืนยันว่า แค่หยุดเล่นโซเชียลมีเดีย 7 วัน ก็ช่วยลดระดับความเครียดและฟื้นฟูความสุขได้อย่างชัดเจน
“เลื่อนมือถือทุกวินาที อาจกำลังเลื่อนสุขภาพสมองออกไปโดยไม่รู้ตัว” การใช้มือถือไม่ใช่เรื่องผิด แต่การหมกมุ่นแบบเรื้อรังอาจเป็นการทำร้ายตัวเองอย่างช้า ๆ สมองไม่มีระบบรับความรู้สึก เพราะฉะนั้น เมื่อเริ่มมีปัญหา อาจสายเกินแก้แล้ว