
ลูก 8 ขวบ ฟันยื่น-คางเล็ก-พัฒนาการช้า แพทย์เตือนพฤติกรรม "ตอนนอน" ที่คนโตมองข้าม!
เด็กหญิง 8 ขวบ ฟันยื่น-ปากแหลม-คางเล็ก พัฒนาการล่าช้า! พ่อแม่ไม่รู้ สาเหตุเริ่มจากพฤติกรรมตอนนอน
ช่วงนี้มีผู้ปกครองจำนวนไม่น้อยพาลูกไปพบแพทย์ เพราะเริ่มสังเกตเห็นความผิดปกติของใบหน้า เช่น ฟันยื่น ปากบนแหลม คางเล็ก หรือใบหน้าดูไม่สมส่วน แต่หลายคนอาจยังไม่รู้ว่า สาเหตุของปัญหาเหล่านี้ อาจมาจากพฤติกรรมที่เกิดขึ้นตอนนอน ที่ดูเหมือนไม่อันตราย แต่ส่งผลระยะยาวได้มากกว่าที่คิด
เว็บไซต์ SOHA รายงานหนึ่งในเคสที่น่าสนใจ คือเด็กหญิงวัย 8 ขวบ คุณแม่พาไปหาหมอด้วยความกังวลว่า “ลูกนอนอ้าปาก ฟันหน้ายื่นออกมาเรื่อยๆ แถมยังนอนกรนอีกต่างหาก”
เมื่อแพทย์ตรวจอย่างละเอียด พบว่าเด็กหญิงมีลักษณะใบหน้าแบบที่พบได้ในเด็กที่หายใจทางปากเป็นเวลานาน ได้แก่ ฟันยื่น ปากบนยื่น คางเล็ก ซึ่งเกิดจากการที่ขากรรไกรล่างพัฒนาไม่สมดุล นอกจากนี้ ยังพบร่องรอยการกัดริมฝีปากล่างเป็นประจำจนผิวแห้งและแดง และเล็บมือที่สั้นจนผิดปกติ จากการกัดเล็บเรื้อรัง
เมื่อสอบถามเพิ่มเติม เด็กยอมรับว่าเธอมีพฤติกรรมกัดปากและกัดเล็บอยู่ตลอด ซึ่งเป็นเรื่องที่แพทย์มองว่า "อันตรายกว่าที่คิด" เป็นพฤติกรรมเล็กๆ แต่ส่งผลใหญ่กว่าที่พ่อแม่คาด
- วิจัยฮาร์วาร์ด นอนกับแม่ VS แยกห้อง แบบไหนเด็ก "สมองพัฒนา" เร็วกว่าถึง 30%
- ผปค.ไม่โอเค ครูอนุบาลจัดที่นอนแปลก "เท้าโดนหัวลูก" แต่รู้เหตุผลทึ่ง พ่อแม่ยังคิดไม่ถึง
แพทย์อธิบายว่า เด็กที่มีพฤติกรรมหายใจทางปาก มักเป็นผลจากปัญหาทางเดินหายใจ เช่น ภูมิแพ้ หรือต่อมอะดีนอยด์โต (เนื้องอกในโพรงจมูก) ทำให้หายใจทางจมูกไม่สะดวก เด็กจึงต้องอ้าปากหายใจแทน
เมื่ออากาศผ่านเข้า-ออกทางปากตลอดเวลา จะไปกระทบต่อโครงสร้างฟันและขากรรไกร ส่งผลให้ขากรรไกรบนยื่น ขากรรไกรล่างหด เด็กบางคนก็เริ่มกัดปากล่างโดยไม่รู้ตัว เพื่อพยายามปรับสมดุลของฟัน แต่กลับยิ่งทำให้รูปหน้าแย่ลง
ที่สำคัญ พฤติกรรมกัดเล็บมักเป็นสัญญาณของความเครียดหรือความไม่สบายใจในเด็ก และถ้าไม่แก้ไข จะกลายเป็นพฤติกรรมเรื้อรัง ที่กระทบทั้งร่างกายและจิตใจ
นอกจากเรื่องรูปลักษณ์แล้ว การหายใจทางปากเรื้อรังยังส่งผลต่อสุขภาพในระยะยาว เด็กอาจได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ ส่งผลให้สมองทำงานช้าลง สมาธิสั้น และมีผลต่อการเรียนรู้ หากปล่อยไว้โดยไม่รักษา อาจกระทบต่อพัฒนาการทางสติปัญญาได้ในอนาคต
ดังนั้น เพื่อช่วยให้ผู้ปกครองสามารถตรวจสอบพฤติกรรมเสี่ยงของลูกได้ด้วยตัวเอง แพทย์แนะนำวิธีเช็กเองได้ง่ายๆ ที่บ้านดังนี้
-
หายใจทางปากตอนนอน: วางกระดาษทิชชู่บางๆ ไว้หน้าเด็กตอนนอน หากกระดาษเคลื่อนไหว แสดงว่ามีลมหายใจออกจากปาก
-
เคี้ยวอาหารข้างเดียว: สังเกตว่าลูกเคี้ยวอาหารเอียงข้างหรือไม่ อาจทำให้ใบหน้าผิดรูปได้
-
กัดปาก กัดเล็บ: หากริมฝีปากล่างมีรอยฟัน หรือเล็บสั้นผิดปกติ มีแผลที่ฐานเล็บ แสดงว่ามีพฤติกรรมกัดเล็บ
-
ดูดนิ้วมือ: มักทำให้ฟันหน้าไม่ปิดสนิท และนิ้วมือมีรอยกัด
-
แลบลิ้นบ่อย พูดไม่ชัด: สังเกตการพูด หากไม่ชัด หรือฟันหน้าล่างห่าง อาจมีปัญหาเรื่องกล้ามเนื้อช่องปาก
คุณหมอแนะนำเพิ่มเติมด้วยว่า ช่วงปิดเทอมหน้าร้อนเป็นเวลาที่เหมาะมากในการพาเด็กเข้ารับการประเมินและเริ่มรักษา เพราะเด็กอยู่บ้าน พักผ่อนมากขึ้น และสามารถปรับตัวกับอุปกรณ์จัดฟันหรือแนวทางการรักษาได้ดีขึ้น ดังนั้น หากพ่อแม่สังเกตเห็นสัญญาณเตือนข้างต้น อย่ารอช้า ควรพาเด็กไปพบแพทย์เฉพาะทางทันที เพื่อวางแผนการดูแลอย่างเหมาะสม
พฤติกรรมเล็กๆ อย่าง “นอนอ้าปาก”, “กัดปาก”, หรือ “กัดเล็บ” อาจดูไม่สำคัญในสายตาผู้ใหญ่ แต่สามารถส่งผลใหญ่ต่อโครงสร้างใบหน้า การหายใจ และพัฒนาการของลูกได้ในระยะยาว การสังเกตตั้งแต่เนิ่นๆ และเข้ารับการดูแลจากผู้เชี่ยวชาญตั้งแต่ยังเด็ก จะช่วยให้ลูกเติบโตอย่างมั่นใจ ทั้งร่างกาย ใบหน้า และสมอง