เนื้อหาในหมวด สุขภาพ

7 สาเหตุ เสี่ยง \

7 สาเหตุ เสี่ยง "ปัสสาวะเล็ด" ในผู้หญิง

“ปัสสาวะเล็ด” หรือเรียกโรคนี้ได้อีกอย่างหนึ่งว่า “อาการช้ำรั่ว” (Urinary Incontinence) เป็นภาวะที่ทำให้เกิดอาการปัสสาวะเล็ดที่เกิดได้กับทุกเพศ เริ่มจากวัยทำงานไปจนถึงเริ่มเข้าวัยทอง สาเหตุจากความผิดปกติของระบบประสาทหรือกล้ามเนื้อของกระเพาะปัสสาวะ ท่อปัสสาวะ และความอ่อนแอของอุ้งเชิงกราน ซึ่งอย่างหลังมักเกิดขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น และในบางกรณีก็เกิดจากนิ่วหรือเนื้องอกในทางเดินปัสสาวะได้

อาการปัสสาวะเล็ดเกิดขึ้นเมื่อมีอาการ ไอ จาม หัวเราะ ที่ทำให้เกิดความดันในช่องท้องจนเกิดปัสสาวะเล็ดออกมาได้ แต่ระดับความรุนแรงอาจแตกต่างกันไปในแต่ละคน

อ. พญ.กีรติ เชียงทอง แพทย์ประจำฝ่ายสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ระบุถึงสาเหตุที่ทำให้มีความเสี่ยงปัสสาวะเล็ดในผู้หญิงเอาไว้ ดังนี้

7 สาเหตุ เสี่ยง "ปัสสาวะเล็ด" ในผู้หญิง

  • การสูบบุหรี่
  • ดื่มชา กาแฟ น้ำอัดลม มีสารกระตุ้นให้เกิดการปัสสาวะบ่อย
  • อายุที่มากขึ้น
  • ผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน ฮอร์โมนเอสโตรเจนลดลง ทำให้เยื่อบุในกระเพาะปัสสาวะและท่อปัสสาวะเสื่อมสภาพ
  • ผู้ที่มีน้ำหนักตัวมาก หรือ โรคอ้วน
  • ผู้มีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน
  • ผู้ป่วยที่ระบบประสาทส่วนควบคุมกระเพาะปัสสาวะสูญเสีย จากอุบัติเหตุบริเวณไขสันหลัง หรือภาวะหลอดเลือดสมองตีบตัน
  • วิธีรักษาอาการปัสสาวะเล็ด

    วิธีการรักษาอาจแตกต่างกันไปจากสาเหตุและความรุนแรงของอาการในแต่ละคน แต่เบื้องต้นแพทย์อาจแนะนำวิธีที่ช่วยให้อาการปัสสาวะเล็ดดีขึ้นได้ ดังนี้

  • ดื่มน้ำให้เพียงพอในแต่ละวัน
  • ควรดื่มน้ำให้ได้ 6-8 แก้วต่อวันเป็นอย่างน้อย เพื่อช่วยให้ร่างกายขับปัสสาวะได้เป็นปกติในทุกๆ วัน และควรงดเว้นเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน แอลกอฮอล์ และน้ำอัดลม เพราะจะยิ่งระคายเคืองและกระตุ้นให้เกิดปวดปัสสาวะบ่อยขึ้นได้

  • ฝึกปัสสาวะให้เป็นปกติ
  • คอยสังเกตตัวเองให้ลุกขึ้นไปเข้าห้องน้ำเพื่อปัสสาวะเป็นปกติ ไม่น้อยครั้งหรือมากครั้งจนเกินไป โดยปกติแล้วควรปัสสาวะทุก 3-4 ชั่วโมง หรือวันละ 4-8 ครั้ง

  • บริหารอุ้งเชิงกรานให้แข็งแรง
  • ฝึกขมิบกล้ามเนื้อบริเวณนี้ (รอบช่องคลอด) อย่างถูกต้องและสม่ำเสมอ เช่น ขมิบค้างไว้ 5 วินาที และค่อยๆ ขยับเป็น 15 วินาที ในรายที่เป็นไม่รุนแรงน่าจะสามารถช่วยให้จำนวนครั้งในการเล็ดค่อยๆ ลดลงเรื่อยๆ

  • ลดน้ำหนัก
  • ในบางราย สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการปัสสาวะเล็ด คือ เป็นคนที่มีน้ำหนักมากเกินไป เกินเกณฑ์มาตรฐาน ดังนั้นหากลดน้ำหนัก ลดความอ้วนให้ร่างกายอยู่ในเกณฑ์ปกติแล้ว ความเสี่ยงต่ออาการปัสสาวะเล็ดก็จะลดลงด้วย

  • งดสูบบุหรี่
  • ในบางราย สาเหตุที่ก่อให้เกิดอาการปัสสาวะเล็ดมาจากการสูบบุหรี่ด้วยเช่นกัน เพราะสารต่างๆ จากควันบุหรี่สามารถดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดและขับถ่ายออกทางกระเพาะปัสสาวะได้ รวมถึงสารก่อมะเร็งที่อาจเพิ่มความเสี่ยงมะเร็งกระเพาะปัสสาวะได้ด้วย ดังนั้นงดสูบบุหรี่จึงเป็นวิธีที่ดีที่สุด

  • กินยา
  • หากมีอาการรุนแรงในระดับหนึ่ง แพทย์อาจพิจารณาให้ยามารับประทาน แต่หากยาไม่ได้ผล หรือมีอาการรุนแรงมาก แพทย์อาจพิจารณาให้รับการผ่าตัด ซึ่งส่วนมากจะผ่าตัดที่บริเวณท่อปัสสาวะ

    ปวดหลัง-บั้นเอว เป็นๆ หายๆ อาจเสี่ยง \

    ปวดหลัง-บั้นเอว เป็นๆ หายๆ อาจเสี่ยง "นิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะ"

    หากใครมีอาการปวดหลังช่วงบั้นเอวแบบเป็นๆ หายๆ โดยไม่ทราบสาเหตุ อาจมีความเป็นได้ว่ากำลังเสี่ยงโรคนิ่วในทางเดินปัสสาวะอยู่