เนื้อหาในหมวด การเงิน

กลุ่มทรูโชว์กำไร 2.3 พันล้านบาท เติบโตต่อเนื่อง ฐานผู้ใช้บริการเพิ่มขึ้นสูงสุดในอุตสาหกรรม

กลุ่มทรูโชว์กำไร 2.3 พันล้านบาท เติบโตต่อเนื่อง ฐานผู้ใช้บริการเพิ่มขึ้นสูงสุดในอุตสาหกรรม

กรุงเทพฯ 18 พฤษภาคม 2563 – กลุ่มทรู รายงานผลการดำเนินงาน รายได้เติบโตต่อเนื่องที่ร้อยละ 3 และรายได้จากบริการหลักเติบโตร้อยละ 5 จากปีก่อน ในขณะที่ EBITDA เติบโตแข็งแกร่งร้อยละ 12 เมื่อเทียบกับปีก่อนเป็น 8.5 พันล้านบาท หลังการปรับมาใช้มาตรฐานบัญชี TFRS 16 EBITDA เพิ่มขึ้นเป็น 12.2 พันล้านบาท และมีกำไรจากการดำเนินงาน (Operating profit) เป็น 2.3 พันล้านบาท ส่วนใหญ่มาจากรายได้การให้บริการของทรูมูฟ เอช ที่เพิ่มในอัตราร้อยละ 5.2 จากปีก่อน เหนือกว่าค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรม รวมทั้งมีฐานผู้ใช้บริการรายเดือนเพิ่มขึ้นสุทธิมากกว่า 3 แสนราย สวนทางกับผู้ให้บริการรายอื่นในอุตสาหกรรมที่มีรายได้ลดลงในไตรมาส 1 ปี 2563 ทั้งนี้ กลุ่มทรูจะมุ่งเน้นในการเพิ่มวินัยทางการเงิน บริหารค่าใช้จ่ายและเพิ่ม productivity ในทุกภาคส่วน เพื่อสร้างกำไรที่เติบโตอย่างยั่งยืนและพร้อมปรับตัวรับมือกับสถานการณ์เศรษฐกิจภายใต้ COVID-19 ต่อไป

นายอาณัติ เมฆไพบูลย์วัฒนา กรรมการผู้จัดการใหญ่ (ร่วม) กล่าวว่า “ไตรมาสแรกของปีนี้ เป็นอีกช่วงเวลาที่ท้าทายสำหรับการดำเนินธุรกิจเนื่องจากมีผลกระทบของวิกฤต COVID-19 ในช่วงปลายไตรมาส แต่กลุ่มทรูก็ยังมีผลการดำเนินงานที่ดี มีกำไรจากการดำเนินงานและสร้างการเติบโตของธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่ได้อย่างต่อเนื่องทั้งด้านรายได้และฐานผู้ใช้บริการรายเดือน สวนทางกับภาพรวมของอุตสาหกรรมที่มีรายได้ลดลงจากไตรมาสก่อน ด้วยจุดเด่นด้านเครือข่ายคุณภาพสูงของทรูมูฟ เอช ซึ่งแม้ในช่วงวิกฤตที่มีการใช้งานการสื่อสารที่เพิ่มสูงมาก ทรูมูฟ เอช ยังได้รับการยืนยันจากสถาบันทดสอบคุณภาพระดับโลกอย่าง nPerf ประกาศให้ ทรูมูฟ เอช เป็นเครือข่ายที่ดีที่สุดในประเทศไทยประจำไตรมาส 1 ปี 2563 ต่อเนื่องเป็นปีที่ 4 นอกจากนี้ แนวโน้มความต้องการใช้บริการบรอดแบนด์อินเทอร์เน็ตของทรูออนไลน์เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่มีการประกาศมาตรการ lock down ในปลายไตรมาส 1 ในขณะเดียวกัน ด้วยความพร้อมของกลุ่มทรู ที่ได้มีการปรับเปลี่ยนสู่การเป็นดิจิทัล ทั้งการนำเทคโนโลยีต่างๆ มาปรับใช้ให้บริการลูกค้าผ่านช่องทางออนไลน์ และดิจิทัลแพลตฟอร์มที่หลากหลาย อาทิ TrueID, True iService, บริการมะลิผ่าน line ทรูมูฟ เอช การจัดจำหน่ายทางออนไลน์ผ่าน wemall.com พร้อมบริการจัดส่งถึงบ้าน ตลอดจนการมีพันธมิตรที่มีช่องทางการขายและจัดจำหน่ายอยู่ทั่วประเทศ จึงช่วยผลักดันการเติบโตและลดผลกระทบจากการประกาศปิดร้านค้าต่างๆ แม้ในสภาวะวิกฤตเช่นนี้ โดยกลุ่มทรูเล็งเห็นโอกาสในการเติบโตผ่านพฤติกรรมผู้บริโภคและภาคธุรกิจที่มีแนวโน้มการใช้ชีวิตแบบดิจิทัลเพิ่มมากขึ้น ทั้งโซลูชันด้านดิจิทัล ธุรกรรมและการซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ ทำให้วิกฤตครั้งนี้ ช่วงเร่งให้กลุ่มทรูสามารถเติบโตร่วมไปกับการก้าวสู่วิถีชีวิตแบบใหม่หรือ New Normal ด้วยระบบนิเวศและโซลูชันดิจิทัลที่ครอบคลุมและครบครัน”

นายสฤษดิ์ จิณสิทธิ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ (ร่วม) กล่าวว่า “ในสภาวะวิกฤตที่มีการ Lockdown เช่นนี้ เครือข่ายการสื่อสารจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง ในช่วงปลายไตรมาสแรกมีปริมาณการใช้งานอินเทอร์เน็ตและบริการออนไลน์ที่สูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ทั้งเพื่อการทำงานที่บ้าน เรียนที่บ้าน และเพื่อไลฟ์สไตล์ความบันเทิงของผู้ที่อยู่บ้าน ทำให้กลุ่มทรูขยายแบนด์วิดต์เพื่อรองรับการเชื่อมต่อทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศ รวมถึงจัดสรรทีมงานเพื่อเตรียมความพร้อมให้บริการเครือข่ายคุณภาพทั่วประเทศ เพื่อให้กลุ่มลูกค้าและพันธมิตรทางธุรกิจมั่นใจได้ว่าจะสามารถเข้าถึงบริการได้ตลอดเวลาในภาวะวิกฤตนี้ อีกทั้งกลุ่มทรูยังได้ร่วมมือกับกสทช.ในการให้สิทธิพิเศษกับลูกค้า รับสิทธิ์ใช้งานเน็ตมือถือเพิ่มฟรี 10 GB และเพิ่มสปีดความเร็วบรอดแบนด์อินเทอร์เน็ตเป็น 100Mbps รวมถึงสิทธิพิเศษจากกลุ่มทรูสำหรับลูกค้าทรูวิชั่นส์ในการอัพเกรดแพ็กเกจให้สูงขึ้น นอกจากนี้ กลุ่มทรูได้พัฒนา “True Virtual World” แพลตฟอร์มใหม่ซึ่งเป็นศูนย์รวมโซลูชันครบวงจร ที่ผสานเทคโนโลยีคลาวด์จากทรู เพื่อเป็นทางออกให้กับคนไทยใช้งานฟรีในช่วงวิกฤตที่ต้องใช้ชีวิตรูปแบบใหม่ ทั้งทำงานที่บ้าน การเรียนรู้ออนไลน์และความบันเทิง อีกทั้งยังได้ขยายความร่วมมือไปในภาคสาธารณสุข ด้วยการสนับสนุนด้านโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลและแพลตฟอร์มดิจิทัล ซึ่งรวมถึงเครือข่ายและดีไวซ์ที่รองรับเทคโนโลยี 5G หุ่นยนต์โรโบติก “True5G Connect & Care Tech” แพลตฟอร์มดิจิทัล Teleclinic บริการ “Virtual COVID-19 Clinic” และ VHealth เพื่อช่วยคัดกรองผู้ต้องสงสัยติดเชื้อโรคโควิด-19 เบื้องต้น สิ่งเหล่านี้จะช่วยเร่งผลักดันประเทศให้เข้าสู่ยุคดิจิทัลอย่างเต็มตัว และกลุ่มทรูมุ่งมั่นที่จะร่วมนำพาประเทศให้ข้ามผ่านช่วงเวลาที่ยากลำบากนี้ไปด้วยกันอย่างรวดเร็ว”

ทรูมูฟ เอช มีรายได้จากการให้บริการเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.2 จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนหน้า เป็น 20.1 พันล้านบาทในไตรมาส 1 ปี 2563 ส่วนใหญ่จากการเติบโตในอัตราเลขสองหลักของรายได้จากกลุ่มลูกค้าระบบรายเดือน แม้รายได้ที่เกี่ยวข้องกับบริการโรมมิ่งและนักท่องเที่ยวจะได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 ในช่วงปลายไตรมาส ทรูมูฟ เอช ยังมีรายได้ที่เติบโตจากไตรมาสก่อน สวนทางกับอุตสาหกรรม อันเป็นผลจากกลุ่มลูกค้าระบบรายเดือนซึ่งมีจำนวนผู้ใช้บริการรายใหม่สุทธิกว่า 3 แสนรายในไตรมาส 1 ปี 2563 ส่งผลให้ทรูมูฟ เอช มีฐานผู้ใช้บริการรวมเป็น 30.3 ล้านราย แบ่งเป็นลูกค้าระบบรายเดือน 8.6 ล้านราย และระบบเติมเงิน 21.7 ล้านราย ทั้งนี้ เครือข่ายคุณภาพสูงของทรูมูฟ เอช ซึ่งได้รับการยืนยันจากสถาบันทดสอบคุณภาพระดับโลกอย่าง nPerf ในฐานะผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่ดีที่สุดในประเทศไทยประจำไตรมาส 1 ปี 2563 นับเป็นปีที่สี่ติดต่อกัน โดยเฉพาะในหมวดการทดสอบการเบราว์ซิ่งและการสตรีมมิ่ง และการผสานความร่วมมือกับพันธมิตรทางธุรกิจทั้งด้านดีไวซ์ ช่องทางการขายและจัดจำหน่ายเป็นปัจจัยสำคัญที่ผลักดันการเติบโตของรายได้และการขยายฐานผู้ใช้บริการ นอกจากนี้ การมุ่งพัฒนาผลิตภัณฑ์และระบบสิทธิประโยชน์ที่ตอบโจทย์ความต้องการของแต่ละกลุ่มลูกค้าได้ตรงจุด ตลอดจนความต้องการใช้งานดาต้าและธุรกรรมดิจิทัลที่เพิ่มมากขึ้น จะช่วยส่งเสริมการเติบโตให้กับทรูมูฟ เอช ต่อไป

ทรูออนไลน์ มีรายได้จากการให้บริการบรอดแบนด์อินเทอร์เน็ต 6.5 พันล้านบาท ในไตรมาส 1 ปี 2563 คิดเป็นการเติบโตร้อยละ 4.7 จากปีก่อนหน้า จากผลตอบรับที่ดีต่อแพ็กเกจอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง 1Gbps รวมถึงแพ็กเกจคอนเวอร์เจนซ์ที่ผสานคอนเทนต์คุณภาพผ่าน TrueID TV ได้อย่างคุ้มค่า ทำให้ทรูออนไลน์ มีฐานผู้ใช้บริการบรอดแบนด์ อินเทอร์เน็ต เพิ่มขึ้นเป็น 3.9 ล้านราย ด้วยจำนวนผู้ใช้บริการรายใหม่สุทธิ 55 พันรายในระหว่างไตรมาส ทั้งนี้ ทรูออนไลน์ มุ่งตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคในการใช้งานบรอดแบนด์ อินเทอร์เน็ตที่เพิ่มสูงขึ้น ตามแนวโน้มของการทำงานจากบ้านและธุรกรรมออนไลน์ที่เป็นที่นิยมมากขึ้น โดยเปิดตัวบริการพิเศษ ได้แก่ การปรับเปลี่ยนระดับความเร็วอินเทอร์เน็ตให้ตรงตามการใช้งานของลูกค้า การเพิ่มความเร็วอินเทอร์เน็ตสำหรับลูกค้าที่ต่อสัญญา แพ็กเกจ VLearn สำหรับนิสิต นักศึกษา และ VWork สำหรับกลุ่มคนทำงาน เพื่อรองรับแพลตฟอร์มการประชุมออนไลน์ “True Virtual World” พร้อมสิทธิพิเศษผ่าน TrueID TV ซึ่งผู้บริโภคสามารถเลือกรับชมคอนเทนต์คุณภาพระดับโลกและรับสิทธิประโยชน์ผ่านการสะสมและใช้ทรูพอยท์ โดยแพ็กเกจเหล่านี้ได้รับผลตอบรับที่ดีจากตลาด อีกทั้งยังช่วยเพิ่มโอกาสในการสร้างรายได้เพิ่มเติมผ่านสินค้าและบริการที่หลากหลายภายใต้กลุ่มทรู

ทรูวิชั่นส์ มีรายได้จากการให้บริการ 2.6 พันล้านบาท ในไตรมาส 1 ปี 2563 ซึ่งได้รับผลกระทบโดยตรงจากสถานการณ์โควิด-19 ที่ทำให้การจัดงานอีเว้นต์บันเทิงและรายการกีฬาสดต่างๆ ถูกเลื่อนออกไป ส่งผลให้ทั้งรายได้และค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องลดลงเช่นกันโดย ณ สิ้นไตรมาส 1 ปี 2563 ทรูวิชั่นส์มีฐานลูกค้าประมาณ 4 ล้านราย นอกจากทรูวิชั่นส์จะช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าและบริการอื่นๆ ของกลุ่มทรูภายใต้ยุทธศาสตร์คอนเวอร์เจนซ์ด้วยคอนเทนต์คุณภาพทั้งจากในประเทศและต่างประเทศแล้ว ทรูวิชั่นส์ยังสร้างการเติบโตผ่านเครือข่ายInfluencer หรือผู้มีอิทธิพลบนโลกออนไลน์ของธุรกิจออนไลน์สเตชัน ทั้งด้านการสร้างรายได้เพิ่มเติมและการขยายฐานลูกค้าให้กับหลายธุรกิจภายใต้กลุ่มทรูผ่านการทำการตลาดที่สามารถเข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้ตรงจุดมากยิ่งขึ้น

ทรู ดิจิทัล กรุ๊ป เดินหน้าสร้างความแตกต่างให้กับกลุ่มทรู ด้วยธุรกิจและการให้บริการที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยในไตรมาสแรกของปี 2563 แพลตฟอร์มดิจิทัลอย่าง ทรูไอดี มียอดดาวน์โหลดสูงสุดในกลุ่มแอปพลิเคชันหมวดบันเทิง ทั้งในระบบแอนดรอยด์และ iOS โดยมียอดรับชมวิดีโอต่อเดือนสูงถึง 141 ล้าน และมียอดรับชมบริการวิดีโดออนดีมานด์ (VOD) สูงสุดที่ 36.9 ล้าน นับเป็นการเติบโตถึง 400% เมื่อเทียบกับปีก่อน อีกทั้งยังมีจำนวนการสมัครรับชมคอนเทนต์ทรูไอดีเพิ่มขึ้นนับตั้งแต่ต้นปีเป็น 285,000 รายการ นอกจากนี้ ฟังก์ชันที่เพิ่มเข้ามา เช่น การแชทและการโทรหากันผ่านแอปพลิเคชัน ทรูไอดี ได้รับการตอบรับที่ดีอย่างต่อเนื่อง โดยมีผู้ใช้งานต่อเดือนสูงถึง 280,000 ราย ในขณะที่กล่องทรูไอดี ทีวี ยังคงได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่องด้วยยอดรวม 843,000 กล่อง ทั้งนี้ เพื่อต่อยอดกลยุทธ์การเสริมสร้างศักยภาพดิจิทัลให้กับทุกภาคส่วนอุตสาหกรรม กลุ่มธุรกิจดิจิทัลโซลูชั่น ได้มอบความช่วยเหลือในช่วงภาวะวิกฤตนี้ ด้วยบริการ “Virtual COVID-19 Clinic” ที่เปิดให้บุคคลทั่วไปสามารถปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญได้ตลอด24 ชั่วโมงบนช่องทางออนไลน์ ผ่านความร่วมมือกับเอไอเอและเครือโรงพยาบาลสมิติเวช นอกจากนี้ กลุ่มธุรกิจดิจิทัลโซลูชัน ยังคงเดินหน้าขยายความร่วมมือและฐานลูกค้าด้วยการมุ่งมั่นพัฒนาและนำเสนอนวัตกรรมโซลูชันที่หลากหลาย ตอบสนองความต้องการของกลุ่มลูกค้าอย่างครบวงจรในแต่ละอุตสาหกรรม เช่น อุตสาหกรรมภาคการเกษตร (Agriculture) อุตสาหกรรมภาคการค้าปลีก (Retails) อุตสาหกรรมภาคการผลิต (Manufacturing) อุตสาหกรรมด้านห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) อุตสาหกรรมคมนาคมขนส่ง (Logistics) และอุตสาหกรรมภาคสุขภาพและสาธารณสุข (Healthcare) โดยมีจำนวนอุปกรณ์เซ็นเซอร์ IoT ที่เชื่อมต่อและใช้บริการแล้วกว่า 242,000 อุปกรณ์

กรมสรรพากร แจงผู้มีกำไรจากคริปโตเคอร์เรนซี ต้องยื่นภาษีให้ถูกต้อง

กรมสรรพากร แจงผู้มีกำไรจากคริปโตเคอร์เรนซี ต้องยื่นภาษีให้ถูกต้อง

กรมสรรพากร แจงผู้มีกำไรจากคริปโตเคอร์เรนซี่ และโทเคนดิจิทัล ต้องยื่นภาษีให้ถูกต้องจะได้ไม่เป็นภาระในภายหลังเมื่อถูกตรวจสอบ

เซ็นทรัล วืดประมูล เทสโก้ พร้อมปรับแผนใหม่ พลิกบางกอกโพสต์ทำกำไรยุคใหม่

เซ็นทรัล วืดประมูล เทสโก้ พร้อมปรับแผนใหม่ พลิกบางกอกโพสต์ทำกำไรยุคใหม่

การแข่งขันในยุคปัจจุบัน ทุกอุตสาหกรรมต้องปรับตัว การปรับเปลี่ยนของพฤติกรรมลูกค้า การใช้เทคโนโลยี และการเข้ามาของยุคดิจิทัล ทำให้หลายอุตสาหกรรมต้องเปลี่ยนกลยุทธ์ รวมถึงธุรกิจค้าปลีก

บอร์ดบินไทยจ่อประเมิน “สุเมธ” คาดไม่ผ่านเกณฑ์ เหตุฟื้นกำไรไม่ได้

บอร์ดบินไทยจ่อประเมิน “สุเมธ” คาดไม่ผ่านเกณฑ์ เหตุฟื้นกำไรไม่ได้

การบินไทยขาดทุนหนักทำ “สุเมธ” ขาเก้าอี้สั่น คาดคณะกรรมการสรรหาฯ ฟันไม่ผ่านเกณฑ์ประเมิน “ดีดีการบินไทย” ระบุตำแหน่งนี้ต้องมีความเชี่ยวชาญอื่น ไม่ใช่แค่เรื่องการเงิน

การทางพิเศษฯ แจกโบนัส 5 เดือน ให้พนักงานหลังฟันกำไร 6,700 ล้านบาท

การทางพิเศษฯ แจกโบนัส 5 เดือน ให้พนักงานหลังฟันกำไร 6,700 ล้านบาท

การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) เผยปีนี้โกยกำไร 6.7 พันล้านบาท ไฟเขียวแจกโบนัสพนักงาน 5 เดือน พร้อมลดค่าผ่านทางบัตร Easy Pass 6 ด่าน

กลุ่มทรู โชว์ผลงานกำไรต่อเนื่องเป็น 2.9 พันล้าน ในไตรมาส 3 ปี 62 กำไรสะสม 9 เดือนปี 62 เป็น 5.4 พันล้าน

กลุ่มทรู โชว์ผลงานกำไรต่อเนื่องเป็น 2.9 พันล้าน ในไตรมาส 3 ปี 62 กำไรสะสม 9 เดือนปี 62 เป็น 5.4 พันล้าน

กลุ่มทรู รายงานกำไรสุทธิที่เติบโตอย่างต่อเนื่องเป็น 2.9 พันล้านบาทในไตรมาส 3 ปี 2562 เทียบกับกำไร 1.1 พันล้านบาท ในไตรมาส 2 ปี 2562 และ 99 ล้านบาทใน ไตรมาส 3 ปี 2561 หนุนโดย EBITDA และกำไรจากการดำเนินงานที่เพิ่มสูงขึ้นเป็น 10.3 พันล้านบาทและ 3.4 พันล้านบาท ตามลำดับ