เนื้อหาในหมวด ข่าว

แอมเนสตี้ชี้ เลือกตั้ง 66 คือ “โอกาสสำคัญ” ที่นักการเมืองจะแสดงเจตจำนงค์ในการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน

แอมเนสตี้ชี้ เลือกตั้ง 66 คือ “โอกาสสำคัญ” ที่นักการเมืองจะแสดงเจตจำนงค์ในการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน

แอมเนสตี้ชี้การเลือกตั้งทั่วไปของประเทศ ในวันที่ 14 พฤษภาคมนี้ เป็นโอกาสสำคัญที่พรรคการเมืองและผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกผู้แทนราษฎร จะยืนยันต่อสาธารณะถึงเจตจำนงค์ที่จะคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิมนุษยชน รวมทั้งสิทธิของกลุ่มคนชายขอบ ภาคประชาสังคม และเยาวชน 

ชนาธิป ตติยการุณวงศ์ นักวิจัยระดับภูมิภาคประจำประเทศไทย แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ระบุว่า รัฐบาลชุดใหม่ของประเทศไทยต้องให้การรับประกันว่าประชาชนในไทยจะสามารถใช้สิทธิเสรีภาพในการแสดงออก การชุมนุมประท้วงโดยสงบ และการสมาคมได้ ทั้งยังไม่ถูกลงโทษเพียงเพราะการแสดงออกอีกต่อไป นอกจากนี้ รัฐบาต้องยกเลิกการดำเนินคดีที่เกี่ยวข้องกับการชุมนุมประท้วงโดยสงบ ทั้งยังดำเนินการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายและนโยบายที่ขัดขวางการใช้สิทธิของประชาชนอย่างเต็มที่

“ภายหลังการเลือกตั้งครั้งที่แล้วเมื่อปี 2562 ประเทศไทยต้องเผชิญกับการระบาดของโรคโควิด-19 เป็นวงกว้าง ประกอบกับการลุกฮือเพื่อชุมนุมประท้วงที่นำโดยเยาวชนทั่วประเทศ เพื่อเรียกร้องการปฏิรูปการเมือง การบังคับใช้มาตรการเกี่ยวกับโรคระบาดส่งผลให้ความเหลื่อมล้ำด้านเศรษฐกิจที่รุนแรงอยู่แล้ว เลวร้ายลงไปอีก ทั้งยังเพิ่มทวีความไม่เท่าเทียมในสังคม และนำไปสู่ข้อจำกัดอันไม่สมเหตุสมผลต่อการใช้สิทธิในเสรีภาพการแสดงออกและการชุมนุมโดยสงบ” 

“ประมาณ 7.6% ของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 52 ล้านคนในประเทศไทย เป็นผู้ใช้สิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้งเป็นครั้งแรกในชีวิตของพวกเขา เยาวชนเหล่านี้หลายคนเป็นผู้มีส่วนร่วมในการชุมนุมประท้วงในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา และได้รับผลกระทบอย่างมากจากการปราบปรามการใช้สิทธิในเสรีภาพการแสดงออกและการชุมนุมโดยสงบจากภาครัฐ หากพรรคการเมืองและผู้สมัคร ส.ส. จากทุกพรรคได้รับเลือกตั้งเข้ามา พวกเขาควรรับฟังเสียงของประชาชน ซึ่งรวมไปถึงเยาวชน และควรตอบรับข้อเรียกร้องเพื่อการเปลี่ยนแปลงของประชาชน และแสดงเจตจำนงค์ในการขับเคลื่อนให้ประเทศไทยปฏิบัติตามพันธกรณีระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชน” ชนาธิปกล่าว

ทั้งนี้ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย ได้ร่วมมือกับภาคประชาสังคมในภาคต่าง ๆ ทั่วประเทศ จัดทำชุดข้อเสนอนโยบายเกี่ยวกับประเด็นปัญหาต่าง ๆ ตั้งแต่เรื่องสิทธิทางพลเมืองและสิทธิทางการเมือง สิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม สิทธิด้านสิ่งแวดล้อม และสิทธิของผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศ ไปจนถึงสิทธิของแรงงานข้ามชาติ ผู้ลี้ภัย คนพิการ เด็ก ผู้หญิง และชนพื้นเมือง โดยได้รับการออกแบบมาเพื่อเรียกร้องให้ผู้สมัครสามารถจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายที่จะทำให้เกิดการพัฒนาปรับปรุงด้านสิทธิมนุษยชน พร้อมกันนี้ ยังได้จัดเวทีสาธารณะในหลายจังหวัด เพื่อนำเสนอข้อเสนอแนะต่อพรรคการเมือง และให้นักการเมืองได้แสดงวิสัยทัศน์กับนโยบายด้านสิทธิมนุษยชน

ตามข้อมูลของศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน ระหว่างเดือนกรกฎาคม 2563 ถึงเมษายน 2566 ประชาชนอย่างน้อย 1,902 คนที่ถูกดำเนินคดี เนื่องจากวิพากษ์วิจารณ์รัฐ หรือมีส่วนเกี่ยวข้องกับการชุมนุมสาธารณะโดยสงบ อีกทั้งยังมีประชาชนอย่างน้อย 1,469 คนถูกดำเนินคดีฐานละเมิดข้อห้ามต่อการชุมนุมสาธารณะ และอีก 167 คนถูกดำเนินคดีตมม พ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทำผิดทางคอมพิวเตอร์ พร้อมกันนี้ ประชาชนอย่างน้อย 242 คนถูกดำเนินคดีในข้อหาร้ายแรงเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งชาติ อีก 130 คนถูกดำเนินคดีข้อหายุยงปลุกปั่นตามมาตรา 112 และ 116 ของประมวลกฎหมายอาญาของไทย ทั้งนี้ มีเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี จำนวน 284 คนถูกดำเนินคดีอาญา

นิทรรศการ \

นิทรรศการ "Four Senses of Rights" เรื่องเล่าของผู้ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน ในสายตาคนรุ่นใหม่

แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย จัดนิทรรศการสิทธิมนุษยชน ‘Four Senses of Rights’ ผลงานนักศึกษาที่ถ่ายทอดเรื่องราวผู้ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน 4 เรื่องราวนี้

ปฏิบัติการด่วน! แอมเนสตี้ยื่น 3 ข้อเรียกร้องต่อนายกฯ ปล่อยตัว-หยุดดำเนินคดี \

ปฏิบัติการด่วน! แอมเนสตี้ยื่น 3 ข้อเรียกร้องต่อนายกฯ ปล่อยตัว-หยุดดำเนินคดี "อานนท์ นำภา"

แอมเนสตี้ปฏิบัติการด่วน นำ 7,301 รายชื่อยื่นต่อรัฐบาลไทย พร้อม 3 ข้อเรียกร้องให้ปล่อยตัว - หยุดดำเนินคดี “อานนท์ นำภา” พร้อมยกเลิกหรือแก้กฎหมายละเมิดสิทธิเสรีภาพในการแสดงออกของประชาชน

“แล้วกลับมากินข้าวด้วยกันนะ” นิทรรศการที่ว่าด้วย “ผู้สูญหาย” และใจที่แตกสลายของครอบครัว

“แล้วกลับมากินข้าวด้วยกันนะ” นิทรรศการที่ว่าด้วย “ผู้สูญหาย” และใจที่แตกสลายของครอบครัว

แอมเนสตี้ จัดนิทรรศการ “กลับสู่วันวาน… กลับมากินข้าวด้วยกันนะ” เนื่องในวันระลึกถึงเหยื่อของการถูกบังคับสูญหายสากล (International Day of the Victims of Enforced Disappearances) วันที่ 30 สิงหาคมของทุกปี

แอมเนสตี้ร้องรัฐบาลไทยแก้ปัญหาสิทธิมนุษยชน “ปริญญา” ชี้เลือกตั้งไม่เปลี่ยนประเทศ เหตุติดล็อก ส.ว.

แอมเนสตี้ร้องรัฐบาลไทยแก้ปัญหาสิทธิมนุษยชน “ปริญญา” ชี้เลือกตั้งไม่เปลี่ยนประเทศ เหตุติดล็อก ส.ว.

รายงานสถานการณ์สิทธิมนุษยชนทั่วโลก ประจำปี 2565/66 ของแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล เน้นย้ำถึงภาวะสองมาตรฐานด้านสิทธิมนุษยชนที่เกิดขึ้นทั่วโลกและในประเทศไทย

ครบรอบ 1 ปีรัสเซียบุกยูเครน “แอมเนสตี้” ร้อง สิทธิเหยื่อต้องเป็นหัวใจสำคัญของกระบวนการยุติธรรม

ครบรอบ 1 ปีรัสเซียบุกยูเครน “แอมเนสตี้” ร้อง สิทธิเหยื่อต้องเป็นหัวใจสำคัญของกระบวนการยุติธรรม

แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล กล่าวเนื่องในวาระครบหนึ่งปีนับตั้งแต่เกิดการรุกรานประชาคมโลกต้องพัฒนาแผนที่เข้มแข็งเพื่อนำความยุติธรรมมาให้กับเหยื่อสงครามรุกรานยูเครนของรัสเซีย