เนื้อหาในหมวด สุขภาพ

เบาหวาน .. โรคที่ (ไม่) น่ากลัว

เบาหวาน .. โรคที่ (ไม่) น่ากลัว

     วันที่ 14 พฤศจิกายน ของทุกปีคือ วันเบาหวานโลก ทางอิควล (Equal) ผลิตภัณฑ์ให้ความหวาน แทนน้ำตาล แบรนด์ผู้นำจากอเมริกา ได้เห็นถึงอันตรายของโรคเบาหวาน จึงได้จับมือกับโรง พยาบาลพญาไท 2 จัดกิจกรรมตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดเพื่อส่งเสริมความรู้พร้อมรับมือ กับโรคเบาหวาน เนื่องในวันเบาหวานโลก (World Diabetes Day 2017) โดยแพทย์หญิง-นารีลักษณ์ กลิ่นสุคนธ์ (นิ่มน้อย) อายุรแพทย์โรคต่อมไร้ท่อและเมตะบอลิสม ศูนย์เบาหวาน และต่อมไร้ท่อ โรงพยาบาลพญาไท 2 ได้ให้ความรู้เกี่ยวกับ “เบาหวาน..โรคที่ (ไม่) น่ากลัว” ไว้ดังนี้

     เบาหวานเป็นโรคเรื้อรังที่มีผู้ป่วยเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในแต่ละปีและเบาหวานยังเป็นสาเหตุการเสียชีวิตเป็น อันดับ 9 ของผู้หญิงทั่วโลก

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคเบาหวาน
- ผู้ที่มีญาติสายตรง (พ่อ, แม่, พี่, น้อง) เป็นเบาหวาน
- ความอ้วน ไม่ออกกำลังกาย ความเครียด
- อายุมากกว่า 40 ปี ขึ้นไป
- มีภาวะเบาหวานแฝงมาก่อน
- มีโรคความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง หรือโรคหลอดเลือดหัวใจ
- มีประวัติเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ หรือมีลูกที่น้ำหนักแรกคลอดมากกว่า 4 กิโลกรัม
- โรคของตับอ่อน เช่น ตับอ่อนอักเสบ ได้รับการผ่าตัดตับอ่อน

เบาหวานส่งผลต่อ (ภาวะแทรกซ้อนของเบาหวานต่อร่างกาย)
- หัวใจ เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ
- สมอง เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิด โรคเส้นเลือดสมองตีบ อัมพฤต อัมพาต
- ไต เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคไตวายเรื้อรัง
- เส้นประสาท ทำให้เกิดการอักเสบของเส้นประสาทส่วนปลาย มีอาการชา เจ็บปวด ปลายมือ ปลายเท้า
- ติดเชื้อเพิ่มมากขึ้น เป็นแผลเรื้อรังหายยาก โดยเฉพาะแผลที่เท้า เพิ่มความเสี่ยงต่อการถูกตัดนิ้ว ตัดเท้า
- ตา ทำให้เกิดจอประสาทตาอักเสบ เส้นเลือดที่จอประสาทตาผิดปกติเพิ่มความเสี่ยงการเกิดตา บอด

ทำอย่างไรเมื่อเป็นเบาหวาน – ข้อสำคัญคือ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหาร
1. เลือกทานอาหารเพื่อสุขภาพ ทานผักใบเขียว ผลไม้รสไม่หวานจัด ทานธัญพืช ถั่ว ข้าวไม่ขัดสี ทานเนื้อสัตว์ไม่ติดมัน
2. หลีกเลี่ยงอาหารรสหวานจัด เค็มจัด และมัน ถ้าต้องการรสหวาน ควรใช้ผลิตภัณฑ์ให้ความหวาน แทนน้ำตาล ในการประกอบอาหารและปรุงอาหาร
3. งดเครื่องดื่มรสหวาน เช่น น้ำอัดลม น้ำผลไม้ เครื่องดื่มชูกำลัง และเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์ ควรดื่มน้ำสะอาดมาก ๆ
4. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อย 3 ครั้งต่อสัปดาห์
5. ลดน้ำหนัก ไม่ให้อ้วน
6. เลิกสูบบุหรี่
7. ทานยาตามแพทย์สั่ง และติดตามการรักษาอย่างสม่ำเสมอ
8. ตรวจติดตามภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวานตามที่แพทย์แนะนำ เพื่อป้องกันและรักษาตั้งแต่ แรกเริ่ม
9. ตรวจระดับน้ำตาลปลายนิ้วด้วยตนเองที่บ้าน ถ้าสามารถทำได้

ภาพกิจกรรม อิควลจัดงานตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือด ณ โรงพยาบาลพญาไท 2

 


            




[Advertorial]

ทุเรียนกินกับกาแฟได้ไหม? ไขความจริงที่หลายคนเข้าใจผิด

ทุเรียนกินกับกาแฟได้ไหม? ไขความจริงที่หลายคนเข้าใจผิด

หลายคนหลงใหลในรสชาติของทุเรียนและกาแฟ แต่เคยสงสัยไหมว่า ทุเรียนกินกับกาแฟได้ไหม? ความเชื่อนี้มักมีข้อถกเถียงว่าอาจเป็นอันตรายต่อร่างกาย โดยเฉพาะเรื่องหัวใจ ความดัน หรือการย่อยอาหาร มาดูกันว่าข้อมูลทางโภชนาการและคำแนะนำจากแพทย์ว่าอย่างไร

ทำไมกินแก้วมังกรสีแดง แล้วปัสสาวะเป็นสีแดง?

ทำไมกินแก้วมังกรสีแดง แล้วปัสสาวะเป็นสีแดง?

เคยไหม? กินแก้วมังกรสีแดง แล้วปัสสาวะกลายเป็นสีชมพูหรือแดง สาเหตุเกิดจากอะไร อันตรายหรือแค่สีจากธรรมชาติ หาคำตอบได้ที่นี่

วิธีบรรเทาอาการ “ปวดหลัง” ตั้งแต่ยืน เดิน นั่ง นอน

วิธีบรรเทาอาการ “ปวดหลัง” ตั้งแต่ยืน เดิน นั่ง นอน

อาการปวดหลัง อาจไม่ได้มาจากโรคร้าย แต่อาจเกิดจากพฤติกรรมในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นการเดิน นั่ง หรือแม้แต่นอนผิดท่า รู้ไว้ก่อนปวดเรื้อรัง

ไข้เลือดออกมือสอง เมื่อคนดูแลก็ป่วยได้ ผลกระทบที่หลายคนมองข้าม

ไข้เลือดออกมือสอง เมื่อคนดูแลก็ป่วยได้ ผลกระทบที่หลายคนมองข้าม

เบื้องหลังผู้ป่วยไข้เลือดออก ยังมีคนดูแลที่เสี่ยง ‘ไข้เลือดออกมือสอง’ ทั้งร่างกายและจิตใจ เรียนรู้วิธีรับมือ และดูแลใจตนเองให้เข้มแข็งไปพร้อมกัน