เนื้อหาในหมวด สุขภาพ

เคล็ดลับเลือกซื้อเนื้อสัตว์อย่างไร ไม่เป็นโรค

เคล็ดลับเลือกซื้อเนื้อสัตว์อย่างไร ไม่เป็นโรค

โรคอันตรายหลายโรคมาจากอาหารที่เราทานเข้าไป และส่วนใหญ่มักขึ้นอยู่กับความสะอาดของส่วนประกอบที่ใช้ในการทำอาหาร หลายคนหลีกเลี่ยงอาหารนอกบ้านเพื่อที่จะลดความเสี่ยงในการติดโรคทางเดินอาหารต่างๆ อันเกิดมาจากวัตถุดิบที่ไม่สะอาดของร้านค้าทั่วไป แต่ถึงกระนั้นการซื้อเนื้อสัตว์มาประกอบอาหารทานเองก็อาจจะยังมีความเสี่ยง หากเราเลือกซื้อไม่เป็น ดังนั้นเรามาดูวิธีเลือกซื้อเนื้อสัตวอย่างถูกวิธี เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคต่างๆ กันดีกว่า

 

  • เนื้อหมู

  • เนื้อต้องไม่มีกลิ่นเหม็นคาว มีสีชมพูสด เนื้อเรียบสวย ไม่เป็นเม็ดสาคู เพราะนั่นอาจเป็นพยาธิตัวตืดหมู หนังหมูเรียบลื่น เนื้อเย็นไม่อุ่นมือมากจนเกินไป กดเนื้อดูแล้วไม่เละ หรือนุ่มจนเกินไป

     

  • เนื้อไก่

  • เนื้อหนังสดใส ไม่ซีด ไม่มีกลิ่นเหม็นคาว หากเป็นส่วนอกต้องชิ้นหนา ส่วนขาต้องอ้วนสั้น เนื้อเยอะ พับงอขาได้ง่าย ดวงตาสดใส และหากจะนำไปต้ม ให้ใช้ไก่อ่อน หากนำไปอบ หรือทอด ให้ใช้ไก่แก่

     

  • เนื้อวัว

  • เนื้อวัวต้องมีสีแดงสด หรือออกเข้มจนเป็นสีน้ำตาลเล็กน้อย มันของเนื้อเป็นสีขาว ไม่ใช่สีเหลือง หรือเหลืองเข้ม ไม่มีกลิ่นเหม็นคาว มีความชุ่มฉ่ำไม่แห้งจนเกินไป และเนื้อแน่น กดแล้วไม่ยุบเป็นรอยบุ๋มได้ง่ายๆ และควรเลือกซื้อเนื้อชิ้นใหญ่ มากกว่าเนื้อที่แล่ทิ้งไว้เป็นชิ้นเล็กๆ

     

  • กุ้ง

  • เลือกกุ้งที่ไม่มีกลิ่นเหม็น หัว เปลือก หางติดแน่นกับลำตัว ลวกแล้วหางไม่ดำ เนื้อแน่นไม่ยุ่ย และมีรสหวาน ไม่จืดสนิท

     

  • ปลาหมึก

  • ตามีสีใส ไม่ขุ่นขาว (ต้องมีตาติดมากับหัวด้วย) หนังสวย ไม่มีรอยถลอกหรือรอยขัด หัวกับตัวไม่หลุดออกจากกัน เนื้อปลาหมึกแน่น ไม่ยุ่ย ถือปลาหมึกตรงกลางลำตัวต้องพับลงเล็กน้อย ไม่แข็ง หรืออ่อนนุ่มจนเกินไป

     

  • ปู

  • ซื้อปูสดเป็นๆ กดแล้วตัวไม่ยุบ ตากระดุกกระดิกได้ สีสดไม่ซีดเซียว ขาทุกส่วนอยู่ในสภาพดี

     

  • ปลา

  • ลำตัวสีสดใส เนื้อแน่น ไม่มีกลิ่นเหม็น มีแต่กลิ่นคาวปลาตามปกติ ดวงตาสดใส ไม่ขุ่นมัว ไม่จมลงไปในเบ้าตา เหงือกปลาสีแดงสดใส

     

  • หอย

  • หอยอยู่ในสภาพดี ตัวอยู่ในเปลือก เปลือกไม่แตก หุบแน่นสนิทไม่เปิดอ้า หรือหากเปิดอ้าอยู่ต้องหุบแน่นโดยเร็ว (หอยเป็นๆ)

     

    ทั้งนี้ หากอยากปรุงอาหารอย่างปลอดภัยไร้โรค ควรปรุงให้สุก 100% ไม่ทานดิบๆ หรือกึ่งสุกกึ่งดิบ หรือทำให้สุกโดยใช้เพียงมะนาวเท่านั้น นอกจากนี้หลังจากซื้อมาปรุงอาหาร ควรรีบนำมาปรุงอาหารทานให้หมดไม่เกิน 3 วัน และระหว่างนั้นให้เก็บไว้ในตู้แช่แข็งที่อุณหภูมิต่ำกว่า -3 องฮาเซลเซียสเป็นต้นไป แช่ในน้ำแข็งที่อยู่ภายนอกแล้วค่อยๆ ละลาย อาจเย็นไม่พอที่จะเก็บเนื้อสัตว์ดิบๆ ได้ เสี่ยงบูดเน่า หรือมีแมลงวันตอมได้

    ติ่งเนื้อ เกิดจากอะไร วิธีกำจัดติ่งเนื้อ และวิธีดูแลหากมีติ่งเนื้อ

    ติ่งเนื้อ เกิดจากอะไร วิธีกำจัดติ่งเนื้อ และวิธีดูแลหากมีติ่งเนื้อ

    “ติ่งเนื้อ” ที่มีลักษณะคล้ายไฝ หรือขี้แมลงวันเล็กๆ แต่มันปูดออกมา ติดเนื้อเป็นติ่งๆ ดูเหมือนอะไรติดผิวหนังแบบที่หยิบดึงออกมาได้ มีทั้งสีคล้ำอย่างดำ น้ำตาล ไปจนถึงสีเนื้อ เหลือง หรือสีชาๆ คล้ายน้ำชา

    ล้างผักผลไม้-เลือกเนื้อสัตว์อย่างไร ให้ปลอดภัยช่วงตรุษจีน

    ล้างผักผลไม้-เลือกเนื้อสัตว์อย่างไร ให้ปลอดภัยช่วงตรุษจีน

    วิธีล้างผักผลไม้ และวิธีเลือกเนื้อสัตว์ในการนำมาประกอบอาหารช่วงไหว้เจ้า ในเทศกาลตรุษจีน ให้ปลอดภัยต่อร่างกาย