เกือบสิ้นชื่อ! หนุ่ม "ดื่มเหล้า" น้ำลายฟูมปาก หมอเตือนมี "อาการนี้" หยดเดียวก็ห้ามดื่ม
หนุ่มใหญ่เกือบขิต หามส่ง รพ. สภาพน้ำลายฟูมปาก หลังดื่มแอลกอฮอล์ หมอเตือนมี “อาการนี้” ห้ามดื่มแม้แต่หยดเดียว
เว็บไซต์ ngoisao ของเวียดนาม รายงานกรณีชายวัย 58 ปี ถูกส่งตัวเข้าโรงพยาบาล หลังจากล้มหมดสติ พบมีอาการน้ำลายฟูมปาก และรูม่านตาขยาย หลังจากช่วยเหลือจนคนไข้พ้นวิกฤตแล้ว แพทย์ถึงกับถอนหายใจแจ้งว่า
“เขาเป็นคนไข้ความดันโลหิตสูง ดื่มเหล้ามากเกินไป เส้นเลือดในสมองแตก โชคดีที่มาถึงโรงพยาบาลทันเวลา ถ้าช้าไปกว่านี้จะอันตรายมาก”
ในประเด็นนี้ นักวิจัยเน้นย้ำว่าแม้ปริมาณแอลกอฮอล์เพียงเล็กน้อยก็สามารถเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมองได้ “ทุกจิบถือเป็นสาเหตุของความดันโลหิตสูง" โดยมีผลในระยะสั้นและระยะยาว หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ เมื่อบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในแต่ละวันเกินเกณฑ์ที่กำหนด ความเสี่ยงก็จะเพิ่มขึ้นมากตามไปด้วย
แอลกอฮอล์เชื่อมโยงกับความดันโลหิตสูงอย่างไร?
ประการแรก การดื่มแอลกอฮอล์จะกระตุ้นระบบประสาทซิมพาเทติก (Sympathetic Nervous System : SNS) ส่งผลให้อัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้น และกล้ามเนื้อหัวใจหดตัวเพิ่มขึ้น
ประการที่สองเอทานอล (ethanol) และอะซีทอลดีไฮด์ (Acetaldehyde) ในแอลกอฮอล์ มีผลเสียต่อหลอดเลือด ซึ่งสามารถเพิ่มความต้านทานต่อหลอดเลือดและเพิ่มความดันโลหิตได้
นอกจากนี้การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จะลดประสิทธิภาพของยาลดความดันโลหิต ทำให้ควบคุมความดันโลหิตได้ยาก และเพิ่มความเสี่ยงต่อความดันโลหิตสูง