ลูกสาว 3 ขวบ กลับจาก รร.สะอื้นถาม “ถ้าถูกตีสู้กลับได้มั้ย?” แม่ไม่วีนครู แต่ตอบน่ายกย่อง
ลูกสาว 3 ขวบ กลับจาก รร.สะอื้นถาม “ถูกตีสู้กลับได้ไหม” แม่ไม่วีนครู แถมคำตอบน่ายกย่อง
เว็บไซต์ afamily แชร์เรื่องราวของคุณแม่คนหนึ่งในต่างประเทศ ที่ได้รับเสียงชื่นชมอย่างมากจากโลกออนะไลน์ เมื่อวันหนึ่งลูกสาวกลับมาจากโรงเรียน ร้องไห้สะอึกสะอื้นและถามว่า “หนูสู้กลับได้ไหม ตอนที่หนูถูกทุบตี” และคำตอบของผู้เป็นแม่ก็น่ายกย่องอย่างยิ่ง
ตามรายงานระบุว่า “คุณหลี่” (นามสมมุติ) มีลูกสาววัย 3 ขวบ ซึ่งเพิ่งเริ่มชั้นอนุบาลในปีนี้ วันหนึ่งขณะที่เธอไปรับลูกจากโรงเรียนตามปกติ แต่ลูกสาวกลับน้ำตาไหลทันทีที่เห็นแม่ เธอตกใจมากและรีบเดินเข้าไปถามว่าเกิดอะไรขึ้นกับ หลังจากเกลี้ยกล่อมสักพักลูกจึงสะอื้นถามกลับมาว่า “พรุ่งนี้หนูไม่ไปโรงเรียนได้ไหม?”
ทั้งอาการและคำถามของลูกสาวชัดเจนมากว่ากำลังมีปัญหาในชั้นเรียน ผู้เป็นแม่อดไม่ได้ที่จะแปลกใจ เพราะแม้ลูกจะเพิ่งเริ่มเข้าโรงเรียนเมื่อไม่นานมานี้ แต่เธอก็ปรับตัวได้ค่อนข้างเร็ว ดังนั้น จึงเกลี้ยกล่อมลูกสาวอย่างอ่อนโยนเพื่อถามเหตุผล กระทั่งได้รู้ว่า
“เพื่อนร่วมชั้นมักจะอยากตีหนูตลอด วันนี้เขาเอาของเล่นมาตีหัวหนูด้วย แม่คะ เมื่อหนูโดนตีหนูจะตีกลับได้ไหม?”
คนเป็นแม่ได้ฟังว่าลูกถูกรังแกที่โรงเรียน ย่อมรู้สึกเจ็บปวดมาก จนถึงขณะนี้เธอให้ความสำคัญกับการศึกษาของลูกๆ มาโดยตลอด และสำหรับลูกสาวคนเล็ก ก็มักจะย้ำเตือนก่อนไปโรงเรียนเสมอว่า อย่าขโมยของเล่นหรืออาหารจากเพื่อนๆ แล้วการทะเลาะกันก็ไม่ดี และอย่ารังแกเด็กนักเรียนที่อายุน้อยกว่า อย่างไรก็ตาม เธอไม่เคยคาดคิดว่าวันหนึ่งลูกสาวของเธอจะต้องตกเป็นเหยื่อในชั้นเรียน!
แน่นอนว่าหลังจากเหตุการณ์ในครั้งนี้ คุณหลี่จะต้องสอนลูกสาวถึงวิธีการและทัศนคติที่ดีในการปกป้องตัวเองด้วย แต่ในเวลานี้แม้ว่าจะอยากจะร้องไห้ออกมาแค่ไหน เธอก็พยายามสงบสติอารมณ์ให้ได้ และหลังจากคิดอยู่สักพักจึงให้คำตอบที่น่าชื่นชมว่า
หลังจากแชร์เรื่องราวนี้บนโซเชียลเน็ตเวิร์ก ผู้ปกครองหลายคนก็ให้ความสนใจกับคำตอบของคุณหลี่ แน่นอนว่านี่เป็นคำตอบที่ฉลาดมาก แม่คนนี้อาจยอมรับได้ที่ลูกถูกเพื่อนใช้ความรุนแรง และเธอก็ไม่ยอมรับหากลูกจะไปทุบตีคนอื่นด้วยเช่นกันดังนั้นการขอการสนับสนุนจากผู้ใหญ่จึงเป็นเรื่องสมเหตุสมผล
ในขณะที่เด็กๆ ไปโรงเรียนและมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคม พวกเขาอาจถูกกลั่นแกล้งหรือรังแก พ่อแม่บางคนจะสอนลูกให้อดทนหรือมองข้ามปัญหาอยู่เสมอ ซึ่งไม่ดีเลย ในระยะยาวเด็กจะถูกขัดขวางทางจิตใจ ทำลายความมั่นใจในตนเอง ไม่รู้จะป้องกันตัวเองอย่างไร ตรงกันข้าม พ่อแม่บางคนสอนลูกให้ต่อสู้กับใครก็ตามที่รังแกพวกเขา แต่ความรุนแรงไม่ใช่วิธีที่ดีในการแก้ปัญหา เป็นไปได้มากว่ามันจะเพิ่มความตึงเครียดในความสัมพันธ์ และทำให้เด็กตกอยู่ในความโดดเดี่ยว