เนื้อหาในหมวด ข่าว

ผู้เชี่ยวชาญด้านมะเร็งเตือน! อาหารเช้า 3 ประเภท ที่ควรเลี่ยง แม้หิวก็ไม่ควรกิน

ผู้เชี่ยวชาญด้านมะเร็งเตือน! อาหารเช้า 3 ประเภท ที่ควรเลี่ยง แม้หิวก็ไม่ควรกิน

หมอชาวญี่ปุ่นซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านมะเร็ง เผย อาหารเช้า 3 ประเภทที่ควรเลี่ยง แม้หิวก็ไม่ควรกิน แต่หลายคนยังคงกินทุกวันโดยไม่รู้ตัว

อาหารเช้าหลายชนิดอาจคุ้นเคย แต่ไม่ได้หมายความว่าจะดีต่อสุขภาพเสมอไป

ดร.โนริฮิโระ ซาโตะ ผู้เชี่ยวชาญด้านมะเร็งชื่อดังจากญี่ปุ่น เผยว่า การเลือกอาหารและเครื่องดื่มสำหรับมื้อเช้าอาจส่งผลต่อสุขภาพในระยะยาว บางชนิดได้รับความนิยมแต่กลับถูกจัดอยู่ในกลุ่มเสี่ยงที่อาจเพิ่มโอกาสในการเกิดมะเร็ง

1. อาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตขัดสีสูง

หากต้องการลดความเสี่ยงมะเร็งผ่านการรับประทานอาหาร ควรใส่ใจในการเลือกอาหารหลัก โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ที่มีแป้งเป็นส่วนประกอบหลัก

ศาสตราจารย์โนริฮิโระ ซาโต้ จากคณะเทคโนโลยีการแพทย์ มหาวิทยาลัยเทเคียว ฟุกุโอกะ ประเทศญี่ปุ่น ระบุว่า การบริโภคอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตขัดสีสูง เช่น ขนมปัง ข้าวขาว และบะหมี่ในปริมาณมาก อาจทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดพุ่งสูงอย่างรวดเร็ว

การที่ระดับน้ำตาลในเลือดสูงเป็นเวลานาน ไม่เพียงแค่กระตุ้นการหลั่งอินซูลินมากเกินไป ทำให้เกิดการอักเสบในเซลล์ แต่ยังเพิ่มความเสี่ยงต่อมะเร็งตับอ่อน มะเร็งตับ มะเร็งลำไส้ใหญ่และมะเร็งเต้านมอีกด้วย

นอกจากนี้ งานวิจัยยังพบว่า การให้กลูโคส (น้ำตาล) แก่เซลล์มะเร็งจะช่วยเพิ่มโอกาสในการเจริญเติบโตและกระจายของเซลล์มะเร็ง และผู้ป่วยมะเร็งที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงจะมีอัตราการรอดชีวิตต่ำกว่าคนที่มีน้ำตาลปกติ

ดังนั้นการควบคุมการบริโภคคาร์โบไฮเดรตขัดสีไม่เพียงแต่ช่วยควบคุมน้ำหนัก แต่ยังสามารถลดความเสี่ยงมะเร็งได้ โดยเฉพาะผู้ที่มีพฤติกรรมกินอาหารประเภทขนมปัง ข้าวขาว และบะหมี่ในมื้อเช้า ควรใส่ใจในการควบคุมปริมาณอาหารให้เหมาะสม

2. อาหารแปรรูป

อาหารแปรรูปเป็นที่นิยมสำหรับอาหารเช้า เพราะทำได้รวดเร็วและสะดวกสบาย แต่ในกระบวนการผลิตมักมีการเติมสารเติมแต่งจำนวนมากเพื่อเพิ่มรสชาติและยืดอายุการเก็บรักษา องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้จัดให้มันเป็นสารก่อมะเร็งประเภทที่ 1 ซึ่งหมายความว่า "มีหลักฐานเพียงพอที่แสดงว่าอาจก่อมะเร็งในมนุษย์" เทียบเท่ากับบุหรี่และใยหิน

ดร.โนริฮิโระ ซาโตะ เน้นย้ำว่า แม้การกินอาหารแปรรูปขั้นสูงจะไม่ได้หมายความว่าจะทำให้เกิดมะเร็งทันที แต่ก็ควรหลีกเลี่ยงการบริโภคมากเกินไป หากคุณมีนิสัยกินอาหารประเภทนี้ในมื้อเช้าทุกวัน ควรลดความถี่และเลือกกินอาหารที่มีโปรตีนจากแหล่งธรรมชาติและสดใหม่เพื่อสุขภาพที่ดีขึ้น

3. เครื่องดื่มที่มีน้ำตาลผสมวิปครีม

น้ำสมูทตี้เนื้อเนียนหอมหวานที่โรยด้วยวิปครีมและขนมปังกรอบ หรือของตกแต่งสวยงามมักเป็นเครื่องดื่มยอดนิยมในมื้อเช้า แต่แท้จริงแล้ว เครื่องดื่มเหล่านี้ถือเป็น "กับดักมะเร็ง" ในมุมมองของผู้เชี่ยวชาญ

เครื่องดื่มที่มีน้ำตาลสามารถทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดพุ่งสูงอย่างรวดเร็วและทำให้เกิดโรคอ้วน ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อมะเร็งหลายชนิด การศึกษาที่เผยแพร่ใน BMJ พบว่า การดื่มน้ำตาลเพิ่มขึ้น 100 มล. ต่อวันจะเพิ่มความเสี่ยงมะเร็งโดยรวมถึง 18% และความเสี่ยงมะเร็งเต้านมจะเพิ่มขึ้น 22% องค์การอนามัยโลก (WHO) แนะนำว่า ควรควบคุมปริมาณน้ำตาลในร่างกายให้อยู่ต่ำกว่า 5% ของแคลอรี่ทั้งหมดในแต่ละวัน (ประมาณ 25 กรัม หรือ 6 ช้อนชา) เพื่อสุขภาพที่ดีกว่า

นอกจากนี้ เครื่องดื่มที่มีวิปครีมยังเพิ่มความเสี่ยงต่อสุขภาพ การศึกษากับผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่กว่า 2,000 คนพบว่า ผู้ที่บริโภคผลิตภัณฑ์จากนมไขมันต่ำมีความเสี่ยงในการกลับเป็นมะเร็งน้อยลงถึง 40% ในขณะที่ผู้ที่บริโภคผลิตภัณฑ์จากนมธรรมดามีความเสี่ยงสูงขึ้นถึง 60%

ดร.โนริฮิโระ ซาโต้เชื่อว่า ผลกระทบต่อสุขภาพจากผลิตภัณฑ์นมสามารถแตกต่างกันได้ตามปริมาณไขมันในผลิตภัณฑ์นั้นๆ ดังนั้น ควรหลีกเลี่ยงการบริโภควิปครีมหรือผลิตภัณฑ์นมที่มีไขมันสูง

หลายคนเชื่อว่าการดื่มน้ำผลไม้หรือสมูทตี้ในมื้อเช้าเป็นสิ่งดีต่อสุขภาพ แต่ในความเป็นจริง น้ำตาลฟรุกโตสในผลไม้หากบริโภคมากเกินไปอาจนำไปสู่โรคตับอ่อน โดยเฉพาะสมูทตี้ที่เติมน้ำตาลหรือโยเกิร์ตอาจทำลายเส้นใยในผลไม้ ซึ่งไม่เพียงแต่ทำให้การดูดซึมน้ำตาลเร็วขึ้น แต่ยังทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว กระทบต่อการเก็บสะสมไกลโคเจนในตับและสร้างภาระให้กับตับอีกด้วย

4 สิ่งที่ควรทำเพื่ออาหารเช้าที่ดีต่อสุขภาพ

1. เติมน้ำให้กับร่างกาย

หลังการนอนหลับ ร่างกายจะอยู่ในสภาพขาดน้ำ หากทานอาหารเช้าโดยไม่ดื่มน้ำ อาจทำให้การหลั่งน้ำย่อยไม่เพียงพอ ส่งผลต่อความรู้สึกอยากอาหาร การย่อย และการดูดซึม

ควรดื่มน้ำอุ่นหรือน้ำเกลืออ่อนในปริมาณที่เหมาะสมก่อนมื้อเช้า ซึ่งจะช่วยกระตุ้นกระบวนการเผาผลาญและรักษาความชุ่มชื้นให้กับลำไส้

2. ความหลากหลายของอาหาร

การทานอาหารเช้าเพียงแค่ไม่กี่ชนิดอาจทำให้ร่างกายได้รับสารอาหารไม่ครบถ้วน ส่งผลต่อสุขภาพในระยะยาว มื้อเช้าควรมีความหลากหลาย เช่น ธัญพืช มันฝรั่ง เนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้ และอาหารที่มีโปรตีนในปริมาณที่เหมาะสม เพื่อรองรับความต้องการสารอาหารที่หลากหลายของร่างกาย

3. ปริมาณอาหารที่เหมาะสม

แม้ปริมาณอาหารเช้าของแต่ละคนจะขึ้นอยู่กับขนาดร่างกายและอายุ แต่โดยทั่วไปแล้ว ควรจำกัดแคลอรี่ในมื้อเช้าให้อยู่ที่ต่ำกว่า 500 แคลอรี่

4. กินอาหารให้ตรงเวลา

การกินอาหารในเวลาเดียวกันทุกวันช่วยรักษาระดับการเผาผลาญให้เป็นปกติ ตามที่นาฬิกาชีวิตและระบบย่อยอาหารของร่างกายทำงาน ความอยากอาหารจะมีมากที่สุดระหว่างเวลา 7.00-8.00 น. ถือเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมสำหรับการกินอาหารเช้า

เพื่อให้กระบวนการย่อยและดูดซึมสารอาหารมีประสิทธิภาพ ควรกินอาหารเช้าและอาหารกลางวันห่างกัน 4-5 ชั่วโมง

รู้หรือไม่? มื้อเช้าที่ \

รู้หรือไม่? มื้อเช้าที่ "เจ้าหญิงเคท" ทานแบบเดิมทุกวัน ถูกยกเป็น "ซูเปอร์ฟู้ด" ในราคาไม่แพง!

สื่อต่างชาติเผย อาหารมื้อเช้าที่ "เจ้าหญิงเคท" ทานแบบเดิมแทบทุกวัน ยกเป็น "ซูเปอร์ฟู้ด" ในราคาประชาชนเอื้อมถึง

ไทยมีครบ! แพทย์ NHS แนะให้กิน 5 อาหารเช้า \

ไทยมีครบ! แพทย์ NHS แนะให้กิน 5 อาหารเช้า "เร่งเส้นผม" งอกงาม 1 เดือนเห็นผล

วิธีฟื้นฟูผมบางใน 1 เดือน เคล็ดลับจากแพทย์ และ 5 อาหารเช้าที่ควรทาน เพิ่มธาตุเหล็กและกระตุ้นการเจริญเติบโตของผม