.jpg)
รู้ไว้ดีกว่า! แพทย์แนะ 5 เครื่องดื่มทรงพลัง เลี่ยงตับแข็ง เร่งผลาญไขมัน ห่างโรคไต-เบาหวาน
ดร.ลี แนะนำ 5 เครื่องดื่มทรงพลัง ที่ผู้ป่วยไขมันพอกตับ "ควรดื่ม" เลี่ยงตับแข็ง ลดเสี่ยงโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และโรคไต
รู้หรือไม่... ระดับไขมันในตับที่สูงอาจเพิ่มโอกาสในการเกิดปัญหาสุขภาพที่ร้ายแรง เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงและโรคไต
ดร.วิลเลียม ลี นักวิทยาศาสตร์และผู้อำนวยการฝ่ายการแพทย์ ซึ่งถือเป็นแพทย์ที่มีชื่อเสียงระดับโลก และเป็นที่รู้จักในฐานะผู้นำมูลนิธิ Angiogenesis ได้ให้สัมภาษณ์ถึงเครื่องดื่มพิเศษ 5 ชนิด ที่เขามักแนะนำให้ผู้ที่เป็นโรคไขมันพอกตับดื่มเป็นประจำทุกวัน เพราะจะช่วยขจัดไขมันออกจากตับ ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดตับแข็งและเร่งการเผาผลาญไขมัน
สำหรับประเด็นที่หลายคนสงสัยว่า ทำไมการดูแลตับให้ปราศจากไขมันจึงมีความสำคัญ ดร.ลีอธิบายว่า "ตับมีบทบาทสำคัญในการเผาผลาญไขมันและสุขภาพโดยรวม เมื่อไขมันส่วนเกินที่สะสมในตับ อาจนำไปสู่โรคไขมันพอกตับและขัดขวางการทำงานปกติ ผมจะแบ่งปันเครื่องดื่มทรงพลัง 5 ชนิดที่ช่วยลดไขมันในตับ เสริมสร้างการทำงานของตับ และเร่งการเผาผลาญไขมัน”
เครื่องดื่มทรงพลัง 5 ชนิด ที่ ดร.ลี แนะนำ
ชาเขียว
ดร.ลี กล่าวว่า ชาเขียวช่วยเพิ่มการเผาผลาญไขมันและช่วยให้ตับแข็งแรงด้วยสาร Epigallocatechin gallate ( EGCG) ซึ่งเป็นสารประกอบที่มีประสิทธิภาพที่ช่วยลดการอักเสบ ช่วยลดน้ำหนัก และป้องกันโรคเรื้อรังบางชนิด
ชาเขียวอาจช่วยบรรเทาโรคไขมันพอกตับชนิดไม่มีแอลกอฮอล์ (NAFLD) เนื่องจากมีโพลีฟีนอลที่มีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระและต้านการอักเสบ ซึ่งสามารถช่วยลดความเครียดออกซิเดชัน การอักเสบ และภาวะพังผืดได้ ขณะเดียวกัน ชาเขียวที่มีคาเทชินในปริมาณสูงอาจช่วยปรับปรุงการทำงานของตับและการแทรกซึมของไขมันในผู้ป่วย NAFLD ได้ด้วย
ชาอู่หลง
ดร.ลี อธิบายว่าชาอู่หลงเป็น "เครื่องดื่มพิเศษที่ช่วยในการเผาผลาญไขมันและการทำงานของตับ" เนื่องจากคาเฟอีนในชาอู่หลงอาจเพิ่มการสลายไขมันในเนื้อเยื่อไขมัน ขณะที่สารอื่นๆ ในชาอู่หลงก็ช่วยยับยั้งกิจกรรมของเอนไซม์ไลเปสของตับอ่อนอีกทั้งยังมีสารต้านอนุมูลอิสระที่อาจช่วยลดความเครียดออกซิเดชันและการอักเสบ รวมทั้งอาจช่วยควบคุมจุลินทรีย์ในลำไส้ได้ด้วย
การศึกษาวิจัยโดยหนูทดลอง โดยให้กินอาหารไขมันสูง และดื่มแอลกอฮอล์ พบว่าชาอู่หลงสามารถช่วยเรื่องโรคอ้วนและไขมันพอกตับได้ ทั้งนี้ อย่าลืมว่าปริมาณชาที่ปลอดภัยต่อการดื่มแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล นอกจากนี้ ปัจจัยต่างๆ เช่นสภาพสุขภาพและรูปแบบการใช้ชีวิต ยังส่งผลอย่างมากด้วยเช่นเดียวกัน
น้ำมะเขือเทศ
ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพกล่าวว่า “น้ำมะเขือเทศเป็นเครื่องดื่มที่มีไลโคปีนสูง ซึ่งช่วยลดไขมันในช่องท้องและช่วยเสริมการทำงานของตับ” น้ำมะเขือเทศและมะเขือเทศสด เป็นประโยชน์ต่อผู้ที่ต้องรับมือกับโรคไขมันพอกตับ เนื่องจากมีไลโคปีนในปริมาณมาก
ไลโคปีน เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่มีศักยภาพในการลดตัวบ่งชี้การอักเสบที่เกี่ยวข้องกับโรคอ้วนและกลุ่มอาการเมตาบอลิกนอกจากนี้ น้ำมะเขือเทศยังช่วยเพิ่มการป้องกันสารต้านอนุมูลอิสระของร่างกาย ลดความเครียดออกซิเดชันในเด็กอ้วนที่เป็นโรคไขมันพอกตับชนิดไม่มีแอลกอฮอล์ (NAFLD) และช่วยลดความเสียหายของตับในผู้ป่วยเด็กเหล่านี้
น้ำแตงโม
“เครื่องดื่มที่สดชื่นซึ่งส่งเสริมการเผาผลาญไขมันและสุขภาพของตับ” ดร.ลี กล่าว น้ำแตงโมอาจช่วยดูแลสุขภาพตับได้เนื่องจากมีไลโคปีน ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่อาจปกป้องตับจากความเสียหายจากออกซิเดชันไลโคปีน ซึ่งเป็นเม็ดสีแคโรทีนอยด์ที่ช่วยกำจัดอนุมูลอิสระ
นอกจากนี้ แตงโมยังช่วยให้ตับประมวลผลแอมโมเนียและของเหลวส่วนเกินได้อีกด้วย ซึ่งจะช่วยลดความเครียดของไต ขณะเดียวกัน แตงโมยังอุดมไปด้วยโพแทสเซียม ซึ่งเป็นอิเล็กโทรไลต์จากธรรมชาติ และสามารถควบคุมเส้นประสาทและกล้ามเนื้อได้
กาแฟ
ชื่อของเครื่องดื่มนี้อาจทำให้หลายคนแปลกใจ แต่ ดร.ลี อธิบายว่า “กาแฟช่วยกระตุ้นไขมันสีน้ำตาลเพื่อการเผาผลาญไขมันที่ดีขึ้น” ในกรณีนี้ กาแฟที่ดีที่สุดคือกาแฟดำที่ไม่เติมน้ำตาลหรือนม
แม้ว่างานวิจัยจะแสดงให้เห็นว่าการดื่มกาแฟอาจช่วยลดความเสี่ยงของโรคไขมันพอกตับชนิดไม่มีแอลกอฮอล์ (NAFLD) และชะลอการเติบโตของโรคตับได้ แต่ยังคงต้องมีการศึกษาวิจัยเพิ่มเติม โดยหลักฐานที่พบจนถึงปัจจุบันแสดงให้เห็นว่า การบริโภคกาแฟเกี่ยวข้องกับความเสี่ยงต่อการเกิดพังผืดในตับที่ลดลงในผู้ป่วย NAFLD, ความเสี่ยงที่ลดลงของโรคตับแข็งและมะเร็งเซลล์ตับในผู้ป่วยโรคตับเรื้อรัง, ช่วยลดความรุนแรงของ NAFLD, ช่วยลดอาการอักเสบของโรคไขมันเกาะตับชนิดไม่มีแอลกอฮอล์
โดยทั่วไปการดื่มกาแฟถือว่าปลอดภัย อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญคือต้องปรึกษาแพทย์ หากมีปัญหาเกี่ยวกับตับ หรือเคยได้รับคำแนะนำให้จำกัดการดื่มกาแฟหรือคาเฟอีนเนื่องจากปัญหาสุขภาพอื่นๆ
ดร.ลียังกล่าวอีกว่า น้ำมีคุณสมบัติช่วยกระตุ้นการเผาผลาญ และสนับสนุนการทำงานของตับ การดื่มน้ำช่วยให้เลือดเจือจางลง ซึ่งช่วยให้ตับกรองของเสียได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยขับของเสียออกจากร่างกาย ทำให้ไตและตับทำงานหนักน้อยลง
การศึกษาล่าสุดที่เก็บข้อมูลจากประชากรจำนวนมาก พบว่าการดื่มน้ำเปล่ามากขึ้น เกี่ยวข้องกับความเสี่ยงที่ลดลงของการได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคไขมันพอกตับชนิดไม่มีแอลกอฮอล์ (NAFLD)
เขาเสริมว่า “การนำเครื่องดื่มเหล่านี้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของกิจวัตรประจำวันสามารถช่วยให้ตับแข็งแรงขึ้น ช่วยเผาผลาญไขมัน และปรับปรุงการเผาผลาญอาหาร ไม่ว่าคุณต้องการลดไขมันในตับหรือเร่งการสลายไขมัน เครื่องดื่มเหล่านี้สามารถเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพได้”
ระดับไขมันในตับที่สูงอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพที่ร้ายแรง เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และโรคไตนอกจากนี้ สำหรับผู้ที่เป็นโรคเบาหวานอยู่แล้ว โรคไขมันพอกตับชนิดไม่มีแอลกอฮอล์ (NAFLD) อาจเพิ่มโอกาสในการเกิดปัญหาที่เกี่ยวข้องกับหัวใจได้
- ชายไม่ดื่ม-ไม่สูบ นอนตัวเหลืองรอ "เปลี่ยนตับ" หมอชี้ต้นเหตุ "น้ำโปรด" ที่ไม่ใช่เหล้าเบียร์!
- อเมริกาจัดอันดับ "ผักที่ดีที่สุดในโลก" กลายเป็นของหาง่ายๆ คนไทยคุ้นเคยดี ราคาไม่แพง!