.jpg)
ต่างชาติอวย 4 อาหาร ลดเสี่ยงความดันสูง ฉายา "ฆาตกรเงียบ" เมืองไทยมีให้กินครบ!
เว็บไซต์สุขภาพแนะนำ 4 อาหาร ช่วยลดความเสี่ยง “โรคความดันโลหิตสูง” ฉายาฆาตกรเงียบ
ความดันโลหิต หมายถึงความดันของเลือดในหลอดเลือดแดง ซึ่งเป็นหลอดเลือดที่มีความยืดหยุ่น นำเลือดจากหัวใจไปยังสมองและไปทั่วร่างกาย เมื่อความดันโลหิตสูง หลอดเลือดแดงจะสูญเสียความยืดหยุ่นและอาจแข็งหรือแคบลง ทำให้ไขมันสะสมและทำลายหลอดเลือดแดงได้ง่ายขึ้น
ความดันโลหิตสูงที่ไม่ได้รับการรักษา อาจนำไปสู่อาการหัวใจวาย หรือโรคหลอดเลือดสมอง และภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ เช่นไตวาย หัวใจล้มเหลว หลอดเลือดสมองเสื่อม หรือปัญหาทางสายตา ปัจจัยเสี่ยงต่อความดันโลหิตสูง ได้แก่ อายุ ญาติใกล้ชิดเป็นโรคความดันโลหิตสูง เชื้อชาติ รับประทานอาหารไม่ถูกสุขภาพ น้ำหนักเกิน ดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป และสูบบุหรี่
ปัญหาความดันโลหิตสูง อาจสร้างความกังวลให้กับผู้คนจำนวนมาก เนื่องจากอาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนที่คุกคามชีวิตได้หากไม่ได้รับการรักษา แต่ข่าวดีก็คือ “การกิน” อาจเป็นเครื่องมือสำคัญในการช่วยควบคุมโรค โดยนักวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบว่าอาหารบางประเภท เช่น ผลไม้ ผัก และธัญพืชไม่ขัดสี มีบทบาทสำคัญในการจัดการความดันโลหิตสูง
ตามรายงานของเว็บไซต์เพื่อสุขภาพ Surrey Live ระบุถึงอาหารที่มีคุณสมบัติในการช่วยลดความดันโลหิตสูง ดังนี้
น้ำบีทรูท
มูลนิธิ British Heart Foundation ชี้ว่าน้ำบีทรูทอาจช่วยลดความดันโลหิตได้ เนื่องจากเป็นแหล่งไนเตรตที่มีความเข้มข้นสูง อ้างอิงผลการวิจัยของ Queen Mary University พบว่าผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่ดื่มน้ำบีทรูท 250 มล. ต่อวัน พบว่าระดับความดันโลหิตกลับมาอยู่ในระดับ "ปกติ" เมื่อสิ้นสุดการศึกษา
ทั้งนี้ ไนเตรตยังพบได้ในผลไม้และผักชนิดอื่นๆ เช่น ผักโขม คื่นช่าย คะน้า กล้วย และสตรอว์เบอร์รี่ โดยตามข้อมูลของ BHF แนะนำว่าควรพยายามรับประทานผลไม้และผักให้ได้ 5 ส่วนทุกวัน และควรเลือกสีต่างๆ ที่หลากหลายด้วย
ข้าวกล้อง
ธัญพืชที่ไม่ผ่านการขัดสี เช่น ข้าวกล้อง ขนมปังโฮลวีต และข้าวโอ๊ต มีสารอาหารและไฟเบอร์มากกว่าคาร์โบไฮเดรตแป้งขัดสีเช่น ขนมปังขาว พาสต้า และข้าว ทั้งนี้ ข้าวกล้องยังมีวิตามินบีบางชนิด แมกนีเซียม โพแทสเซียม และธาตุเหล็ก โดยตามข้อมูลของ Harvard Health พบว่าช่วยเพิ่มระดับน้ำตาลในเลือด และช่วยควบคุมน้ำหนักได้
โปรตีนไขมันต่ำ
แหล่งโปรตีนไขมันต่ำ เช่น ไก่ ไก่งวง ปลา ไข่ และถั่ว มีแคลอรี่ต่ำกว่าแหล่งโปรตีนที่มีไขมันสูง แต่ยังคงทำให้รู้สึกอิ่มได้ จึงเป็นอาหารที่ BHF แนะนำให้ทายเพื่อควบคุมน้ำหนัก และช่วยลดความดันโลหิต
ผลิตภัณฑ์นมไขมันต่ำ
การรวมผลิตภัณฑ์จากนมไว้ในอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพและสมดุล อาจช่วยลดความดันโลหิตได้ เนื่องจากผลิตภัณฑ์จากนมมีสารอาหารหลายชนิดรวมกัน รวมถึงแคลเซียม ซึ่งเชื่อมโยงกับการลดความดันโลหิต ดังนั้น ตัวเลือกไขมันต่ำ เช่นนมพร่องมันเนย และโยเกิร์ตธรรมชาติไขมันต่ำ จะช่วยให้ได้รับแคลเซียมและโปรตีนโดยไม่ต้องมีไขมันอิ่มตัวมากเกินไป
- เตือน 2 ผลไม้ "ยิ่งทำให้ปวด" ข้ออักเสบต้องระวัง ไม่ใช่แค่แอปเปิล อีกอย่างน่าแปลกใจ!
- เลี่ยงได้เลี่ยง 3 มื้อเย็น “ทำลายตับ” ไม่น้อยหน้าแอลกอฮอล์ แต่กลับถูกใจใครหลายคน!