เนื้อหาในหมวด ข่าว

เตือนจริงจัง! นักจิตวิทยาย้ำ \

เตือนจริงจัง! นักจิตวิทยาย้ำ "อย่าทำ 4 สิ่งนี้" เพื่อระงับอารมณ์ลูก ไปกดทับความรู้สึกเต็มๆ

สร้างทักษะจัดการอารมณ์เด็กตั้งแต่เล็ก! นักจิตวิทยาเตือน ห้ามทำ 4 สิ่งนี้ หากไม่อยากไปกดทับความรู้สึกลูก

คุณหมอใจดี (心小姐) นักจิตวิทยาการศึกษาและเด็กที่ได้รับการรับรองวิชาชีพ ซึ่งมีชื่อเสียงจากการทำงานทั้งในฮ่องกงและสหราชอาณาจักร เผยว่า หลายครอบครัวไม่รู้ตัวว่ากำลังกดทับความรู้สึกของลูกโดยไม่ตั้งใจ พร้อมแนะนำแนวทาง 3 วิธีจัดการอารมณ์ลูก และ 4 ข้อควรระวังในการสื่อสาร ช่วยให้ลูกเรียนรู้ที่จะเข้าใจและแสดงอารมณ์อย่างเหมาะสม

เพราะพ่อแม่คือกระจกสะท้อนอารมณ์ของลูก การสร้างพื้นฐานที่มั่นคงด้านอารมณ์ของเด็ก เริ่มจากการ "รับฟัง" และ "ยอมรับ" ความรู้สึกของลูกในทุกสถานการณ์ ไม่ว่าจะสุขหรือทุกข์ ลูกควรรู้ว่าพ่อแม่จะอยู่เคียงข้างเสมอ

3 วิธีรับมืออารมณ์ลูกแบบไม่กดทับ

  • พ่อแม่ต้องใจเย็น เป็นแบบอย่างที่ดี เด็กมักเลียนแบบการตอบสนองของผู้ใหญ่ หากพ่อแม่ควบคุมอารมณ์ได้ดี เด็กก็จะเรียนรู้ไปในทิศทางเดียวกัน สิ่งที่ต้องทำคือ หยุดพัก หายใจลึกๆ แล้วพูดกับลูกด้วยน้ำเสียงสงบ
  • เปิดโอกาสให้ลูกได้พูด และยอมรับความรู้สึกเขา เมื่อลูกรู้สึกโกรธหรือเศร้า ควรให้เขาได้แสดงออก ไม่ใช่สั่งให้เงียบหรือเลิกเศร้า สิ่งที่ต้องทำคือ รับฟังความรู้สึกลูกก่อน แล้วค่อยให้คำแนะนำหรือปลอบใจ
  • เคารพความคิดเห็นลูก แนะนำแต่ไม่บังคับ การเปิดโอกาสให้ลูกมีสิทธิ์เลือก จะทำให้เขารู้สึกเป็นเจ้าของอารมณ์และพร้อมร่วมมือ สิ่งที่ต้องทำคือ เสนอทางเลือก เช่น “ลูกอยากนั่งพักในที่เงียบๆ หรืออยากมากอดแม่สักหน่อยดี?”
  • หลีกเลี่ยง 4 พฤติกรรมที่อาจยิ่งกดดันลูก

  •  อย่าด่วนตัดบท แต่ควรสะท้อนความรู้สึกลูกก่อน
    ห้ามพูด: “อย่าร้องไห้เลย เรื่องเล็กนิดเดียว”
    ควรพูด: “แม่เห็นหนูเสียใจนะ แม่อยู่ตรงนี้นะ หนูอยากเล่าให้แม่ฟังไหม?”

  • หลีกเลี่ยงการตั้งคำถามตำหนิ
    ห้ามพูด: “ทำไมต้องโกรธด้วย?”
    ควรพูด: “แม่เข้าใจนะที่ลูกไม่สบายใจ เพราะเพื่อนไม่เล่นด้วยใช่ไหม?”

  • สอนให้ใช้คำพูดแทนพฤติกรรมรุนแรง
    ห้ามพูด: “หยุดโกรธเดี๋ยวนี้!”
    ควรพูด: “ถ้ารู้สึกโกรธ หนูอาจพูดว่า ‘หนูโกรธเพราะ…’ ก็ได้นะ ไม่ต้องกรี๊ดหรือปาข้าวของ”

  • ให้ทางเลือก แทนการสั่ง
    ห้ามพูด: “หยุดเดี๋ยวนี้!”

    ควรพูด: “หนูอยากนั่งพักเงียบๆ หรืออยากให้แม่กอดไว้สักพัก?”

  • 3 กิจกรรมฝึกอารมณ์ลูกในชีวิตประจำวัน

  • ใช้เครื่องมือช่วยมองเห็นอารมณ์ เช่น การ์ดอารมณ์ หรือเทอร์โมมิเตอร์อารมณ์ ให้ถามลูกว่า “ตอนนี้หนูรู้สึกอะไร?” หรือ “หนูโกรธประมาณกี่คะแนนจาก 0-10?”

  • เล่านิทานและเล่นบทบาทสมมติ ให้ชวนลูกคิดว่า “ตัวละครในนิทานเศร้าเพราะอะไร? แล้วเขาทำยังไงให้รู้สึกดีขึ้น?”

  • ตั้งช่วงเวลาแบ่งปันความรู้สึกในครอบครัว เช่น ทุกคืนก่อนนอน ใช้เวลา 10 นาที สลับกันเล่าความรู้สึกดีๆ หรือเรื่องไม่สบายใจในแต่ละวัน

  • เสริมสร้างทักษะการจัดการอารมณ์ และรู้จักตนเอง พ่อแม่สามารถสอนลูกผ่าน 3 ขั้นตอนสำคัญ คือ รู้ตัว (Aware) , ยอมรับ (Accept) , ลงมือทำ (Action) สร้างสภาพแวดล้อมในบ้านที่เต็มไปด้วยความรัก ความเข้าใจ และการเคารพความคิดเห็นลูก ให้พื้นที่และเวลาให้เขาเรียนรู้ที่จะคิดและตัดสินใจด้วยตนเอง นี่คือกุญแจสำคัญสู่การเติบโตอย่างมั่นคงและเป็นตัวของตัวเอง

    แม่ร้องไห้ทั้งคืน เปิดกล้อง รร.อนุบาล เห็นจะๆ ลูกถูกเลือกปฏิบัติ ใครดูก็สงสารเกินบรรยาย

    แม่ร้องไห้ทั้งคืน เปิดกล้อง รร.อนุบาล เห็นจะๆ ลูกถูกเลือกปฏิบัติ ใครดูก็สงสารเกินบรรยาย

    “แม่จ๋า วันนี้ครูไม่ให้หนูกินข้าวเลย” ดูจบน้ำตาไหลทั้งคืน ลูกสาว 3 ขวบถูกครูเพิกเฉย นั่งรออาหารอย่างโดดเดี่ยว ชาวเน็ตเห็นแล้วสงสารเกินบรรยาย

    ลูกสาว 5 ขวบร้องไห้โฮ พนง.โวยเป็น \

    ลูกสาว 5 ขวบร้องไห้โฮ พนง.โวยเป็น "หัวขโมย" จะค้นตัวกลางห้าง แม่ตอบนิ่มๆ รีบสงบปาก!

    แม่ใจเย็น รับมือแทนลูกวัย 5 ขวบถูกหาว่าขโมยของในซูเปอร์ฯ ชาวเน็ตยกเป็น “บทเรียนที่ควรอยู่ในหนังสือเรียน”

    หลาน 6 ขวบมี \

    หลาน 6 ขวบมี "ฟันสองชั้น" แพทย์ยังส่ายหน้า หลังรู้วิธีเลี้ยงแบบ "กลัวสำลัก" ของคุณย่า!

    เด็กหญิงวัย 6 ขวบมี “ฟันสองชั้น” หมอฟันส่ายหน้า หลังรู้สาเหตุจากการเลี้ยงดูแบบ “กลัวสำลักข้าว” ของผู้ใหญ่ในครอบครัว!

    เอ็กซ์เรย์สะพรึง 81 ซี่ในปากเด็ก ไม่ได้มีแค่ฟันแท้-ฟันน้ำนม สะเทือนวงการทันตแพทย์!

    เอ็กซ์เรย์สะพรึง 81 ซี่ในปากเด็ก ไม่ได้มีแค่ฟันแท้-ฟันน้ำนม สะเทือนวงการทันตแพทย์!

    แค่จะถอนฟันน้ำนม! แต่เอกซเรย์พบฟันทั้งหมด 81 ซี่ “ภาวะฟันเกินแบบรุนแรง” ในปากเด็กหญิง 11 ขวบ