เนื้อหาในหมวด ข่าว

หมอชี้วิจัยใหม่ อาหาร 1 อย่างที่ช่วย \

หมอชี้วิจัยใหม่ อาหาร 1 อย่างที่ช่วย "ตัดความเสี่ยง" โรคหัวใจ-เบาหวาน-มะเร็ง ควรกินให้พอ!

กิน “คาร์บดี” ไม่ใช่แค่ไม่อ้วน! หมอย้ำ เส้นใยอาหารช่วยลดมะเร็ง-ดีต่อใจ แต่คนส่วนใหญ่กลับได้ไม่พอ

แม้จะได้ยินกันบ่อยว่า “ควรกินอาหารที่มีไฟเบอร์สูง” แต่ความจริงคือคนอังกฤษส่วนใหญ่ยังเข้าใจผิดหรือไม่รู้เลยว่าไฟเบอร์คืออะไร และควรกินแค่ไหน จากผลสำรวจผู้ใหญ่กว่า 1,000 คนในสหราชอาณาจักร พบว่า คนส่วนใหญ่ได้ไฟเบอร์ไม่ถึง 1 ใน 3 ของปริมาณที่แนะนำต่อวัน ขณะที่เกือบ 2 ใน 3 ตอบผิดแม้แต่คำจำกัดความของไฟเบอร์

ไฟเบอร์ หรือเส้นใยอาหาร เป็นคาร์โบไฮเดรตชนิดหนึ่งที่ร่างกายย่อยไม่ได้ พบได้ในพืช ผัก ผลไม้ ธัญพืช และถั่วต่างๆ จุดเด่นคือช่วยปรับสมดุลระบบย่อยอาหาร ลดน้ำตาลในเลือด และส่งเสริมจุลินทรีย์ดีในลำไส้ แต่ที่น่าตกใจคือ มีคนไม่ถึง 10% ที่ได้รับไฟเบอร์ถึง 30 กรัมต่อวันตามคำแนะนำ!

ดร.จิลล์ เจนกินส์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเบาหวาน เผยว่า เส้นใยอาหารมีบทบาทสำคัญมากกับสุขภาพในระยะยาว ทั้งช่วยควบคุมน้ำตาลในเลือด ลดคลอเลสเตอรอล ทำให้รู้สึกอิ่มนาน และยังช่วยขับสารพิษออกจากร่างกายอีกด้วย หากร่างกายได้รับไฟเบอร์ไม่เพียงพอ อาจเสี่ยงต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เช่น เบาหวานชนิดที่ 2 โรคหัวใจ และมะเร็งลำไส้ ซึ่งข้อมูลจากงานวิจัยหลายแห่งชี้ว่า เพียงแค่เพิ่มไฟเบอร์ในแต่ละวันอีก 10 กรัม ก็สามารถลดความเสี่ยงโรคหัวใจได้ถึง 15% และลดความเสี่ยงมะเร็งลำไส้ได้ถึง 13%

คนส่วนใหญ่ “คิดว่าตัวเองกินพอแล้ว” แต่ข้อมูลจริงกลับไม่ใช่! จากผลสำรวจโดยบริษัท General Mills ผู้ผลิตซีเรียล FibreOne พบว่า 65% ของผู้ตอบแบบสอบถามคิดว่าคนทั่วไปกินไฟเบอร์น้อยเกินไป แต่เมื่อถามถึงตัวเองกลับมีเพียง 45% เท่านั้นที่ยอมรับว่ากินไม่พอ และ 38% คิดว่าตัวเองกินพอแล้ว ทั้งที่ข้อมูลด้านโภชนาการระบุว่า มีคนแค่ 1 ใน 10 เท่านั้นที่ได้ไฟเบอร์ถึงเกณฑ์มาตรฐาน

เคล็ด(ไม่)ลับเพิ่มไฟเบอร์ง่ายๆ ในชีวิตประจำวัน

  • เริ่มต้นวันด้วยธัญพืชโฮลเกรนแทนขนมปังขาว

  • เปลี่ยนข้าวขาวเป็นข้าวกล้องหรือข้าวไรซ์เบอร์รี

  • กินผักผลไม้ทั้งเปลือก เช่น แอปเปิล ลูกแพร์ หรือมันฝรั่งอบทั้งเปลือก

  • เลือกซีเรียลหรือของว่างที่มีไฟเบอร์อย่างน้อย 3 กรัมต่อหน่วยบริโภค

  • จับคู่คาร์โบไฮเดรตกับโปรตีนหรือไขมันดี เช่น ขนมปังโฮลวีตกับอะโวคาโด หรือกล้วยกับเนยถั่ว

  • เดินเบาๆ หลังอาหารประมาณ 10 นาที เพื่อช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด

  • สรุปง่ายๆ ก็คือ ถ้าอยากสุขภาพดีระยะยาว เริ่มได้จากการ “เลือกคาร์บให้เป็น” ทั้ง ดร.เจนกินส์ และนักโภชนาการ ดร.แคร์รี รักซ์ตัน เห็นตรงกันว่า ความท้าทายของเรื่องไฟเบอร์ไม่ใช่แค่คนไม่กิน แต่คือ “คนไม่รู้” ว่าควรกินยังไง แค่ปรับพฤติกรรมการกินนิดเดียว เพิ่มธัญพืช ผัก และผลไม้เข้าไปในมื้ออาหาร ก็สามารถลดความเสี่ยงโรคเรื้อรังได้ในระยะยาว และที่สำคัญที่สุด อย่าลืมอ่านฉลากโภชนาการก่อนซื้อของ เพื่อเลือกผลิตภัณฑ์ที่ให้ไฟเบอร์เพียงพอในแต่ละวันนะคะ

    วิจัยแล้ว! แนะกิน 5 อาหารเช้า \

    วิจัยแล้ว! แนะกิน 5 อาหารเช้า "เป็นมิตร" ต่อผู้ป่วยเบาหวาน-คนไดเอท ไฟเบอร์สูง น้ำตาลต่ำ

    แนะนำเลย! เมนู 5 อาหารเช้าของ "ผู้ป่วยเบาหวาน" อุดมไปด้วยไฟเบอร์ ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ให้เริ่มต้นวันใหม่ได้อย่างดี

    ไทยมีเยอะ! ต่างชาติอวยผัก \

    ไทยมีเยอะ! ต่างชาติอวยผัก "ราชาฤทธิ์ด่าง" คุณค่ายิ่งกว่าเผือก ไฟเบอร์สูงกว่ามันเทศ

    ผักที่ได้ฉายา "ราชาอาหารที่มีฤทธิ์เป็นด่าง" ช่วยขับถ่ายดีและมีคุณค่าทางโภชนาการสูง เหมาะเป็นพิเศษสำหรับผู้ที่อยู่ในวัยกลางคนและผู้สูงอายุ