เนื้อหาในหมวด ข่าว

พฤติกรรม \

พฤติกรรม "ดื่มน้ำ" ที่คิดว่าดี แต่กลับทำร้ายกระเพาะไม่รู้ตัว! หลายคนยังทำอยู่ทุกวัน

หมอเวียดนาม เตือน พฤติกรรม "ดื่มน้ำ" ที่คิดว่าดี แต่กลับทำร้ายกระเพาะโดยไม่รู้ตัว แต่หลายคนยังทำอยู่ทุกวัน

อากาศร้อนจัดแบบนี้ หลายคนพยายามดื่มน้ำให้มากเพื่อบำรุงร่างกายและดูแลสุขภาพ แต่ถ้าดื่มผิดวิธี อาจกลายเป็นโทษต่อกระเพาะโดยไม่รู้ตัว

นพ.ญ.เหงียนเจิ่นญือถวี แพทย์เฉพาะทางจากโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์และเภสัชศาสตร์ โฮจิมินห์ (สาขา 3) ประเทศเวียดนาม เผยว่า หลายคนชอบดื่มน้ำแก้วใหญ่รวดเดียวเวลารู้สึกกระหาย เพราะคิดว่าเป็นวิธีเติมน้ำให้ร่างกายได้ดีที่สุด

แต่จริง ๆ แล้ว การดื่มน้ำปริมาณมากในคราวเดียวอาจทำให้ระบบย่อยอาหารช็อกและทำงานหนักเกินไป วิธีที่ดีกว่าคือ ค่อย ๆ จิบน้ำทีละนิด กระจายตลอดทั้งวัน อย่ารอให้กระหายน้ำแล้วค่อยดื่ม

หมอถวียังแนะนำว่า “ควรจิบน้ำทีละน้อย และดื่มสม่ำเสมอตลอดวัน จะช่วยให้ร่างกายดูดซึมน้ำได้ดีขึ้น ไม่กดดันกระเพาะ และยังช่วยรักษาสมดุลของน้ำในร่างกายได้ตลอดเวลา”

อีกหนึ่งพฤติกรรมผิดที่หลายคนมักทำคือ ดื่มน้ำขณะกินอาหาร หรือดื่มทันทีหลังมื้ออาหารตอนที่กระเพาะยังเต็มอยู่ ซึ่งอาจทำให้น้ำไปเจือจางน้ำย่อยในกระเพาะ ขัดขวางการดูดซึมสารอาหาร และส่งผลเสียต่อกระเพาะในระยะยาว

หมอถวีแนะนำว่า ควรดื่มน้ำหลังอาหารอย่างน้อย 30 นาที เพื่อให้ระบบย่อยอาหารทำงานได้เต็มประสิทธิภาพก่อน

นอกจากนี้ ในช่วงหน้าร้อน หลายคนมักเลือกดื่มน้ำเย็นหรือน้ำใส่น้ำแข็งเพื่อคลายร้อน แต่หมอถวีแนะนำว่า ควรหลีกเลี่ยงพฤติกรรมนี้

ตามศาสตร์แพทย์แผนจีน น้ำมีคุณสมบัติช่วยขับความร้อนและหล่อลื่นร่างกาย การดื่มน้ำอุ่นที่อุณหภูมิประมาณ 20–30 องศาเซลเซียส จะช่วยให้ร่างกายดูดซึมได้ดีขึ้น ลดความเสี่ยงที่อวัยวะภายในจะหดตัวเพราะความเย็น และยังช่วยรักษาสมดุลหยินหยางในร่างกาย โดยเฉพาะในผู้สูงอายุและเด็กเล็กที่ระบบย่อยอาหารยังอ่อนแอ

การดื่มน้ำน้อยเกินไป หรือดื่มผิดวิธี เช่น ดื่มน้ำเย็นจัด หรือลงน้ำทีละมากๆ ในครั้งเดียว อาจส่งผลให้ระบบการย่อยและการดูดซึมของม้ามและกระเพาะ ซึ่งเป็นศูนย์กลางการย่อยอาหารตามศาสตร์จีนทำงานผิดปกติ เกิดอาการเบื่ออาหาร ย่อยไม่ดี ท้องเสีย ท้องผูก หรือร่างกายอ่อนเพลียเรื้อรัง

หมอถวียังฝากข้อแนะนำอีกว่า การดื่มน้ำอุ่นหลังตื่นนอนตอนเช้า ช่วยทดแทนน้ำที่สูญเสียไปขณะนอนหลับ กระตุ้นการทำงานของระบบย่อยอาหาร กระตุ้นการไหลเวียนของเลือด และช่วยปรับสมดุลหยินหยางให้ร่างกาย เป็นการเตรียมพร้อมระบบย่อยอาหารให้ทำงานดีตั้งแต่เช้า

ดื่มน้ำน้อย อันตรายกว่าที่คิด

ตามศาสตร์แพทย์แผนจีน การดื่มน้ำไม่ใช่แค่ช่วยดับกระหาย แต่ยังช่วยบำรุงอวัยวะภายใน รักษาสมดุลหยินหยาง และปกป้องสารน้ำสำคัญที่ได้จากอาหารและเครื่องดื่ม ซึ่งช่วยหล่อเลี้ยงร่างกาย ทำให้เย็นสบายและชุ่มชื้น หากดื่มน้ำไม่เพียงพอ ร่างกายอาจเกิดความผิดปกติต่างๆ เช่น

  • การสูญเสียน้ำในร่างกาย: ทำให้คอแห้ง กระหายน้ำตลอดเวลา ร้อนใน มีแผลร้อนใน วิงเวียนศีรษะ และเสี่ยงเป็นลมแดดง่าย
  • ความร้อนสะสมในร่างกาย: ขาดสารน้ำ ยิ่งช่วงอากาศร้อนจัด อาจทำให้เกิดความร้อนชื้นสะสม เสี่ยงเป็นไข้ ปวดหัว เป็นลมแดด หรือรุนแรงถึงขั้นลมแดดจนช็อก
  • ความร้อนในร่างกายพุ่งสูง: ดื่มน้ำน้อย ทำให้เลือดและพลังหยินหล่อเลี้ยงหัวใจไม่พอ ส่งผลให้นอนไม่หลับ ฝันร้าย ใจสั่น วิตกกังวล หงุดหงิดง่าย

ผู้เชี่ยวชาญเตือนว่า อย่ามองข้ามความสำคัญของการดื่มน้ำ เพราะแม้จะเป็นเรื่องเล็กๆ แต่ถ้าทำผิดวิธีหรือดื่มไม่พอ อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพในระยะยาว โดยเฉพาะช่วงหน้าร้อนนี้

หญิงดื่มน้ำผลไม้ 1 ชนิด ดีท็อกซ์ลำไส้ใหญ่ สุดท้าย \

หญิงดื่มน้ำผลไม้ 1 ชนิด ดีท็อกซ์ลำไส้ใหญ่ สุดท้าย "ไส้เน่า" ต้องตัดทิ้ง

หญิงดีท็อกซ์ลำไส้ใหญ่ ด้วยน้ำผลไม้ 1 ชนิด ที่ดูไม่น่ามีอันตราย สุดท้าย "ไส้เน่าตาย" ต้องผ่าตัดฉุกเฉิน

กูรูไต้หวันเตือน เลี่ยงดื่ม \

กูรูไต้หวันเตือน เลี่ยงดื่ม "น้ำเปล่า" 4 ประเภท เต็มไปด้วยแบคทีเรีย คนไทยทำทุกข้อ

นักโภชนาการเตือนว่า แม้จะดื่มน้ำมากขึ้นในหน้าร้อน แต่ก็ควรเป็นน้ำที่ปลอดภัย และน้ำ 4 ประเภทต่อไปนี้ควรหลีกเลี่ยง

\

"หัวใจล้มเหลว" ยอดตายพุ่ง หมอเตือน 4 นิสัย ยากแค่ไหนก็ต้องเลิก ไม่ใช่แค่นั่งนาน-ดื่มน้ำเร็ว!

อัตราการเสียชีวิตจากภาวะหัวใจล้มเหลวเพิ่มสูง แพทย์เตือน 4 พฤติกรรมเสี่ยง จะยากแค่ไหนก็ต้องเลิก!!!

หญิงสุขภาพดี ดื่ม \

หญิงสุขภาพดี ดื่ม "น้ำมะนาว" 6 ลูกทุกเช้า เพื่อดีท็อกซ์ร่างกาย แค่ 1 เดือนรู้เรื่อง

สาวดื่ม "น้ำมะนาว" 6 ลูกทุกเช้า เพื่อล้างพิษในร่างกาย ได้บทเรียนราคาแพง จากการหลงเชื่อคำแนะนำบนโซเชียลมีเดีย