
สาววัย 24 เพิ่งเรียนจบ ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย เผย 2 พฤติกรรมการกินที่ใครๆ ก็ทำ
สาววัย 24 ป่วยมะเร็งกระเพาะอาหารระยะสุดท้าย เผย 2 พฤติกรรมการกิน ที่ใครๆ ก็ทำ กลายเป็นสะพานสู่โรคร้ายไม่รู้ตัว
สื่อจีนรายงานกรณีชวนสะเทือนใจของหญิงสาววัยเพียง 24 ปีจากเมืองเจิ้งโจว มณฑลเหอหนาน ซึ่งเพิ่งเรียนจบมหาวิทยาลัย แต่กลับถูกวินิจฉัยว่าเป็น มะเร็งกระเพาะอาหารระยะสุดท้าย โดยแพทย์เชื่อว่าเกิดจากพฤติกรรมการกินที่ไม่เหมาะสมเป็นเวลานานหลายปี
อาหารข้างทางและพฤติกรรมการกินผิดเวลา
ข้อมูลระบุว่า ขณะเรียนอยู่มหาวิทยาลัย หญิงสาวรายนี้มีนิสัยกินอาหารเสียบไม้รสเผ็ดร้อนที่ขายหน้ามหาวิทยาลัย แทบทุกวัน และมักไม่รับประทานอาหารเย็นอย่างสม่ำเสมอ พฤติกรรมดังกล่าวทำให้เยื่อบุกระเพาะของเธอถูกทำลายซ้ำซาก จนนำไปสู่ภาวะโรคร้าย
แพทย์ผู้ดูแลอธิบายว่า ปัจจุบันมีคนวัยหนุ่มสาวจำนวนมากที่มองข้ามการดูแลสุขภาพ ด้วยการอดนอน กินอาหารรสจัด อาหารขยะ หรือของทอดเป็นประจำ ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้ค่อยๆ บั่นทอนระบบย่อยอาหารโดยไม่รู้ตัว
แพทย์ยังเตือนว่า มะเร็งกระเพาะในระยะแรกมักไม่มีอาการชัดเจน อาการเริ่มต้นอาจคล้ายโรคกระเพาะหรือกรดไหลย้อน เช่น จุกเสียด อาเจียน เบื่ออาหาร แต่เมื่อโรคลุกลาม จะเริ่มมีอาการชัดเจน เช่น น้ำหนักลดเร็ว อ่อนเพลีย และซีดเซียว
ปัจจัยเสี่ยงสำคัญอื่นๆ
นอกจากอาหารรสจัด ยังมีปัจจัยเสี่ยงอื่นที่ทำร้ายกระเพาะ เช่น
-
การสูบบุหรี่: ควันบุหรี่กระตุ้นเยื่อบุกระเพาะ ทำให้หลอดเลือดหดตัว เกิดการขาดออกซิเจน
-
การดื่มแอลกอฮอล์: ดื่มหนักหรือบ่อย ทำลายกลไกป้องกันกระเพาะ เกิดเลือดคั่ง บวม หรือแม้แต่เลือดออก
-
เชื้อแบคทีเรีย H. pylori: พบในอาหารไม่สะอาด หรือแพร่ผ่านน้ำลาย
-
การใช้ยาแก้ปวด/สเตียรอยด์เรื้อรัง: เช่น แอสไพริน หรือเดกซาเมทาโซน อาจระคายเคืองผนังกระเพาะ
พฤติกรรมการกินที่ดูเหมือนไม่มีพิษภัย แต่เสี่ยง
-
กินข้าวคลุกน้ำซุป (ไม่เคี้ยวละเอียด) เพิ่มภาระระบบย่อย
-
กินของเผ็ดจัด มันมาก ทำให้ เยื่อบุกระเพาะบวม อักเสบ
-
เดินไปกินไป หรือดูมือถือขณะกิน การไหลเวียนเลือดไปยังกระเพาะไม่เพียงพอ
ข้อแนะนำจากแพทย์
“การใช้เวลาเคี้ยวอาหารช้าๆ อย่างตั้งใจ และไม่ทำกิจกรรมอื่นระหว่างกิน เป็นวิธีดูแลระบบย่อยอาหารที่ดีที่สุด ไม่ว่าอายุเท่าไหร่ก็ตาม”