เนื้อหาในหมวด สุขภาพ

วิจัยชี้ เข้านอน-ตื่นนอนเร็วขึ้น 1 ชม. ลด \

วิจัยชี้ เข้านอน-ตื่นนอนเร็วขึ้น 1 ชม. ลด "ซึมเศร้า" ได้

มีคำกล่าวที่ว่า หากนอนเร็ว ตื่นเร็ว จะส่งผลดีต่อสุขภาพอย่างมาก ไม่ใช่แค่ความเชื่ออีกต่อไป เมื่อมีงานวิจัยตีพิมพ์ในวันที่ 26 พฤษภาคม 2021 ผ่าน JAMA Psychiatry ที่สนับสนุนความคิดในเรื่องนี้ว่า การตื่นนอนให้เร็วกว่าเวลาปกติ 1 ชั่วโมง โดยไม่ทำให้ร่างกายมีเวลานอนหลับน้อยลงจนทำให้นอนหลับไม่เพียงพอ จะช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นโรคซึมเศร้าได้

นักวิจัยวิเคราะห์ข้อมูลจากคนเชื้อสายยุโรปจำนวน 840,000 คนเพื่อมองหาสิ่งที่มีเหมือนกัน ที่มีอิทธิพลต่อเวลาในการใช้ชีวิต รวมไปถึงลักษณะการเข้านอนของคนแต่ละคน เพื่อเก็บข้อมูลเวลาเข้านอน และตื่นนอนของแต่ละคนมาเปรียบเทียบกัน จากนั้นจึงเริ่มเก็บข้อมูลผู้ที่เคยได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคซึมเศร้าอีกต่อหนึ่ง

เมื่อเริ่มเก็บข้อมูลจริงจัง พบว่ากลุ่มคนที่มีพฤติกรรมในการตื่นนอนเร็วขึ้นมากกว่าเดิม 1 ชั่วโมงในตอนเช้า มีความเสี่ยงต่อโรคซึมเศร้าน้อยกว่า 23% ของกลุ่มคนที่ตื่นนอนตามเวลาเดิมหรือนานกว่านั้น

ผลงานวิจัยยังมีผลในทำนองเดียวกันกับงานศึกษาเล็กๆ ที่แสดงให้เห็นถึงระดับคะแนนของอาการโรคซึมเศร้าที่ดีขึ้นในกลุ่มคนที่เปลี่ยนเวลาเข้านอนและตื่นนอนให้เร็วกว่าเดิม 1 ชั่วโมงอีกด้วย

ตื่นกลางดึกไม่ควรดูนาฬิกาจริงไหม? ไขข้อสงสัยที่ส่งผลต่อวงจรการนอน

ตื่นกลางดึกไม่ควรดูนาฬิกาจริงไหม? ไขข้อสงสัยที่ส่งผลต่อวงจรการนอน

หลายคนตื่นกลางดึก แล้วรีบดูนาฬิกา แต่รู้หรือไม่ว่าพฤติกรรมนี้อาจทำให้คุณนอนหลับยากขึ้นและรบกวนสมองมากกว่าที่คิด

ทำไมถึงปวดหัวหลังตื่นนอน เช็กสาเหตุพร้อมวิธีแก้

ทำไมถึงปวดหัวหลังตื่นนอน เช็กสาเหตุพร้อมวิธีแก้

ตื่นมาแล้วปวดหัวบ่อย สาเหตุอาจมาจากท่านอน ภาวะขาดน้ำ หรือโรคประจำตัว เรียนรู้วิธีแก้ปวดหัวด้วยวิธีง่ายๆ เพื่อเริ่มวันใหม่อย่างสดชื่น