เนื้อหาในหมวด ข่าว

4 องค์กรเผยผลวิจัย จับสัญญาณอนาคต “สุขภาพจิตสังคมไทย” ในอีก 10 ปีข้างหน้า

4 องค์กรเผยผลวิจัย จับสัญญาณอนาคต “สุขภาพจิตสังคมไทย” ในอีก 10 ปีข้างหน้า

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA กระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (ETDA) และศูนย์วิจัยอนาคตศึกษาฟิวเจอร์เทลส์ แล็บ โดยบริษัท แมกโนเลีย ควอลิตี้ ดีเวล็อปเม้นต์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (FutureTales Lab by MQDC) เผยผลวิจัยเรื่อง “อนาคตสุขภาพจิตสังคมไทย พ.ศ. 2576 (Futures of Mental Health in Thailand 2033)” เพื่อนำเสนอองค์ความรู้ด้านสุขภาพจิตและข้อเสนอแนะสำหรับการพัฒนาระบบการดูแลสุขภาพจิตของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง 

แพทย์หญิงอัมพร เบญจพลพิทักษ์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า ความเปลี่ยนแปลงทางสังคมสร้างความยากลำบากให้กับการใช้ชีวิต ประกอบกับค่านิยมของสังคมไทยที่มีการตีตราผู้มีปัญหาด้านสุขภาพจิตอยู่มาก ความตระหนักเกี่ยวกับเรื่องสุขภาพจิตยังมีน้อย ทำให้การสร้างเสริมสุขภาพจิตของคนยังไม่ได้ความสนใจเท่าที่ควร เช่นเดียวกับคนไทยยังขาดความรู้เรื่องสุขภาพจิต ทั้งต่อตัวเอง ครอบครัว และสังคมรอบข้าง จึงนำไปสู่การละเลย เพิกเฉย และปฏิเสธการเข้ารับบริการสุขภาพจิต ซึ่งสถานการณ์ดังกล่าวสอดคล้องกับแนวโน้มปัญหาด้านสุขภาพจิตใจประเทศไทยที่เพิ่มมากขึ้น อีกทั้งการเปลี่ยนแปลงทางสังคมต่าง ๆ ก็ทำให้เกิดปัญหาสุขภาพจิตที่หลากหลาย ทั่งความเครียด การเกิดโรคซึมเศร้า ภาวะหมดไฟ และบางกรณีก็นำไปสู่การสูญเสียจากการทำร้ายตัวเอง 

แพทย์หญิงอัมพร เบญจพลพิทักษ์

ผลสำรวจของ Mental Health Check In ในปี พ.ศ. 2565 จากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลจำนวน 1,149,231 ราย พบว่า มีเสี่ยงซึมเศร้า 5.47 ภาวะหมดไฟ 4.59 และมีความเครียดสูงร้อยละ 4.37 ซึ่งประเด็นเรื่องสุขภาพจิตเป็นความท้าทายที่ทุกคนและทุกภาคส่วนต้องให้ความสำคัญ ทั้งต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน หากขาดความเข้าใจโดยละเอียด สังคมไทยอาจจะต้องเผชิญกับผลกระทบด้านสุขภาพจิตอย่างรุนแรงในอนาคต การศึกษาวิจัยด้านสุขภาพจิตจึงมีความสำคัญอย่างมาก ที่จะทำให้การทำงาน การวางแผนร่วมกันของภาครัฐและภาคเอกชนเป็นไปได้อย่างถูกทิศทาง และนำไปสู่การจัดลำดับความสำคัญของประเด็นสุขภาพจิตของสังคมไทย 

ดร.พันธุ์อาจ ชัยรัตน์

ดร.พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA ระบุว่า สถาบันการมองอนาคตนวัตกรรม หรือ IFI ภายใต้ NIA ส่งเสริมและสนับสนุนการนำการมองอนาคตมาใช้ในการติดตามแนวโน้มความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และวิถีชีวิต ซึ่งแนวโน้มความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิตมากขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี แต่การเข้าถึงบริการด้านสุขภาพจิตยังไม่ครอบคลุมมากนัก อีกทั้งการก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ พบว่าปัญหาสุขภาพจิตในผู้สูงอายุและปัญหาความขัดแย้งอันเกิดจากช่องว่างระหว่างวัยกลับไม่สามารถแก้ไขหรือป้องกันได้ การนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาประยุกต์ใช้จึงสามารถช่วยยกระดับสุขภาวะของคนไทยได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งปัจจุบันก็มีสตาร์ทอัพไทยหลายเจ้าที่นำเสนอบริการนวัตกรรมเพื่อตอบโจทย์ทางด้านสุขภาพจิตหลากหลายรูปแบบ เช่น การจัดทำหลักสูตรสอนการฟังเชิงลึก การทำแอปพลิเคชันที่นำเสนอกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพจิตรูปแบบต่าง ๆ และแชทบอทที่ช่วยเก็บข้อมูลไปวิเคราะห์ความเสี่ยงอาการซึมเศร้า เป็นต้น 

ดร.ชัยชนะ มิตรพันธ์

ด้าน ดร.ชัยชนะ มิตรพันธ์ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (ETDA) ชี้ว่า ศูนย์คาดการณ์อนาคตโดย ETDA ทำหน้าที่เสมือนถังความคิด (think tank) ในการติดตามสัญญาณและแนวโน้มในอนาคต เกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ นำไปสู่การหาปัจจัยขับเคลื่อน สู่การจัดทำเป็นภาพฉายอนาคต ต่อยอดการจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย ซึ่งความร่วมมือในการศึกษา “อนาคตสุขภาพจิตสังคมไทย พ.ศ.2576” ในครั้งนี้ จะเป็นก้าวสำคัญที่หน่วยงานภาครัฐและเอกชนได้มาร่วมศึกษาจัดทำข้อมูล สู่การคาดการณ์อนาคตของสุขภาพจิตของคนไทย ว่ามิติไหนที่ต้องจับตาหรือให้ความสำคัญ​ ซึ่งจากการศึกษาพบว่า ปัจจุบันเทคโนโลยีได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันของผู้คนในสังคมไทย ซึ่งสอดคล้องกับสุขภาพจิตคือ เรื่องความพร้อมในการก้าวสู่สังคมดิจิทัล ซึ่งคนไทยส่วนใหญ่มีความพร้อมและใช้งานโซเชียลมีเดียเป็นอันดับต้น ๆ ของโลก แต่ในแง่ของการรู้เท่าทันกลับพบว่ามีไม่มากนัก ซึ่งนี่เป็นโจทย์สำคัญที่ประเทศและ ETDA ต้องเดินหน้าจัดการ ควบคู่ไปกับการสร้างภูมิคุ้มกันในโลกดิจิทัลให้กับคนไทย 

ดร.การตี เลียวไพโรจน์

ขณะที่ ดร.การตี เลียวไพโรจน์ ผู้อำนวยการบริการ ศูนย์วิจัยอนาคตศึกษาฟิวเจอร์เทลส์ แล็บ โดบบริษัท แมกโนเลีย ควอลิตี้ ดีเวล็อปเม้นต์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (FutureTales Lab by MQDC) กล่าวว่า คนทั่วโลกเฉลี่ยมีโรคทางด้านสุขภาพจิตถึง ร้อยละ 36 สูงกว่าโรคมะเร็ง (ร้อยละ 34) ยิ่งไปกว่านั้นยังให้ความสำคัญกับปัญหาสุขภาพสุขภาพใจพอกับสุขภาพกายเฉลี่ยถึง ร้อยละ 76 และล่าสุดทาง UN ได้ออกมาประกาศให้ ร้อยละ 80 ของประเทศในเครือข่ายทั่วโลก นำการดูแลสุขภาพจิตเป็นการดูแลสุขภาพขั้นพื้นฐานภายใจปี พ.ศ.2573 และเมื่อมองดูประเทศไทย ร้อยละ 80.6 ของคนเมือง มีปัญหาสุขภาพจิตที่เพิ่มสูงขึ้น และมากกว่าผู้อาศัยในเขตชนบทเกือบครึ่ง (ร้อยละ 48.9) ชี้ให้เห็นว่าการจะทำให้คนที่อาศัยในเมืองมีสุขภาวะที่ดี เราต้องเข้าใจและดูแลสุขภาพจิตให้เตรียมพร้อมกับหลากเหตุการณ์ 

สำหรับความร่วมมือกับทุกหน่วยงานมีเป้าหมายหลักเพื่อร่วมกันรับมือ ป้องกัน และส่งเสริมสุขภาวะทางจิตของคนไทยในอนาคต ซึ่งมุ่งเน้นนำเสนอประเด็นปัญหาสำคัญ สถานการณ์ปัจจุบัน สัญญาณการเปลี่ยนแปลง ปัจจัยขับเคลื่อนสำคัญ ภาพอนาคต และข้อเสนอเชิงนโยบายสำหรับการพัฒนาระบบการดูแลสุขภาพจิตของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง พร้อมกับการเผยแพร่องค์ความรู้ออกสู่สาธารณะ ทั้งในมิติสังคม เทคโนโลยี เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม กฎหมาย นโยบาย และค่านิยม รวมถึงการออกแบบอนาคตที่พึงประสงค์ต่อการดูแลสุขภาพจิตของประเทศไทยในอนาคตร่วมกัน ทั้งนี้ ภายในงานจะมีการสรุปเนื้อหางานวิจัย และเสวนาในหัวข้อ “FUTURES OF MENTAL HEALTH IN THAILAND 2023” เปิดเผยงานวิจัยด้านสุขภาพจิตและฉากทัศน์ในอนาคตเพื่อเปิดมุมมองใหม่ที่กว้างขึ้นและเกี่ยวข้องกับการดูแล รักษา ป้องกันด้านสุขภาพจิต รวมไปถึงการอัพเดทเทรนด์นวัตกรรมและเทคโนโลยีที่สามารถยกระดับอนาคตสุขภาพจิตของคนไทยได้

ครอบครัวเศร้า หญิงอาบน้ำนาน 6 ชม. ไม่พักกินข้าว หมอเปิด \

ครอบครัวเศร้า หญิงอาบน้ำนาน 6 ชม. ไม่พักกินข้าว หมอเปิด "ปมในใจ" สิ่งที่กลัวมาตลอด

ครอบครัวไม่สบายใจ หญิงอาบน้ำนาน 6 ชม. โดยไม่พักกินอะไรเลย พาไปหาหมอถึงเจอต้นเหตุ "ปมในใจ" รู้สึกไม่สะอาดตลอดเวลา

รู้จัก \

รู้จัก "โรคหลงตัวเอง" ปัญหาสุขภาพจิตร้ายๆ ที่อาจทำลายความสัมพันธ์กับคนข้างตัว

ทำความรู้จัก “โรคหลงตัวเอง” (Narcissistic Personality Disorder) โรคบุคลิกภาพผิดปกติชนิดหนึ่ง ที่ผู้ป่วยมักจะยึดตัวเองเป็นศูนย์กลางและรักการถูกชื่นชม ทว่า กลับเป็นปัญหาสุขภาพจิตที่อาจส่งผลต่อความสัมพันธ์ทางลบกับคนรอบข้างอย่างรุนแรง

ปัญหาสุขภาพจิตในนักศึกษาแพทย์ หลัง นศ.แพทย์ดิ่งตึก รพ.สุรินทร์ เสียชีวิต

ปัญหาสุขภาพจิตในนักศึกษาแพทย์ หลัง นศ.แพทย์ดิ่งตึก รพ.สุรินทร์ เสียชีวิต

นักศึกษาแพทย์ปี 6 กระโดดชั้น 9 จบชีวิต ทิ้งจดหมายขอโทษพ่อแม่ที่ทำไม่สำเร็จ พยายามเต็มที่สุดความสามารถแล้ว ด้านโรงพยาบาลสุรินทร์ออกแถลงการณ์แสดงความเสียใจ ขณะ “หมอชลน่าน” เร่งหารือป้องกันเกิดเหตุซ้ำ

จาก “เด็ก 14 กราดยิง” ถึงเวลาที่ผู้ใหญ่ต้องให้ความสำคัญกับ “สุขภาพจิต” ของเด็กหรือยัง

จาก “เด็ก 14 กราดยิง” ถึงเวลาที่ผู้ใหญ่ต้องให้ความสำคัญกับ “สุขภาพจิต” ของเด็กหรือยัง

เปิดสถิติ “ปัญหาสุขภาพจิต” ของเด็กไทยที่อาจถูกผู้ใหญ่มองข้าม และตัวเลข “จิตแพทย์เด็ก” ผู้จะเข้ามาช่วยเหลือเยาวชน ที่อาจมีน้อยเกินไป ไม่เพียงพอต่อความต้องการของเด็ก

ถอดบทเรียน (อีกครั้ง) เหตุการณ์กราดยิงพารากอน

ถอดบทเรียน (อีกครั้ง) เหตุการณ์กราดยิงพารากอน

ถอดบทเรียนเหตุกราดยิงพารากอนที่สร้างความสะเทือนใจให้กับคนในสังคม ถือเป็นการกลับมาถอดบทเรียนอีกครั้งของสังคม ที่หวังว่าจะทำให้มีความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น