เนื้อหาในหมวด ข่าว

คนที่นอนหลับ \

คนที่นอนหลับ "เปิดหรือปิดไฟ" แบบไหนเสี่ยงน้ำตาลพุ่ง โรคหัวใจ-เบาหวาน มาเยือนถึงเตียง!

หมอเผยงานวิจัย เตือนคนชอบ "นอนเปิดไฟ" น้ำตาลในเลือดแปรปรวนไม่รู้ตัว พาโรคมาเยือนถึงเตียง

หลายคนอาจมีนิสัยชอบนอนเปิดไฟ เพราะรู้สึกปลอดภัยหรือช่วยให้หลับง่ายขึ้น แต่ผลการศึกษาล่าสุดชี้ว่า พฤติกรรมนี้อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพมากกว่าที่คิด โดยเฉพาะในเรื่องระดับน้ำตาลในเลือดและโรคเบาหวาน

งานวิจัยขนาดใหญ่จากจีนเผยผลน่ากังวล โดยทีมนักวิจัยโรงพยาบาล Ruijin สังกัดมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยการขนส่งเซี่ยงไฮ้ (Shanghai Jiao Tong University) ประเทศจีน ได้ทำการศึกษากับกลุ่มตัวอย่างขนาดใหญ่ถึง 100,000 คน ซึ่งมีอายุเฉลี่ยราว 42.7 ปี และมีสัดส่วนเพศหญิงเกือบครึ่งหนึ่ง (49.2%)

ผลการวิเคราะห์ชี้ว่า มีผู้ใหญ่กว่า 9 ล้านคนในจีน ที่อาจเผชิญกับความเสี่ยงในการเป็นเบาหวานจากพฤติกรรมการนอนในสภาพแวดล้อมที่มีแสงสว่างในตอนกลางคืน โดยเฉพาะแสงจากอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น โทรศัพท์ ทีวี หรือแสงไฟในห้อง

แม้การศึกษาอาจยังไม่สามารถระบุชนิดของแหล่งแสงที่ชัดเจนได้ แต่ด้วยขนาดกลุ่มตัวอย่างที่ใหญ่ การค้นพบนี้จึงถือว่า “มีน้ำหนักและควรให้ความสนใจอย่างจริงจัง”

แสงไฟตอนกลางคืนส่งผลต่อระบบการทำงานของร่างกายอย่างไร?

อีกงานวิจัยจากมหาวิทยาลัย Northwestern สหรัฐอเมริกา ซึ่งตีพิมพ์ในวารสาร Proceedings of the National Academy of Sciences (PNAS) ได้ทดลองให้กลุ่มคนวัยหนุ่มสาว 20 คน แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มหนึ่งนอนในห้องแสงสลัวคืนแรก และคืนต่อมาให้นอนภายใต้แสงไฟจากเพดาน อีกกลุ่มนอนในสภาพแสงสลัวทั้งสองคืน

ผลลัพธ์พบว่า กลุ่มที่นอนภายใต้แสงไฟสว่างมี ภาวะดื้อต่ออินซูลินเพิ่มขึ้น และมีอัตราการเต้นของหัวใจสูงกว่าปกติ ซึ่งทั้งสองปัจจัยนี้เกี่ยวข้องกับความเสี่ยงในการเป็นเบาหวานและโรคหัวใจ

นอกจากนี้ งานวิจัยจากปี 2019 ยังพบว่า ผู้หญิงที่นอนในห้องที่มีแสงจากทีวี หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ มีแนวโน้มน้ำหนักขึ้นและเสี่ยงโรคอ้วน มากกว่าผู้ที่นอนในความมืด ซึ่งเป็นปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับโรคเบาหวานและโรคหัวใจโดยตรง

ดังนั้น แนะนำให้ลดแสงรบกวนในช่วงเวลานอน เพื่อสุขภาพการนอนที่ดี โดยจัดวางเตียงให้ห่างจากหน้าต่าง และใช้ผ้าม่านทึบแสง หรือใช้ผ้าปิดตาหากยังมีแสงรบกวน

หลีกเลี่ยงการใช้โทรศัพท์ ทีวี หรือแล็ปท็อปก่อนนอน หรือตั้งเวลาให้ทีวีปิดอัตโนมัติ หากต้องดูทีวีก่อนนอน ปรับระดับแสงในบ้านให้ลดลงก่อนเข้านอน 2-3 ชั่วโมง หากจำเป็นต้องเปิดไฟ ควรใช้แสงสีแดงหรือแสงนวล และวางไว้ใกล้พื้น

รวมทั้งเคล็ดลับเพิ่มคุณภาพการนอนหลับแบบธรรมชาติ โดยควบคุมอุณหภูมิห้องให้เหมาะสม คือประมาณ 15.6–19.4 องศาเซลเซียส เพื่อช่วยให้ร่างกายเข้าสู่สภาวะพักผ่อนได้ดียิ่งขึ้น

และควรอาบน้ำอุ่นก่อนนอน เพื่อช่วยปรับอุณหภูมิร่างกายให้พร้อมหลับลึก รวมทั้งฝึกเทคนิคการหายใจ 4-7-8 คือหายใจเข้า 4 วินาที กลั้นหายใจ 7 วินาที หายใจออก 8 วินาที ทำซ้ำ 3-4 รอบเพื่อช่วยให้จิตใจสงบและนอนหลับง่ายขึ้น

แม้การนอนหลับในสภาพแวดล้อมที่มีแสงสว่าง อาจดูเหมือนเรื่องเล็กน้อย แต่ผลกระทบต่อระดับน้ำตาลในเลือดและสุขภาพหัวใจนั้นไม่น้อยเลย หากอยากมีสุขภาพดีระยะยาว อย่าลืม "ปิดไฟก่อนนอน" ให้กลายเป็นนิสัยติดตัว

รู้หรือไม่? มีประจำเดือนก่อนอายุ 10 ปี หรือหลัง 15 ปี ทำนายอนาคตสุขภาพได้ด้วย

รู้หรือไม่? มีประจำเดือนก่อนอายุ 10 ปี หรือหลัง 15 ปี ทำนายอนาคตสุขภาพได้ด้วย

งานวิจัยใหม่ เผย มีประจำเดือนก่อนอายุ 10 ปี หรือหลัง 15 ปี ส่งผลต่อสุขภาพระยะยาว ทั้งน้ำหนักเกิน ไปจนถึงโรคหัวใจ

หนุ่มวัย 36 น้ำตาตก \

หนุ่มวัย 36 น้ำตาตก "ไตวาย" เพราะดื่มสิ่งนี้แทนน้ำเปล่า คิดว่าดีต่อสุขภาพ แต่ทำร่างพัง

ป่วยไตวายตอนอายุ 36! ชายหนุ่มเผยความเสียใจ “เพราะดื่มสิ่งนี้แทนน้ำเปล่า คิดว่าดีต่อสุขภาพ แต่สุดท้ายพังทั้งร่าง”

ผลวิจัยทึ่ง 1 กีฬาง่ายๆ ลดเสี่ยงโรคร้ายได้ แถมยืดอายุถึง 6 ปี มากกว่าวิ่ง-ว่ายน้ำเสียอีก!

ผลวิจัยทึ่ง 1 กีฬาง่ายๆ ลดเสี่ยงโรคร้ายได้ แถมยืดอายุถึง 6 ปี มากกว่าวิ่ง-ว่ายน้ำเสียอีก!

กีฬาใกล้ตัวที่ถูกประเมินต่ำไป แท้จริง "ยืดอายุ" ได้นานกว่าวิ่งหรือว่ายน้ำ ผลวิจัยชี้มีประโยชน์ 5 ด้าน

\

"กลิ่นรถใหม่" คืออะไร เป็นอันตรายต่อสุขภาพไหม? กูรูด้านรถยนต์เผยความจริงเบื้องหลัง

ผู้เชี่ยวชาญด้านรถยนต์เผยความจริงเบื้องหลัง “กลิ่นรถใหม่” ทำไมถึงหาทดแทนไม่ได้ เบื้องหลังกลิ่นหอมชวนหลงใหลนี้ อาจไม่ใช่สิ่งที่คุณคาดคิด