.jpg)
รู้ตัวหรือยัง? ผู้เชี่ยวชาญเตือนคน 3 กลุ่ม "ไม่กิน" โยเกิร์ตพร้อมดื่ม-เนยเทียม จะปลอดภัยกว่า!
โยเกิร์ตพร้อมดื่ม และเนยเทีย แม้ช่วยลดไขมันเลว แต่ผู้เชี่ยวชาญเตือนคน 3 กลุ่ม "ไม่กิน" จะปลอดภัยกว่า รู้ตัวหรือยัง?!
คอเลสเตอรอลสูง อาจเกิดจากหลายปัจจัย เช่น ระดับการออกกำลังกาย น้ำหนัก พฤติกรรมการสูบบุหรี่และดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และอาหารการกิน คอเลสเตอรอลยังสามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ และมักเกิดขึ้นกับผู้ชาย ผู้ที่มีอายุมากกว่า 50 ปี และกลุ่มชาติพันธุ์บางกลุ่ม เช่น ชาวเอเชียใต้
โชคดีที่การเลือกใช้ชีวิตสามารถเปลี่ยนระดับคอเลสเตอรอลได้ และอาหารบางชนิดก็สามารถลดคอเลสเตอรอลได้จริง ในความเป็นจริง มีสารเคมี 2 ชนิดที่พบในอาหารซึ่งสามารถช่วยลดคอเลสเตอรอลได้อย่างมีประสิทธิภาพมาก นั่นคือ “สเตอรอล” (Sterols) และ “สตานอล” (Stanols)
สารสเตอรอล และสตานอล เป็นสารเคมีจากพืชที่มีโครงสร้างคล้ายคลึงกับคอเลสเตอรอลในร่างกาย เมื่อรับประทานเข้าไป สารเหล่านี้จะเข้าไปแข่งขันกับคอเลสเตอรอลในลำไส้ และช่วยป้องกันไม่ให้คอเลสเตอรอลบางส่วนถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือด แม้ว่าร่างกายจะได้รับสารเหล่านี้จากอาหารตามธรรมชาติ เช่น น้ำมันพืช ถั่ว เมล็ดพืช และผักผลไม้ แต่ปริมาณที่ได้รับตามธรรมชาตินั้น ไม่เพียงพอที่จะช่วยลดคอเลสเตอรอลได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ดังนั้น ปัจจุบันจึงมีผลิตภัณฑ์อาหารที่เติมสารสเตอรอลและสตานอลเพิ่มเข้าไป เพื่อเป็นทางเลือกใหม่ของคนคุมคอเลสเตอรอล เช่น โยเกิร์ตพร้อมดื่ม, ผลิตภัณฑ์เนยเทียม (Fat spreads), และนมบางชนิดด้วย ซึ่งองค์กร Heart UK ระบุว่า การรับประทานอาหารเหล่านี้อย่างสม่ำเสมอสามารถช่วยลดคอเลสเตอรอลลงได้ในระยะเวลาไม่กี่สัปดาห์ โดยผู้เชี่ยวชาญบางรายเชื่อว่าสารจากพืชเหล่านี้อาจเป็นอาหารที่มีประสิทธิภาพที่สุดในการลดคอเลสเตอรอลเมื่อเทียบกับวิธีอื่นๆ
อย่างไรก็ดี แม้อาหารเสริมจากพืชอย่างสเตอรอลและสตานอล จะปลอดภัยสำหรับผู้ที่รับประทานยาลดคอเลสเตอรอล และเด็กที่มีภาวะคอเลสเตอรอลสูงทางพันธุกรรม แต่ในขณะเดียวกัน องค์กรการกุศลด้านคอเลสเตอรอลในสหราชอาณาจักร ได้ออกมาเตือนว่ามันไม่ได้เหมาะสำหรับทุกคน โดยผู้เชี่ยวชาญก็ย้ำว่าไม่แนะนำให้ใช้ในบางกรณี เนื่องจากมีความบางกลุ่มที่ควรหลีกเลี่ยง เช่น ผู้หญิงตั้งครรภ์, คุณแม่ให้นมบุตร และเด็กทั่วไป ที่ไม่มีภาวะคอเลสเตอรอลสูงทางพันธุกรรม
-
ผู้หญิงตั้งครรภ์ : ในช่วงตั้งครรภ์ ร่างกายของผู้หญิงมีการเปลี่ยนแปลงทางฮอร์โมนและกระบวนการต่างๆ ที่ส่งผลต่อการดูดซึมและการจัดการสารอาหารต่างๆ การบริโภคสารสเตอรอลหรือสตานอลในช่วงนี้อาจมีผลกระทบต่อการดูดซึมวิตามินที่จำเป็น เช่น วิตามิน A, D, E, และ K ซึ่งมีความสำคัญสำหรับการเจริญเติบโตและพัฒนาการของทารกในครรภ์ นอกจากนี้ ยังไม่มีข้อมูลวิจัยที่แน่ชัดเกี่ยวกับความปลอดภัยในการใช้สารเหล่านี้ในระหว่างตั้งครรภ์
-
คุณแม่ให้นมบุตร : ผู้หญิงที่ให้นมบุตรควรระมัดระวังในการเลือกอาหารที่บริโภค เพราะสารอาหารที่รับประทานสามารถส่งผ่านไปยังทารกผ่านน้ำนมได้ แม้ว่าไม่มีการศึกษาที่ชัดเจนเกี่ยวกับผลกระทบของสารสเตอรอลและสตานอลต่อทารก แต่การไม่ทราบผลกระทบในระยะยาวทำให้ผู้เชี่ยวชาญแนะนำให้หลีกเลี่ยงการบริโภคสารเหล่านี้ในช่วงให้นมบุตรเพื่อความปลอดภัย
-
เด็กทั่วไป ที่ไม่มีภาวะคอเลสเตอรอลสูงทางพันธุกรรม : สำหรับเด็กที่ไม่มีปัญหาคอเลสเตอรอลสูงทางพันธุกรรม การรับประทานสารสเตอรอลและสตานอลอาจไม่จำเป็นและอาจไม่ช่วยในเรื่องการลดคอเลสเตอรอลในร่างกายเด็ก ซึ่งในบางกรณีการใช้สารเหล่านี้ในเด็กที่ไม่มีปัญหาสุขภาพอาจมีผลกระทบต่อการดูดซึมสารอาหารอื่นๆ หรือทำให้เกิดความไม่สมดุลในร่างกาย
ทั้งนี้ นักโภชนาการจากมูลนิธิหัวใจอังกฤษ (British Heart Foundation) ยังได้แนะนำให้ตรวจสอบปริมาณสารสเตอรอลและสตานอลในฉลากก่อนซื้อ โดยการรับประทานปริมาณ 2 กรัมต่อวัน อย่างต่อเนื่องอาจช่วยลดคอเลสเตอรอล LDL ได้ประมาณ 7.5-12% แต่ไม่ควรบริโภคเกิน 3 กรัมต่อวัน และเนื่องจากยังไม่มีหลักฐานทางคลินิกที่ชัดเจนว่าการบริโภคสารเหล่านี้ในระยะยาวจะช่วยลดความเสี่ยงโรคหัวใจหรือหลอดเลือด ดังนั้นคำแนะนำหลักยังคงเป็น “การรับประทานอาหารที่สมดุล” และไม่ควรใช้สารเหล่านี้แทนการรักษาด้วยยา
- แพทย์อเมริกัน อวยเครื่องดื่ม "ล้างตับไต" ใช้แค่ผลไม้ 1 ชนิด ที่ไทยมีตลอดปี!!!
- "ถั่วดำ" อร่อยและดี แต่เป็นอาหาร "ต้องห้าม" สำหรับคน 4 กลุ่มนี้ ไม่กินจะดีกว่า