
สาวโคม่าหลังกินแตงโม พยาบาลเตือน 3 วิธีผิดๆ แช่ตู้เย็น "เป็นเหยื่อแบคทีเรีย" ถึงตายได้!!!
3 พฤติกรรม "ผิดพลาด" ในการเก็บแตงโมหน้าร้อน เสี่ยงกลายเป็นแหล่งสะสมเชื้อโรค อันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้
แตงโม เป็นผลไม้ยอดฮิตในช่วงหน้าร้อน ด้วยรสชาติหวานฉ่ำและคุณสมบัติช่วยดับกระหายคลายร้อน อย่างไรก็ตาม หากเก็บรักษาไม่ถูกวิธี แตงโมที่เคยเป็นของว่างสุดสดชื่น อาจกลายเป็น “แหล่งเพาะเชื้อแบคทีเรีย” ที่เป็นอันตรายถึงชีวิตได้โดยไม่รู้ตัว
ตามรายงานของเว็บไซต์ต่างประเทศ นางพยาบาลจากแผนกพิษวิทยาคลินิก ประเทศไต้หวัน ได้ออกมาเตือนว่าหากเก็บรักษาแตงโมอย่างไม่ถูกต้อง ผลไม้ชนิดนี้อาจกลายเป็นแหล่งเพาะพันธุ์แบคทีเรีย ทำให้เกิดอาหารเป็นพิษ และอาจนำไปสู่การติดเชื้อที่คุกคามชีวิตได้ โดยยืนยันว่ามีผู้ป่วยจำนวนไม่น้อยที่ได้รับผลกระทบจากการเก็บแตงโมผิดวิธี
กรณีล่าสุดที่ได้รับความสนใจคือ หญิงรายหนึ่งในมณฑลเจ้อเจียง ประเทศจีน ที่ต้องเข้าห้องฉุกเฉินในอาการโคม่า หลังรับประทานแตงโมที่เก็บไว้ในตู้เย็น แม้สมาชิกครอบครัวคนอื่นที่รับประทานจากลูกเดียวกันจะไม่เป็นอะไร อีกที่งยังยืนกรานว่าแตงโมนั้นสดและถูกสุขอนามัยเมื่อหั่น แต่ภายหลังพบว่าความหายนะนี้เกิดจากแตงโมที่เธอกินไม่หมด และกระบวนการถนอมอาหารที่ไม่ถูกสุขลักษณะ
นางพยาบาลรายนี้ย้ำว่า ความผิดพลาดลักษณะนี้เกิดขึ้นบ่อยครั้งในฤดูร้อน และมี 3 พฤติกรรมที่ควรหลีกเลี่ยงอย่างยิ่ง เพราะเสี่ยงต่อการเป็น “เหยื่อ” ของเชื้อแบคทีเรียร้ายแรง เช่น Listeria monocytogenes ที่สามารถเจริญเติบโตได้แม้ในอุณหภูมิต่ำของตู้เย็น ดังนี้
1. ใช้ช้อนกินแตงโมแล้วแช่ตู้เย็นต่อ
หลายคนมักใช้ช้อนตักแตงโมกินตรงๆ จากผลหรือภาชนะ แล้วเมื่อกินไม่หมดก็นำไปแช่ตู้เย็นต่อทันที แม้จะห่อด้วยพลาสติกถนอมอาหารก็ยังไม่ปลอดภัย พฤติกรรมนี้เป็นการนำเชื้อโรคและน้ำลายเข้าสู่แตงโมโดยตรง เมื่อแช่เย็นเชื้ออย่าง Listeria สามารถเติบโตได้ดี ส่งผลให้ผู้บริโภคเสี่ยงต่ออาการไข้ คลื่นไส้ ท้องเสีย และในรายที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ เช่น ผู้สูงอายุ หญิงตั้งครรภ์ หรือผู้ป่วยเรื้อรัง อาจถึงขั้นติดเชื้อในกระแสเลือดหรือเยื่อหุ้มสมอง
คำแนะนำคือ หากต้องใช้ช้อนตัก ควรกะปริมาณพอดีเพื่อรับประทานให้หมดในครั้งเดียว หรือหากกินแล้วเหลือ ควรใช้มีดสะอาดตัดส่วนที่สัมผัสกับอากาศหรือน้ำลายทิ้ง แล้วเก็บส่วนที่เหลือในภาชนะปิดมิดชิด หลีกเลี่ยงการใช้ช้อนเดิมสัมผัสซ้ำ
2. แช่แตงโมที่ยังห่อด้วยพลาสติกจากร้าน โดยไม่เปลี่ยนภาชนะบรรจุใหม่
แตงโมที่หั่นแล้ววางขายในซูเปอร์มาร์เก็ต มักมีพลาสติกห่อหุ้มอยู่ หลายคนซื้อมาแล้วนำเข้าแช่เย็นโดยไม่เปลี่ยนห่อหรือทำความสะอาดเพิ่มเติม ซึ่งเป็นอีกหนึ่งความเสี่ยงที่หลายคนมองข้าม พลาสติกห่อจากร้านอาจปนเปื้อนเชื้อโรคจากอุปกรณ์หรือมือผู้สัมผัส อีกทั้งการห่อแนบชิดกับเนื้อแตงโมจะทำให้ความชื้นสะสม บริเวณผิวแตงโม "หายใจไม่ออก" ส่งผลให้แตงโมเสียเร็ว มีกลิ่นเปรี้ยวหรือเมือก ซึ่งเป็นสัญญาณของการปนเปื้อน
คำแนะนำคือ ควรลอกพลาสติกห่อเดิมออก ตัดเล็มผิวด้านนอกทิ้ง แล้วเก็บแตงโมไว้ในกล่องปิดสนิทที่สะอาด เก็บในตู้เย็นไม่เกิน 2 วัน เพื่อป้องกันเชื้อโรคและกลิ่นไม่พึงประสงค์จากอาหารอื่น
3. แช่แตงโมทั้งลูกโดยไม่ล้างเปลือก หรือเก็บแตงโมไว้นานเกินไป
อีกหนึ่งความเชื่อผิดๆ คือ การคิดว่าแตงโมทั้งลูกที่ยังไม่ได้ผ่าจะไม่เน่าเสียหรือติดเชื้อ หลายคนจึงซื้อแตงโมมาแล้วแช่ตู้เย็นทั้งลูกโดยไม่ล้างเปลือก แต่ในความเป็นจริง เปลือกแตงโมอาจมีเชื้อโรค เชื้อรา หรือสิ่งสกปรกติดอยู่ เมื่อใช้มีดตัด เชื้อเหล่านี้สามารถปนเปื้อนเข้าสู่เนื้อในที่มีน้ำและน้ำตาลสูง เป็นสภาพแวดล้อมชั้นเยี่ยมสำหรับแบคทีเรีย นอกจากนี้ การเก็บแตงโมทั้งลูกไว้นานเกิน 5–7 วันยังทำให้คุณค่าทางโภชนาการ เช่น ไลโคปีน และวิตามินซี ลดลง
คำแนะนำคือ ก่อนนำแตงโมทั้งลูกเข้าตู้เย็น ควรล้างเปลือกให้สะอาด เช็ดให้แห้ง แล้วห่อด้วยพลาสติกใหม่หรือผ้าแห้งสะอาด ควรบริโภคภายใน 5–7 วัน และเมื่อตัดแตงโม ควรเล็มผิวชั้นแรกออกเพื่อลดความเสี่ยงของการปนเปื้อน
แม้แตงโมจะเป็นผลไม้หน้าร้อนที่ทั้งอร่อยและดีต่อสุขภาพ แต่หากเก็บรักษาไม่ถูกวิธี ก็อาจกลายเป็นภัยเงียบที่รุนแรงได้ การใส่ใจในขั้นตอนการเก็บและทำความสะอาดเป็นเรื่องสำคัญ เพื่อให้ทุกคำของแตงโมยังคงความปลอดภัย สดชื่น และดีต่อร่างกายอย่างแท้จริง
- ส่วนใหญ่ยังไม่รู้ตัว! เตือนคน 7 กลุ่ม ไม่ควรกิน "แตงโม" อร่อยสดชื่น แต่เสี่ยงอันตราย
- ต่างชาติอวย 6 ผลไม้ “ตับชอบ” ยิ่งกิน ยิ่งช่วยล้างพิษในร่างกาย ไทยมีครบตลอดปี!